Capital Market Snapshot: ‘Aspects in Stability of Banking Industry in ASEAN’
- Details
- Category: ตลาดหลักทรัพย์
- Published: Wednesday, 21 June 2023 18:44
- Written by: akachai
- Hits: 70
Capital Market Snapshot: ‘Aspects in Stability of Banking Industry in ASEAN’
โดย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF)
เสถียรภาพของธุรกิจธนาคารนั้นเป็นหนึ่งปัจจัยที่บ่งชี้ความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจระดับประเทศ การที่ธนาคารมีหนี้สูญมากขึ้นนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของธนาคาร โดยปกติแล้วธนาคารจะมีการสำรอง “หนี้สงสัยจะสูญ” เพื่อให้รองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่หากมีการสำรองดังกล่าวมากเกินไปนั้น ในมุมหนึ่งอาจมองได้ว่าธนาคารนั้นมีความมั่นคงสูง แต่อีกมุมหนึ่งก็คือการเสียโอกาสการลงทุนนั่นเอง
Capital Market Snapshot ฉบับนี้จะแสดงให้เห็นมุมมองในด้านหนี้สิน และเงินฝาก ทั้งในภาพรวม และองค์ประกอบสำคัญของเงินฝาก และความเสี่ยงของเงินกู้ (Loan) ในภาคธุรกิจธนาคารไทย และประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN)
● ในปี 2021 ประเทศสิงค์โปร์เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้าน Economic Risk ต่ำที่สุด และภาคธุรกิจธนาคารยังเป็นประเทศที่มีการปล่อยหนี้ (Loan) และเงินฝากจากลูกค้ามากที่สุดเมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศ
● ธนาคารที่มีการดำเนินงานในประเทศมาเลเซียมีจำนวนธนาคารมากที่สุดถึง 311 ธนาคาร ขณะที่ธนาคารในประเทศไทยมีจำนวนน้อยที่สุด คือ 58 ธนาคารเท่านั้น เมื่อเทียบกับ 6 ประเทศในกลุ่ม ASEAN
● ธนาคารในประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้ที่มีปัญหาประมาณ 4% ขณะเดียวกันธนาคารของประเทศไทยมีการสำรองเงินเผื่อหนี้สูญในระดับที่มากกว่าหนี้ที่มีปัญหาในสัดส่วนสูงอย่างต่อเนื่อง และ สัดส่วนบัญชีเงินฝากระยะสั้นของไทย (น้อยกว่า 1 ปี) มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2017
● ประเทศฟิลิปปินส์มีเงินฝากระยะสั้นประมาณ 60% แต่เป็นประเทศที่มีจำนวนเงินฝากน้อยที่สุด และสัดส่วนหนี้ต่อเงินฝากต่ำที่สุดใน 6 ประเทศในกลุ่ม ASEAN นอกจากนี้ธนาคาร 3 อันดับแรกของประเทศไทยมีหนี้ NPL เทียบกับหนี้ทั้งหมดสูงที่สุดใน 6 ประเทศในกลุ่ม ASEAN อีกทั้งมูลค่าหนี้ NPL มีมูลค่าสูงที่สุดอีกด้วย หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อ่านบทความ Capital Market Snapshot: ‘Aspects in Stability of Banking Industry in ASEAN’ ฉบับเต็ม
A6705