- Details
- Category: ไอที-เทคโนฯ
- Published: Tuesday, 13 August 2024 19:15
- Hits: 6611
โตชิบาผู้ปฏิวัติวงการเซมิคอนดักเตอร์อย่างแท้จริง พร้อมชูอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังเข้ามาพลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก
อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลัง (power semiconductor) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์และตัวเรียงกระแสที่มีประสิทธิภาพในวงจรไฟฟ้าต่างๆ ช่วยให้เราสามารถควบคุมและแปลงกำลังไฟได้โดยสูญเสียกำลังไฟน้อยที่สุด อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญขึ้นอย่างมาก เนื่องจากทั่วโลกต่างมุ่งขับเคลื่อนสู่การประหยัดพลังงานและความเป็นกลางทางคาร์บอน
โตชิบาเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เปลี่ยนผ่านสู่การใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังของโตชิบา นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการกระแสไฟฟ้าในยานยนต์ไฟฟ้า (xEVs) ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า และสลับกระแสไฟฟ้า ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลัง โตชิบามุ่งพัฒนามอสเฟตที่ทำจากซิลิคอน (Si)-MOSFETs เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะในแวดวงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังที่ล้ำสมัยเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานยานยนต์สุดหิน ทนต่อสภาพการใช้งานที่รุนแรง และลดอัตราการเกิดจุดบกพร่องในสินค้าให้ได้จนเกือบเป็นศูนย์
ภาพที่ 1 การนำอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังมาใช้ในยานยนต์กำลังเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2020 -> ปี 2030 ชุด/คัน |
มอเตอร์โบลเวอร์ |
ยานยนต์ไฟฟ้า/ อินเวอร์เตอร์ |
ตัวแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง |
ที่ปัดน้ำฝน ประตูสไลด์ กระจก เบาะไฟฟ้า และชิ้นส่วนตัวถังอื่นๆ |
||||
35 -> 48 (ราว 140%) |
พัดลมระบายความร้อน |
|
|
ระบบการจัดการแบตเตอรี่ |
||||
มอสเฟต ปี 2020 -> ปี 2030 ชิ้น/คัน |
ระบบขับขี่ปลอดภัยอัจฉริยะ/ ระบบความบันเทิงในยานยนต์ |
|
|
ไฟ |
||||
169 -> 267 (ราว 160%) |
พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า |
ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำมันเครื่อง |
เกียร์ |
เบรก |
||||
ระบบขับขี่ปลอดภัยอัจฉริยะ ระบบความบันเทิงในยานยนต์ ระบบการจัดการแบตเตอรี่ |
|
|
|
|
นอกจากนั้น โตชิบายังกำลังพัฒนาอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังรุ่นใหม่ที่ใช้ซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) และแกลเลียมไนไตรด์ (GaN) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะ วัสดุทั้งสองช่วยให้สามารถจัดการแรงดันไฟฟ้าได้สูงขึ้นโดยมีความต้านทานต่ำลง ส่งผลให้ได้เอาต์พุตที่สูงขึ้นและอุปกรณ์มีขนาดเล็กลง นอกจากนั้น อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำซิลิคอนคาร์ไบด์ยังช่วยลดการใช้พลังงาน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และขนาดอุปกรณ์ในยานพาหนะไฟฟ้า ทำให้สามารถใช้แบตเตอรี่ขนาดใหญ่ขึ้นและเพิ่มระยะทางการขับขี่ได้ ทั้งนี้ งานวิจัยของโตชิบามุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังสำหรับการใช้งานต่างๆ รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า ระบบราง และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยเน้นถึงคุณภาพและประสิทธิภาพ
ภาพที่ 2 การส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอนทำให้เกิดการนำอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังรุ่นใหม่ไปใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น
การคาดการณ์ตลาด SiC/GaN |
ขอบเขตการประยุกต์ใช้ SiC/GaN และโครงการริเริ่มของโตชิบา |
||||
พันล้านเยน |
GaN อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 2022→2030 +38% |
ระบบราง ลดการใช้พลังงานและน้ำหนัก |
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง ช่วยลดการสูญเสียในการแปลงพลังงานและน้ำหนัก |
||
|
SiC อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 2022→2030 +32% |
ยานยนต์ไฟฟ้า น้ำหนักเบาลงและวิ่งได้ระยะทางไกลขึ้น |
ศูนย์ข้อมูลเพิ่มความจุ โครงสร้างกะทัดรัดขึ้น และลดข้อกำหนดในการก่อสร้าง |
||
|
ยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของตลาด SiC |
ตลาดอุปกรณ์ในยานยนต์: เนื่องจากมีการส่งเสริม BEV จึงมีการติดตั้ง SiC ใน PCU, OBC เพื่อลดขนาดและเพิ่มประสิทธิภาพ ตลาดอุปกรณ์จ่ายไฟ: การหันไปใช้ BEV ส่งผลให้มีการนำอุปกรณ์จ่ายไฟที่มี SiC ไปใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จ EV และนำไปใช้ในศูนย์ข้อมูลเพื่อรองรับการใช้งาน 5G ที่แพร่หลาย อุปกรณ์จ่ายไฟเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในแวดวงเหล่านี้ การนำไปใช้งานต่างๆ ในอุตสาหกรรม: SiC จะถูกนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพรถไฟฟ้าและการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนต่างๆ (PV/ESS, การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และอื่นๆ) |
|||
การคาดการณ์ของโตชิบาอ้างอิงรายงาน Power GaN 2021 รายงาน Power SiC 2022 และรายงานสถานะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 2021 ของบริษัท Yole Développement (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ = 120 เยน)
|
|||||
BEV: ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ PCU: หน่วยควบคุมกำลังไฟฟ้า OBC: เครื่องชาร์จไฟฟ้าในตัวรถ PV: การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ESS: ระบบกักเก็บพลังงาน
|
นอกเหนือจากยานยนต์และการใช้งานในแบบต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในภาคส่วนอื่นๆ อีกด้วย เช่นในอุปกรณ์อุตสาหกรรม มีการนำอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังไปใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติต่างๆ ในโรงงาน เพื่อเพิ่มสมรรถนะและประสิทธิภาพ ส่วนในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคทั่วไป อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำขั้นสูงเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้อย่างมีนัยสำคัญในอุปกรณ์ภายในบ้านและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มความยั่งยืนในเทคโนโลยีชีวิตประจำวันอีกด้วย
ภาพที่ 3 อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังขับเคลื่อนนวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่างๆ
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โตชิบาเป็นเหมือนแสงนำทางแห่งนวัตกรรม ด้วยประสบการณ์การวิจัยอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังซิลิคอนมามากกว่า 60 ปี โตชิบาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ครบวงจรรวมกว่า 500 รายการ เช่น มอสเฟตแรงดันต่ำ U-MOS ซีรีส์ ซึ่งได้สมรรถนะระดับโลก อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังเป็นผู้ปฏิวัติวงการอย่างเงียบเชียบที่จะเข้ามาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในอุปกรณ์ไฟฟ้าในโลกของเรา ความมุ่งมั่นไม่หยุดยั้งของโตชิบาในการพัฒนานวัตกรรมเซมิคอนดักเตอร์กำลังปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์และวางรากฐานไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนที่ทุกวงการหันมาใช้ไฟฟ้าและพลิกโฉมประจำวันของเราในทุกแง่มุม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม: https://www.toshiba-clip.com/en/detail/p=4627
และรับชมวิดีโอเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=hk0XBM1YKj8
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโตชิบา เอเชีย แปซิฟิค กรุณาเยี่ยมชม: https://asia.toshiba.com/
8336