- Details
- Category: สภาพัฒน์ฯ สศช.
- Published: Sunday, 22 May 2022 12:47
- Hits: 7053
สภาพัฒฯ เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.8
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอแถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2565
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2565 ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ร้อยละ 1.1 (QoQ_SA)
ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้นการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัว ขณะที่การส่งออกสินค้าชะลอตัว และการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.9 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น รวมทั้งการปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจและการดำเนินมาตรการของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นในทุกหมวด การใช้จ่ายหมวดบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตามการกลับมาขยายตัวของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรม การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มไฟฟ้า และก๊าซฯกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และกลุ่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และยาสูบ การใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า
และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 3.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 37.3 จากระดับ 38.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของภาระค่าครองชีพท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่วนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 4.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 8.1 ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวสูงร้อยละ 74.5 ตามการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลโรคโควิด-19ส่วนค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) และค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 2.6 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 20.6 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 35.5 ในไตรมาสก่อนหน้าแต่สูงกว่าร้อยละ 19.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 0.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือร้อยละ 5.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างลดลงร้อยละ 8.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า
ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการลดลงของทั้งการลงทุนรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจร้อยละ 6.5 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับสำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 15.1 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 16.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 14.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน)
ในด้านภาคการค้าต่างประเทศ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 73,288 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 14.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 21.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และร้อยละ 4.0 เทียบกับร้อยละ 16.9 และร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี (ร้อยละ 18.7) เครื่องจักรและอุปกรณ์(ร้อยละ 5.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 3.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 15.1) เครื่องปรับอากาศ (ร้อยละ 5.6) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 26.3) ข้าว (ร้อยละ 19.3) ยางพารา (ร้อยละ 6.2) และน้ำตาล (ร้อยละ 180.9) เป็นต้น
กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 49.1) รถกระบะ (ร้อยละ 28.9) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 25.0) และทุเรียน (ลดลงร้อยละ 48.2) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดส่งออกหลักยังคงขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียลดลงเมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 9.7 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 25.1 ส่วนการนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 64,135 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 20.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาและปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 9.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (302.4 พันล้านบาท)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ มูลค่าการส่งออกของประเทศ และอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ
(%YoY) GDP มูลค่าการส่งออกสินค้า อัตราเงินเฟ้อ
2563 2564 2565 2563 2564 2565 2564 2565 สูงสุดในรอบ (เดือน)
ทั้งปี Q4 ทั้งปี Q1 ทั้งปี Q4 ทั้งปี Q1 ทั้งปี Q1 ก.พ. มี.ค. เม.ย.
สหรัฐฯ -3.4 5.5 5.7 3.6 -13.5 23.1 23.3 18.8 4.7 6.3 7.9 8.5 8.3 4831/
ยูโรโซน -6.4 4.7 5.4 5.0 -7.1 7.5 17.9 10.42/ 3.9 6.1 5.9 7.4 7.5 303
สหราชอาณาจักร -9.3 6.6 7.4 8.7 -12.2 10.1 9.8 9.3 2.6 6.2 6.2 7.0 - 3601/
ออสเตรเลีย3/ -2.2 4.2 4.7 - -7.4 27.0 37.3 22.3 2.6 5.1 - - - -
