WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FITCH12 3ฟิทช์ เรทติ้งส์: เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้ดีท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

      ฟิทช์ เรทติ้งส์ - กรุงเทพฯ - 18 ตุลาคม 2565: ในงานสัมมนาประจำปีของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ที่จัดขึ้นในวันนี้ นักวิเคราะห์ของฟิทช์ คาดว่า เศรษฐกิจไทย น่าจะยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องแม้ว่า เศรษฐกิจอื่นในต่างประเทศจะเผชิญกับการชะลอตัว เนื่องจากประเทศไทยยังมีกันชนในส่วนของภาคการเงินต่างประเทศ (external finance) ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง

      รวมทั้งการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลการดำเนินงานโดยรวมของภาคธนาคารและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมน่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามการเติบโตอาจจะถูกจำกัดโดยต้นทุนพลังงานที่สูง

     คุณเจมส์ แมคคอร์แมค กรรมการผู้จัดการและหัวหน้ากลุ่มจัดอันดับเครดิตประเทศของฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับแรงต้านที่รุนแรงในช่วงที่เหลือของปีนี้ และแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2566 ยังคงมีความท้าทายต่อเนื่อง ฟิทช์ คาดว่า เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรป ได้เริ่มเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยตั้งแต่ในช่วงปีนี้

     โดยเศรษฐกิจของประเทศเยอรมันนี อิตาลี และสเปน จะมีการหดตัวลงอย่างชัดเจนในปี 2566 เนื่องจากวิกฤติด้านพลังงาน ฟิทช์คาดว่าประเทศสหรัฐอเมริกาจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยเล็กน้อยในช่วงกลางปี 2566 จากการที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ ยังคงปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงและตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่ง ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศจีน ยังคงเผชิญแรงกดดันจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์และความเสี่ยงต่อเนื่องในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์     

      หนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging market) คือ การแข็งค่าของเงิน ดอลลาร์สหรัฐฯ  การระดมเงินทุนจากต่างประเทศที่ตึงตัวขึ้นส่งผลกระทบต่อประเทศขนาดเล็กและกลุ่มประเทศที่เพิ่งจะพัฒนา (frontier market)

    แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศขนาดใหญ่ยังคงมีความยืดหยุ่นมากกว่าในด้านการระดมเงินทุน ประเทศไทยในฐานะผู้นำเข้าสุทธิของน้ำมัน ได้รับผลกระทบอย่างมากในด้านดุลการค้า รวมทั้งผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยังคงอ่อนแอ และส่งผลให้ประเทศไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผ่านมา

     แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ยังคงมีภาคการเงินต่างประเทศที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเทียบกับอันดับเครดิตของประเทศ และยังเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในปีหน้า การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และฟิทช์ประมาณการว่าอัตราการเติบโตของเศษฐกิจ (GDP) ที่ 3.1% ในปี 2565 และ 4.2% ในปี 2566

 

คุณทันย่า โกลด์ ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายจัดอันดับเครดิตธนาคาร ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า การฟื้นตัวของภาคธนาคารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค คาดว่าจะยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

แต่จะเป็นการเติบโตที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคน่าจะอยู่ในระดับต่ำในปีหน้า อัตราส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค น่าจะได้ประโยชน์จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

โดยธนาคารในฮ่องกงและสิงค์โปน่ารับประโยชน์มากที่สุด ผลกระทบจากความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่อรายได้ของธนาคารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค โดยรวมน่าจะอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารได้มีการสะสมสำรองหนี้สูญฯ ไว้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังคงมีต่อเนื่อง หลังจากการสิ้นสุดลงของภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานหลายปีและเกณฑ์การผ่อนผันต่างๆ หมดอายุลง

รายได้ของภาคธนาคารไทยน่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลง (แม้ว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่สูงอยู่) ฟิทช์คาดว่าสินเชื่อด้อยคุณภาพน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก หลังจากมาตรการผ่านปรนในช่วงโรคระบาดโควิดหมดอายุลง และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์เพิ่มขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์น่าจะอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ เนื่องจากคาดว่านโยบายการเงินแบบหดตัวน่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปสำหรับประเทศไทย อีกทั้งธนาคารไทยยังคงมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงจากการสะสมสำรองหนี้สูญและเงินกองทุนไว้แล้วในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยเป็นจุดแข็งของอันดับเครดิต

คุณโอบบุญ ถิรจิต ผู้อำนวยการฝ่ายจัดอันดับเครดิตภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศไทย กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กำไรของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมที่ฟิทช์มีการจัดอันดับเครดิตในประเทศไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2566 

โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่ ธุรกิจอาหารและค้าปลีก โทรคมนาคม และซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง จะมีกำไรในปี 2566 ที่เติบโตไปอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันและพลังงานที่อยู่ในระดับสูง สร้างแรงกดดันต่อการเติบโตของกำไรในธุรกิจปิโตรเคมีและสาธารณูปโภค

เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาขายได้ทั้งหมด

บริษัทในภาคอุตสาหกรรมที่ฟิทช์มีการจัดอันดับเครดิตในประเทศไทย ได้แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการกระแสเงินสดในช่วงการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ได้เป็นอย่างดี จากการใช้เงินลงทุนอย่างระมัดระวัง และลดการจ่ายเงินปันผล อย่างไรก็ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนและการเข้าซื้อกิจการ

โดยเฉพาะในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจไฟฟ้า เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของความต้องการใช้พลังงาน ตามแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และการปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ปัจจัยดังกล่าวจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินของบริษัทเหล่านี้อยู่ในระดับสูง และทำให้โอกาสในการปรับเพิ่มอันดับเครดิตอยู่ในระดับต่ำ

 

ติดต่อ

วินเซนต์ มิลตัน

กรรมการผู้จัดการ

+662 108 0169

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ชั้น 17, เลขที่ 57 อาคารปาร์คเวนเชอร์  ถนนวิทยุ

แขวงลุมพินี  เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

 

ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.fitchratings.com

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!