- Details
- Category: ธปท.
- Published: Thursday, 08 August 2024 15:06
- Hits: 7962
Financing the Transition : การเงินเพื่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนของภาคธุรกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงาน 'Financing the Transition : การเงินเพื่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนของภาคธุรกิจ' ในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 ณ ธปท. สำนักงานใหญ่ เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเงินทุนให้ภาคธุรกิจปรับตัวไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับบริบทไทย (โครงการ Financing the Transition)
โดยมีธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) 8 แห่งเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนาคารยูโอบี รวมถึงมีผู้เข้าร่วมงานจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานภาครัฐ ภาคสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และองค์กรระหว่างประเทศด้วย
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจของ ธปท. และ ธพ. ที่จะให้ภาคการเงินมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจไทยสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ SMEs เริ่มปรับตัวอย่างจริงจัง
โดยหลักการสำคัญในการปรับตัวที่อยากเน้นย้ำ คือ การคำนึงถึงจังหวะเวลาและความเร็วที่เหมาะกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งมีภาคเศรษฐกิจสีน้ำตาลสูง (brown) และมี SMEs จำนวนมากที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้ จึงต้องสร้างสมดุลระหว่างการเดินหน้าสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนและการป้องกันผลข้างเคียงเชิงลบที่จะเกิดขึ้นกับภาคส่วนต่างๆ
ดังนั้น การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการปรับตัวจากธุรกิจที่ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (จาก brown สู่ less brown) หรือ Financing the Transition จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศ ซึ่งอาจต้องเริ่มจากก้าวเล็กๆ ให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถขยายผลในวงกว้างได้ โดยในงานนี้ ธพ. ที่เข้าร่วมโครงการได้เสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ของกลุ่มลูกค้าอย่างครบวงจรและตรงจุด
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึง เส้นทางการขับเคลื่อนภาคการเงินเพื่อความยั่งยืนของ ธปท. ร่วมกับ ธพ. ซึ่งเริ่มจาก (1) การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของภาคธนาคารในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่เป็นรากฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking)
(2) การกำหนดทิศทางภาคการเงินเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสื่อสารความคาดหวังให้ ธพ. ประเมินโอกาสและความเสี่ยงจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สนับสนุนลูกค้าให้ปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
และ (3) การวางรากฐานสำหรับระบบนิเวศเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การออกแนวนโยบายของ ธปท. เพื่อให้ ธพ. ผนวกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจตลอดทั้งกระบวนการ และจัดทำ Thailand Taxonomy
ด้วยกระบวนการขับเคลื่อนข้างต้น จึงนำมาสู่ความร่วมมือกับ ธพ. เพื่อออกผลิตภัณฑ์สนับสนุนให้ภาคธุรกิจปรับตัวอย่างเป็นรูปธรรมที่เหมาะกับบริบทไทย ผ่านโครงการ Financing the Transition ซึ่งภายในงาน ผู้บริหารระดับสูงของ ธพ. ทั้ง 8 แห่ง ได้กล่าวถึงผลิตภัณฑ์ที่ธนาคารแต่ละแห่งสนับสนุนการปรับตัวของธุรกิจ และยังมีกิจกรรมเพื่อให้ความรู้และคำปรึกษาในการปรับการดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งครอบคลุมภาคเศรษฐกิจสำคัญของไทย อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมการเกษตร ภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโรงแรม โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและข่าวสารของโครงการได้ที่เว็บไซต์ของ ธปท. (https://www.bot.or.th/th/financial-innovation/sustainable-finance/green.html) และเว็บไซต์ของแต่ละ ธพ. ที่เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้ ธปท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะช่วยสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs และช่วยจุดประกายให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ตลอดนำไปสู่ความร่วมมือในวงกว้าง เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนต่อไป
คำกล่าวเปิดงาน
Financing the Transition : การเงินเพื่อกำรปรับตัวสู่ความยั่งยืนของภาคธุรกิจ
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
วันพุธที่ 7 สิงหำคม 2567 เวลา 10.00 – 10.05 น. ณ ห้องภัทรรวมใจ อาคาร 2 ชั้น 2 ธปท.