ญี่ปุ่น -4.5 0.4 1.6 - -9.1 6.4 17.9 4.4 2.9 0.9 0.9 1.2 - 411/
จีน 2.2 4.0 8.1 4.8 4.0 22.7 29.7 15.6 -0.2 1.1 0.9 1.5 2.1 5
อินเดีย -6.6 5.4 8.3 - -14.8 41.0 43.1 23.8 0.9 6.3 6.1 7.0 - 171/
เกาหลีใต้ -0.9 4.2 4.0 3.1 -5.5 24.5 25.7 18.3 5.1 3.8 3.7 4.1 4.8 162
ไต้หวัน 3.4 4.9 6.4 3.1 4.9 26.0 29.3 23.5 2.5 2.8 2.3 3.3 3.4 116
ฮ่องกง -6.5 4.7 6.3 -4.0 -0.5 23.2 26.0 2.8 2.0 1.5 1.6 1.7 - 31/
สิงคโปร์ -4.1 6.1 7.6 3.4 -4.1 25.9 22.1 17.1 1.6 4.6 4.3 5.4 - 1231/
อินโดนีเซีย -2.1 5.0 3.7 5.0 -2.7 45.6 41.9 35.3 2.3 2.3 2.1 2.6 3.5 52
มาเลเซีย -5.5 3.6 3.1 5.0 -2.3 26.5 27.4 18.6 1.6 2.2 2.2 2.2 - -
ฟิลิปปินส์ -9.5 7.8 5.7 8.3 -8.1 5.2 14.5 9.8 2.5 3.4 3.0 4.0 4.9 40
เวียดนาม 2.9 5.2 2.6 5.0 6.9 19.0 18.9 13.3 3.9 1.9 1.4 2.4 2.6 8
ที่มา: CEIC รวบรวมโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเดือนมีนาคม 2565 2/ ข้อมูลถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 3/ อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียเป็นรายไตรมาส
ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงกลับมาขยายตัว สาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาการขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมฯ และสาขาการไฟฟ้าและก๊าซฯ ชะลอตัว และสาขาการก่อสร้างลดลงต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตหมวดพืชผลสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 อ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 กลุ่มไม้ผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 และยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลง อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 5.5และมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 1.6 และหมวดประมงกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส ร้อยละ 2.5
ในขณะที่หมวดปศุสัตว์ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 2.3 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะราคาสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6ราคาปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.1 ราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ราคาอ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6และราคายางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ร้อยละ 9.3สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยเป็นผลจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ชะลอตัวจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้าและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 – 60 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ชะลอตัวจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกัน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 0.2
เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 66.35 สูงกว่าร้อยละ 64.51 ในไตรมาสก่อนหน้า และใกล้เคียงกับร้อยละ 66.32 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 14.1) การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 3.0) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 7.3)การผลิตน้ำตาล (ร้อยละ 10.4)
และการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ (ร้อยละ 22.8) เป็นต้นดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 13.0) การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 9.4) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 4.7) การผลิตเครื่องจักรอื่นๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ลดลงร้อยละ 6.7)และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป (ลดลงร้อยละ 4.9) เป็นต้น
สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 34.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้าและเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ตามการกลับมาขยายตัวของการท่องเที่ยวภายในประเทศ และการขยายตัวในเกณฑ์สูงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยในไตรมาสนี้มีรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.144 ล้านล้านบาท ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 11 ไตรมาส ร้อยละ 63.8 เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของภาครัฐ ความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน
และการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 497,693 คน เทียบกับ 20,172 คนในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากการกลับมาดำเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนครบแล้วแบบไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้นที่ (Test & Go) ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการเดินทางออกนอกประเทศของหลายประเทศทั่วโลกสำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 36.15 สูงกว่าร้อยละ 26.25 ในไตรมาสก่อนหน้า
และสูงกว่าร้อยละ 16.15 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 2.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการขยายตัวต่อเนื่องของกิจกรรมการผลิตและการส่งออก สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตามการขยายตัวของบริการขนส่งทางอากาศและการกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาสของบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง สำหรับบริการสนับสนุนการขนส่งและบริการไปรษณีย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 2.0 เทียบกับร้อยละ 2.1ในไตรมาสก่อนหน้า โดยกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าขยายตัวเร่งขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ในขณะที่กิจกรรมโรงแยกก๊าซปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.53 ต่ำกว่าร้อยละ 1.64 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 1.96 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.7และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.4 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (5.3 หมื่นล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 1.2 ของ GDP เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 อยู่ที่ 2.42 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 9,951,962.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.6 ของ GDP
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2565
เศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 7.3 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.9 และร้อยละ 3.5 ตามลำดับ ขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 3.4 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.2 - 5.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุลร้อยละ 1.5 ของ GDPรายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2565 ในด้านต่างๆ มีดังนี้
- การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในปี 2564 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของภาคครัวเรือนเข้าสู่ภาวะปกติหลังความรุนแรงในการแพร่ระบาดของโรคลดลง แต่เป็นการปรับลดจากร้อยละ 4.5 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของครัวเรือน
และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2564 และเท่ากับการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการคงสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายงบประจำภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565ที่ร้อยละ 98 ของวงเงินงบประมาณ รวมทั้งการเบิกจ่ายภายใต้ของแผนงานและโครงการที่ได้รับการอนุมัติภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท
- การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบกับร้อยละ 3.4 ในปี 2564 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 ในประมาณการครั้งก่อน โดย (1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในปี 2564 และปรับลดจากร้อยละ 3.8 ในการประมาณการครั้งก่อน และ(2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับร้อยละ 3.8 ในปี 2564 และปรับลดลงจากร้อยละ 4.6 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานการเบิกจ่ายงบลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565
- มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.3 เทียบกับร้อยละ 18.8 ในปี 2564 และปรับเพิ่มจากร้อยละ 4.9 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลจากการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาส่งออกให้สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ปรับลดลงจากร้อยละ 3.9 ในการประมาณการครั้งก่อน
สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามการปรับเพิ่มสมมติฐานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เมื่อรวมกับการส่งออกสินค้าทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 8.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.9 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 10.4 ในปี 2564
ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2565
การบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การรักษาแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน โดย (i) การติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 (ii) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน (iii) การดูแลกลไกตลาดเพื่อให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต และ (iv) การดูแลกลุ่มที่มีความเปราะบางต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า (2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย
(i) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ (ii) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูง (iii) การพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการอื่นๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถกลับมาประกอบธุรกิจ และ (iv) การยกระดับศักยภาพและฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและยั่งยืน (3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดหลักและการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ
โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน (ii) การพัฒนาสินค้าส่งออกให้มีคุณภาพและมาตรฐาน (iii) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และการเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ และ (iv)การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต(4) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน
โดย (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง (ii) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ(iii) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก (iv) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ (v) การลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญๆ และ (vi) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้น
(5) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (6) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดย (i) การบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเพื่อเตรียมการรองรับฤดูกาลเพาะปลูก และ (ii) การบรรเทาผลกระทบจากปัญหาต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขึ้น และ (7) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 17 พฤษภาคม 2565
ตารางที่ 1 GDP ด้านการผลิต
หน่วย: ร้อยละ 2563 2564 2563 2564 2565
ทั้งปี ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
ภาคเกษตร -3.5 1.0 -8.3 -3.5 -1.6 -0.2 1.0 2.1 2.2 -0.6 4.1
ภาคนอกเกษตร -6.4 1.6 -1.7 -13.0 -6.7 -4.7 -2.6 8.3 -0.3 2.0 2.0
การผลิตอุตสาหกรรม -5.6 4.9 -2.7 -14.5 -5.0 -0.4 1.1 17.0 -0.9 3.8 1.9
ภาคบริการ -6.7 0.7 -1.5 -12.5 -7.2 -5.9 -3.8 5.3 0.3 1.7 2.9
การก่อสร้าง 1.3 2.7 -10.4 6.8 9.4 -0.9 13.5 3.1 -4.2 -0.8 -5.5
การขายส่ง การขายปลีกฯ -3.2 1.7 4.5 -10.1 -5.7 -3.1 -2.4 5.0 2.7 3.0 2.9
การขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า -22.9 -2.9 -9.4 -38.8 -23.9 -21.0 -16.9 10.3 -1.4 3.2 4.6
ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร -37.5 -14.4 -24.4 -53.3 -39.8 -34.0 -36.8 16.4 -19.0 -4.9 34.1
ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 1.1 5.6 1.4 0.4 0.6 1.8 4.5 5.6 6.8 5.3 5.9
การเงิน 5.1 5.7 6.9 3.8 3.7 6.3 6.4 5.9 6.1 4.4 1.5
GDP -6.2 1.5 -2.2 -12.3 -6.4 -4.2 -2.4 7.7 -0.2 1.8 2.2
GDP_SA (QoQ) -1.6 -9.3 7.1 0.02 0.5 0.1 -0.9 1.8 1.1ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตารางที่ 2 ด้านการใช้จ่าย
หน่วย: ร้อยละ 2563 2564 2563 2564 2565
ทั้งปี ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
การบริโภคภาคเอกชน -1.0 0.3 2.7 -6.6 -0.6 0.8 -0.3 4.7 -3.2 0.4 3.9
การอุปโภคภาครัฐบาล 1.4 3.2 -2.4 1.5 3.7 2.4 2.2 1.0 1.5 8.1 4.6
การลงทุนรวม -4.8 3.4 -6.4 -7.7 -2.6 -2.5 7.3 7.4 -0.4 -0.2 0.8
ภาคเอกชน -8.2 3.3 -5.2 -14.4 -10.4 -3.2 3.1 9.2 2.6 -0.8 2.9
ภาครัฐ 5.1 3.8 -9.6 12.0 17.0 0.0 19.8 3.4 -6.2 1.7 -4.7
การส่งออก -19.7 10.4 -5.9 -28.0 -23.5 -21.7 -10.3 28.4 12.3 17.6 12.0
สินค้า -5.8 14.9 1.9 -16.0 -7.4 -1.4 2.9 30.8 12.0 16.6 10.2
บริการ -61.3 -23.1 -27.7 -69.4 -74.4 -76.2 -62.3 4.8 14.7 28.8 30.7
การนำเข้า -14.1 17.9 -3.4 -23.6 -20.8 -8.4 1.0 28.7 29.5 16.4 6.7
สินค้า -10.6 18.3 -1.0 -19.7 -17.4 -3.8 4.6 29.9 28.0 14.0 4.4
บริการ -27.8 16.0 -12.4 -38.2 -34.6 -26.4 -13.4 23.6 37.1 28.1 15.4
GDP -6.2 1.5 -2.2 -12.3 -6.4 -4.2 -2.4 7.7 -0.2 1.8 2.2
ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตารางที่ 3 ประมาณการเศรษฐกิจ ปี 25651
ข้อมูลจริง ประมาณการ
ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565
ณ 21 ก.พ. 65 ณ 17 พ.ค. 65
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 16,892.4 15,636.9 16,178.7 17,102.1 17,355.6
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 243,705.2 224,962.4 232,160.1 244,838.2 248,468.1
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 544.1 499.7 505.5 523.0 513.5
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 7,849.6 7,188.4 7,254.3 7,487.4 7,351.1
อัตราการขยายตัวของ GDP (CVM, %) 2.2 -6.2 1.5 3.5 - 4.5 2.5 - 3.5
การลงทุนรวม (CVM, %)2/ 2.0 -4.8 3.4 4.0 3.5
ภาคเอกชน (CVM, %) 2.6 -8.2 3.3 3.8 3.5
ภาครัฐ (CVM, %) 0.1 5.1 3.8 4.6 3.4
การบริโภคภาคเอกชน (CVM, %) 4.0 -1.0 0.3 4.5 3.9
การอุปโภคภาครัฐบาล (CVM, %) 1.6 1.4 3.2 -0.2 -0.2
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) -3.0 -19.7 10.4 8.9 8.3
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 242.7 227.0 269.6 282.9 289.2
อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %)3/ -3.3 -6.5 18.8 4.9 7.3
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)3/ -3.7 -5.8 15.1 3.9 3.5
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) -5.2 -14.1 17.9 4.0 5.1
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 216.0 186.1 229.6 243.2 254.6
อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %)3/ -5.6 -13.8 23.4 5.9 10.9
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)3/ -5.8 -10.5 18.3 4.4 3.4
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 26.7 40.9 40.0 39.7 34.6
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 38.0 21.2 -10.6 7.7 -7.6
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 7.0 4.2 -2.1 1.5 -1.5
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 0.7 -0.8 1.2 1.5 - 2.5 4.2 - 5.2
GDP Deflator 1.0 -1.3 1.9 1.2 - 2.2 3.8 - 4.8
More Articles
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565