- Details
- Category: สภาอุตสาหกรรม
- Published: Monday, 27 October 2014 18:57
- Hits: 3858
ส.อ.ท.-สสว.-บสย.-SME BANK สนองนโยบาย 'เอสเอ็มอีวาระแห่งชาติ'คลอดมาตรการด่วนเอสเอ็มอีต้องเข้าถึงเงินทุน
ส.อ.ท.-สสว.-บสย.-SME BANK ขานรับนโยบาย 'เอสเอ็มอี วาระแห่งชาติ' ร่วม กันวางกรอบระยะสั้น กลาง ยาว เบื้องต้นเริ่มทำระยะสั้นก่อน ด้วยการคลอดหลาย มาตรการเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งปล่อยกู้ SME วงเงินรวม 3.5 หมื่นลบ.- ทำโครงการ Policy Loan โครงการ Micro Finance- ปัดฝุ่น พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ
นายศักดิ์ชัย อุ่นวิจิตติกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต หรือ SMI เปิดเผยว่า ในการประชุมเพื่อขยายผล‘เอสเอ็มอี วาระแห่งชาติงร่วมกับ 4 หน่วยงานวันนี้ ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ,ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นั้น ที่ประชุมได้คุยกันถึงกรอบแนวทางของนโยบายระยะสั้นระยะกลาง และระยะยาว แต่เบื้องต้นจะทำนโยบายระยะสั้น ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ควรจะทำออกมาก่อน เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
โดยใน 1 ในหลายแนวทางเร่งด่วนนั้น มีโครงการ'สินเชื่อ 9 เมนูคืนความสุขให้เอสเอ็มอี' โดย ส.อ.ท.จะร่วมมือกับ SME BANK ด้วยการคัดกรองสมาชิกเอสเอ็มอีที่มีความต้องการเงินทุนให้เข้าสู่ระบบสินเชื่อของ SME BANK ผ่านโครงการดังกล่าว วงเงิน 19,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ส.อ.ท. ยังร่วมมือกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB จัดโปรแกรม SMI Fast Track ให้บริการ SME วงเงิน16,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกให้กับ SME ในการเลือกใช้บริการได้อย่างเหมาะสม
ด้านนางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ SME BANK เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอียื่นขอเข้าร่วมโครงการสินเชื่อ 9 เมนูฯ แล้ว 5,200 ราย วงเงินรวม 9,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันพบว่า เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ที่ยื่นขอกู้นั้นมีความต้องการสินเชื่อส่วนใหญ่ไม่เกินรายละ 2 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งมองว่าการเร่งผลักดันโครงการดังกล่าว จะช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
นายศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า นอกจาก 'โครงการๅสินเชื่อ 9 เมนูคืนความสุขให้เอสเอ็มอี'และ'SMI Fast Track'แล้ว ยังมีโครงการ Policy Loan ซึ่งจะเป็นโครงการต้นแบบที่ 4 องค์กรดังกล่าวต้องร่วมมือกัน และเป็นแนวทางที่ต้องอาศัยภาครัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐที่มีเงินฝากกระจายอยู่ตามสถาบันการเงินต่างๆ นำเงินมาฝากหรือให้กู้กับสถาบันการเงินของรัฐ โดยเสนออัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม เพื่อนำเงินมาปล่อยกู้ต่อไป โดยโครงการดังกล่าวคาดใช้งบประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท
"ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดมีอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้เอสเอ็มอีมีต้นทุนทางการเงินสูงด้วย จึงไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่หรือต่างประเทศได้ จึงจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยไม่สูง"นายศักดิ์ชัย กล่าว
สำหรับ เอสเอ็มอีที่จะกู้ Policy Loan จะต้องผ่านเกณฑ์การคัดกรองที่เรียกว่า SME National Champion จากองค์กรที่เป็นหน่วยร่วม เช่น สสว. บสย. หรือ ส.อ.ท. โดยจะมีการจัดทำเกณฑ์ร่วมกัน
นอกจาก Policy Loan แล้ว อาจต้องเพิ่มจำนวนผู้ให้กู้ยืม โดยการให้ใบอนุญาตกับผู้ที่มิใช่สถาบันการเงินสามารถให้เอสเอ็มอีกู้ยืมในลักษณะ Nano หรือ Micro Finance ได้อย่างถูกกฎหมายและและมีการกำกับดอกเบี้ยที่เป็นธรรม
นางสาลินี กล่าวเพิ่มเติมถึง กรณี Nano หรือ Micro Finance ดังกล่าวนี้ว่า ยอมรับว่าเป็นแนวทางที่ดี ที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีรายย่อยมีทางเลือกทางการเงินได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากโครงการดังกล่าวผ่านไปได้ด้วยดี อยากเสนอแนะให้กระทรวงการคลังสานต่อนโยบายดังกล่าว เช่น นำเงินมาฝากกับ SME BANK เพื่อให้ปล่อยกู้ต่อไป เป็นต้น
นายศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า ทั้ง 4 องค์กร ยังเห็นชอบร่วมกันว่าจะต้องเร่งผลักดัน พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ ให้มีผลออกมาเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ร่างไว้นานแล้ว ซึ่หากสามารถผักดันให้มีผลบังคับใช้จะเป็นการเพิ่มหลักประกันทางทรัพย์สินให้กับเอสเอ็มอีเพิ่มมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังเห็นชอบให้ปรับปรุงเงื่อนไขที่เกี่ยวกับนิติบุคคลร่วมทุน (Venture Capital)ใน พรฎ.ฉบับที่ 396 และอื่นๆ เช่น การจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์หลักประเทศไทย หรือ ก.ล.ต. ,สัดส่วนการร่วมทุน เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทรายอื่นสามารถดำเนินการร่วมทุนกับเอสเอ็มอีได้ง่ายขึ้น
"คงต้องเร่งในส่วนของ พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ เพราะเป็นเรื่องที่ค้างมานานแล้ว แต่ยังไม่ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งหากดำเนินการได้จะช่วยเรื่องการค้ำประกันเอสเอ็มอีเป็นอย่างมาก" นายศักดิ์ชัย กล่าว
นายศักดิ์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงในส่วนกำหนดหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจนทั้งด้านนโยบายปฏิบัติและหน่วยงานสนับสนุน และจะต้องมีการแก้ไขนิยาม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เป็นนิยามเดียวกันทุกหน่วยงานโดยให้นิยามให้กว้างที่สุด เพื่อความสะดวกในการให้บริการ และมีการจัดทำโครงสร้างส่งเสริมผู้ประกอบการตาม Lift Cycle เป็นต้น รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายย่อยของหน่วยงานให้ครอบคลุมถึงวิสาหกิจในรูปแบบใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับเดิมๆ เช่น กลุ่มผู้ประกอบการสหกรณ์บริการ กลุ่มเกษตรกรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น
สสว.จับมือเอสเอ็มอีแบงก์-บสย. แก้กฏหมายเอื้อเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน
นายศักดิ์ชัย อุ่นวิจิตติกุล ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต หรือ SMI เปิดเผยว่า ในที่ประชุมกับ 4 หน่วยงานวันนี้ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.), ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) ,บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)ได้เห็นชอบร่วมกันว่าจะต้องเร่งผลักดัน พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ ให้มีผลออกมาเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ร่างไว้นานแล้ว ซึ่หากสามารถผักดันให้มีผลบังคับใช้จะเป็นการเพิ่มหลักประกันทางทรัพย์สินให้กับเอสเอ็มอีเพิ่มมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังเห็นชอบให้ปรับปรุงเงื่อนไขที่เกี่ยวกับนิติบุคคลร่วมทุนใน พรฎ.ฉบับที่ 396 และอื่นๆ เช่น การจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์หลักประเทศไทย หรือ ก.ล.ต. สัดส่วนการร่วมทุน เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทรายอื่นสามารถดำเนินการร่วมทุนกับเอสเอ็มอีได้ง่ายขึ้น
"คงต้องเร่งในส่วนของ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ เพราะเป็นเรื่องที่ค้างมานานแล้ว แต่ยังไม่ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งหากดำเนินการได้จะช่วยเรื่องการค้ำประกันเอสเอ็มอีเป็นอย่างมาก"นายศักดิ์ชัย กล่าว
นายศักดิ์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงในส่วนกำหนดหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานอย่างชดเจรทั้งด้านนโยบาย ปฏิบัติและหน่วยงานสนับสนุน และจะต้องมีการแก้ไขนิยาม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เป็นนิยามเดียวกันทุกหน่วยงานโดยให้นิยามให้กว้างที่สุด เพื่อความสะดวกในการให้บริการ และมีการจัดทำโครงสร้างส่งเสริมผู้ประกอบการตาม Lift Cycle เป็นต้น รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายย่อยของหน่วยงานให้ครอบคลุมถึงวิสาหกิจในรูปแบบใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับเดิมๆ เช่น กลุ่มผู้ประกอบการสหกรณ์บริการ กลุ่มเกษตรกรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น
4 องค์กร ร่วมมือเปิดตัวโครงการ Policy Loan ปล่อยกู้เอสเอ็มอี คาดใช้งบ 1-1.2 พันลบ.
