WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ดนุชา พิชยนันท์

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.6

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมผู้บริหารที่เกี่ยวข้องได้แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่สองของปี2566 และแนวโน้มปี 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2566

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรกของปี 2566 (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2566 ร้อยละ 0.2 (%QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2566เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.2

ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกบริการ

ชะลอตัว ขณะที่การส่งออกสินค้า การลงทุนภาครัฐและการใช้จ่ายภาครัฐบาลปรับตัวลดลง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 7.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวดีขึ้นของเกือบทุกหมวดสินค้า

สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงานและฐานรายได้นอกภาคเกษตรการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และดัชนีความเชื่อมั่นที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 14 ไตรมาส โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 13.8 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 12.6 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายในกลุ่มบริการทางการเงินและกลุ่มสุขภาพที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 และร้อยละ 5.6 ตามลำดับ

ขณะที่กลุ่มโรงแรมและภัตตาคารยังขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องร้อยละ 49.1 การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 4.0 เทียบกับร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า

ขณะที่กลุ่มไฟฟ้า และก๊าซฯ กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาสร้อยละ 11.8 และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะที่ขยายตัวร้อยละ 10.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า และการลดลงอย่างต่อเนื่องของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง

สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 50.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 46.9 ในไตรมาสก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 14 ไตรมาส การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 4.3 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับ สินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ 25.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 40.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 2.6 ขณะที่ค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้างเงินเดือน) ขยายตัวร้อยละ 0.3

สำหรับ อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ าในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 24.7 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 23.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 22.5 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมครึ่งแรกของปี 2566 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.8 และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 5.3 การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนร้อยละ 1.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า

ขณะที่การลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 1.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 3.7

ขณะที่การลงทุนรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ส าหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 17.8 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 16.7 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ ากว่าร้อยละ 19.2 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมครึ่งแรกของปี2566 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.8 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.8 และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 1.9

 

dropdown

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2566

 

 

Click Donate Support Web 

 

 Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TU 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!