___________________________________________________________
ผู้บริหารสถาบันการเงิน ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล องค์กรภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ สื่อมวลชน และผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับทุกท่านในงาน ‘Financing the Transition : การเงินเพื่อกำรปรับตัวสู่ความยั่งยืนของภาคธุรกิจ’ ในวันนี้งานนี้ถือเป็นผลลัพธ์จากความมุ่งมั่นของ ธปท.และภาคสถาบันการเงิน ที่ร่วมกันผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเงินทุนให้กับภาคธุรกิจไทยที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้ปรับตัวสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และเกิดการขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม
ผมเชื่อว่า ทุกท่านในที่นี้น่าจะเคยเข้าร่วมงานที่เกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมาพอสมควร ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของการมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และเป้าหมาย Net Zero โดยจะมีGreen finance มาสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวตามมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม
แต่เป็นเป้าหมายที่ต้องใช้เวลา ซึ่งในส่วนนี้ แม้ตลาด Green และ Sustainability bond ของไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจขนาดใหญ่เริ่มปรับตัวได้ค่อนข้างดีแล้ว โดยเราได้เห็นบริษัทไทยเข้าเป็นสมาชิก ดัชนี Dow Jones Sustainability Index หรือ DJSI ถึง 26 บริษัท สูงสุดในกลุ่มประเทศ ASEAN แต่ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ยังมีความตระหนักถึงความจำเป็นและความพร้อมในเรื่องการปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียวน้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่อยู่มาก
แขกผู้มีเกียรติทุกท่านครับ
หากพิจารณาบริบทของประเทศและโครงสร้างภาคธุรกิจของไทย ต้องยอมรับว่า เรายังพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลในสัดส่วนที่สูงและใช้เทคโนโลยีแบบเดิม ที่ยังไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร ขณะที่เครื่องมือสนับสนุนหรือแรงจูงใจให้แต่ละภาคส่วนปรับตัวยังมีไม่มาก โดยเฉพาะสำหรับ ธุรกิจ SMEs ที่ต้องการปรับตัวแต่ยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนเข้าสู่ความเป็นสีเขียวอย่างเต็มที่ซึ่งข้อจำกัดนี้
อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น การสนับสนุนทำงกำรเงินเพื่อกำรปรับตัวจำก Brown สู่ Less brown หรือ Financing the Transition จึงจำเป็นอย่ำงยิ่งกับบริบทของประเทศเรำในขณะนี้ หลักกำรสำคัญในกำรปรับตัวที่ผมอยำกเน้นย้ำ คือ การคำนึงถึงจังหวะเวลาและความเร็ว ที่เหมาะกับบริบทของประเทศ ซึ่งต้องสร้างความสมดุลระหว่างการเดินหน้าสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนและการป้องกันผลข้างเคียงเชิงลบที่จะเกิดขึ้นกับภาคส่วนต่างๆ และการขับเคลื่อนในเรื่องนี้อาจจะต้องเริ่มจากก้าวเล็กๆ (small steps) ที่จับต้องและปฏิบัติได้(practical) และสามารถขยำยผลในวงกว้าง (scalable)
ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ธปท. และธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 8 แห่ง ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินทุนให้ตอบโจทย์ของภาคธุรกิจ และมีเงื่อนไขที่เอื้อต่อการปรับตัวของธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ในภาคเศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งท่านจะได้ฟังเรื่องราวการผลักดันโครงการนี้ จากท่านรองผู้ว่าการ รณดล และทีมงานคุณวิภาวิน คุณวิภาวี และ show case จาก CEO ของแต่ละธนาคาร ต่อไปครับ
ผมหวังว่า โครงกำรนี้จะช่วยให้ภาคธุรกิจไทยโดยเฉพาะ SMEs เริ่มปรับตัวอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า ในวันนี้มีผู้แทนมาร่วมงานถึงกว่า 600 ท่าน จากภาคธุรกิจเอกชน ภาคสถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และองค์กรระหว่างประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้ภาคเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการขยายผลออกไปในวงที่กว้างขึ้นได้
สุดท้าย นี้ผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมงานในวันนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะได้ร่วมกันช่วยส่งเสริมให้ภาคเศรษฐกิจไทยสามารถปรับตัวและเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อมได้ทันการณ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ต่อไปครับ
ขอบคุณครับ