นายศักดิ์ชัย อุ่นวิจิตติกุล ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต หรือ SMI เปิดเผยว่า ได้ออกโครงการ Policy Loan ซึ่งจะมีการร่วมมือกับ 4 องค์กร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ,ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK),บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยจะมีการจัดทำเกณฑ์การคัดกรอง SME National Champion จากองค์กรดังกล่าว ซึ่งหากเอสเอ็มอีผ่านการคัดกรองจะสามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และสิทธิในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมพัฒนาเอสเอ็มอีอื่นๆ ต่อไป โดยโครงการดังกล่าวคาดใช้งบประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท
สำหรับ วงเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการดังกล่าวจะมีการเสนอแนวทางให้ภาครัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐที่มีเงินฝากกระจายอยู่ตามสถาบันการเงินต่างๆ นำเงินมาฝากหรือให้กู้กับสถาบันการเงินของรัฐ โดยเสนออัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม เพื่อนำเงินมาปล่อยกู้ต่อไป
"ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดมีอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้เอสเอ็มอีมีต้นทุนทางการเงินสูงด้วย จึงไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่หรือต่างประเทศได้ จึงจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยไม่สูง"นายศักดิ์ชัย กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ส.อ.ท. ผนึกเอสเอ็มอีแบงก์-SCB ปล่อยกู้ SME วงเงิน 3.5 หมื่นลบ. ขานรับวาระแห่งชาติ
นายศักดิ์ชัย อุ่นวิจิตติกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต หรือ SMI เปิดเผยถึง การประชุมร่วมระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตอบสนองนโยบายการให้เอสเอ็มอีเป็นวาระแห่งชาติ โดยได้ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและเอกชนร่วมเสริมสภาพคล่อง โดย ส.อ.ท.จะคัดกรองสมาชิกเอสเอ็มอีที่มีความต้องการเงินทุนให้เข้าสู่ระบบสินเชื่อของ SME BANK ผ่านโครงการสินเชื่อ 9 เมนูคือความสุขให้ SMEs วงเงิน 19,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB จัดโปรแกรม SMI Fast Track ให้บริการ SME วงเงิน 16,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกให้กับ SME ในการเลือกใช้บริการ
"การผลักดันนโยบายเอสเอ็มอีให้เป็นวาระแห่งชาตินั้น จะมีการวางกรอบทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น"นายศักดิ์ชัย กล่าว
นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการธนาคาร SME BANK กล่าวว่า ปัจจุบันมีเอสเอ็มอียื่นขอเข้าร่วมโครงการสินเชื่อ 9 เมนู แล้ว 5,200 ราย วงเงินรวม 9,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันพบว่า เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ที่ยื่นขอกู้นั้นมีความต้องการสินเชื่อส่วนใหญ่ไม่เกินรายละ 2 ล้านบาทเท่านั้นซึ่งมองว่าการเร่งผลักดันดังกล่าว จะช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
ส่วนการเพิ่มจำนวนให้กู้ยืมโดยให้ใบอนุญาตกับผู้ที่มิใช่สถาบันการเงินสามารถให้เอสเอ็มอีกู้ยืมในลักษณะ Nano หรือ Micro Finance วงเงิน 100,000บาทนั้น ยอมรับว่าเป็นแนวทางที่ดี ที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีรายย่อยมีทางเลือกทางการเงินได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากโครงการดังกล่าวผ่านไปได้ด้วยดี อยากเสนอแนะให้กระทรวงการคลังสานต่อนโยบายดังกล่าว เช่น นำเงินมาฝากกับ SME BANK เพื่อให้ปล่อยกู้ต่อไป เป็นต้น
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย