WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11604 DIPROM01

ณัฐพลปลัดอุตฯ บูมเศรษฐกิจภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผุดกระบี่โมเดล ยกระดับ 3 มิติอุตสาหกรรม สู่การกระจายรายได้เศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน

          ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ ลุยแผนยกระดับศักยภาพพื้นที่ภาคใต้ชายฝั่งอันดามันขานรับนโยบายรัฐบาล นำร่องจังหวัดกระบี่ ส่งเสริม 3 มิติอุตสาหกรรม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมภาคการบริการ อุตสาหกรรมเกษตรอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้วยการกระจายรายได้ให้กับภาคเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน

          ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยระหว่างลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ว่า การยกระดับเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องเสริมความแข็งแกร่งในระดับภูมิภาคควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนความมั่งคั่งของประชาชน ซึ่งนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เน้นย้ำทุกฝ่ายให้ความสำคัญ ล่าสุดกระทรวงอุตสาหกรรมได้ลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ หนึ่งในจังหวัดเศรษฐกิจภาคใต้ชายฝั่งอันดามัน ที่มีศักยภาพในเชิงพื้นที่ด้านท่องเที่ยวและธุรกิจภาคบริการ โดยปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวม 4.28 ล้านคน และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 1.12 แสนล้านบาท ตลอดจนศักยภาพด้านเกษตรอุตสาหกรรม อาทิ ปี 2564 ยางพารามีผลผลิตรวมกว่า 1.3 แสนตันต่อปี และปาล์มน้ำมันมีผลผลิตโดยรวมกว่า 3.4 ล้านตันต่อปี สอดคล้องกับร่างกรอบแผนพัฒนาภาคใต้ (..2566 – 2570) ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวและบริการที่มีคุณภาพ แหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและมูลค่าสูง เชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy)

 

11604 DIPROM02

 

          ดร.ณัฐพล กล่าวว่า การเสริมสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่จำเป็นต้องส่งเสริมให้ครอบคลุมใน 3 มิติ ประกอบด้วย 1.การพัฒนาภาคการเกษตรอุตสาหกรรม ผ่านการยกระดับไปสู่ความเป็นเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะที่สามารถลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพให้กับภาคการผลิต รวมทั้งการนำเครื่องจักรกลขนาดเล็กของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM ITC) เพื่อใช้ในการแปรรูปสมุนไพรพื้นถิ่น 2.การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ การพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมปาล์ม (Cluster) และการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมโอเลโอเคมี รวมทั้งการจัดเตรียมสินเชื่อดีพร้อมเปย์ (DIPROM Pay) เพื่อเสริมสภาพคล่องทางธรุกิจ 3.การพัฒนาภาคบริการ เชื่อมโยงภาคการท่องเที่ยว เน้นการสร้างคุณค่าการเดินทางเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (High Value Sustainable Tourism) กระจายรายได้สู่ชุมชน ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เติบโตคู่กับสังคมได้อย่างยั่งยืน ล่าสุดได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งยกระดับผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดกระบี่ให้ครอบคลุม 3 มิติ เชื่อได้ว่าจะสามารถสร้างรากฐานความมั่นคงให้กับภาคเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมการยกระดับอุตสาหกรรมไทยไปสู่ความเข้มแข็งในเวทีนานาชาติต่อไป ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

 

11604 DIPROM03

 

          ด้าน นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) เปิดเผยข้อมูลระหว่างลงพื้นที่กิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร เยี่ยมชมตัวอย่างผลสำเร็จของดีพร้อมว่า อุตสาหกรรมของฝากของที่ระลึกเป็นหนึ่งสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย ดีพร้อมจึงเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าชุมชนประเภทของฝากของที่ระลึก เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น ตลอดจนออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ด้วยอัตลักษณ์ โดยในปี 2565 ดีพร้อม ได้ดำเนินโครงการเพื่อผู้ประกอบการสินค้าของฝากของที่ระลึกผ่านกิจกรรมต่างๆ จำนวน 1,100 กิจการ 320 ผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 2,496 ล้านบาท

 

11604 DIPROM04

11604 DIPROM05

 

          ทั้งนี้ ได้นำกลไกการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนดีพร้อม 1 ใน 7 วิธีปั้นชุมชนให้ดีพร้อม โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเชิงพาณิชย์ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หรือสินค้าให้มีคุณภาพและมูลค่าสูงสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยในปี 2565 ดีพร้อมประสบความสำเร็จในการพัฒนาสถานประกอบการประเภทของฝากของที่ระลึก จำนวนกว่า 50 กิจการ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 35.56 ล้านบาท อาทิ เจลลี่กัมมี่มัลเบอร์รี่ กาแฟขี้ชะมด หอยกะพงอบแห้ง ไส้กรอกแพะ แหนมแพะ ซุปแพะสกัดเสริมคอลลาเจน น้ำปลาหวาน กะปิ ผ้าบาติก ผ้ามัดย้อม และเสื้อสำเร็จรูป และในปี 2566 มีแผนการดำเนินงานในการพัฒนาสถานประกอบการ จำนวน 55 กิจการ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนดีพร้อม โดยเตรียมนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) โดยการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก อุตสาหกรรมอาหารและวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมสมุนไพร ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการ กิจกรรมพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมและระบบอัตโนมัติหรือดิจิทัล ผลการดำเนินงานทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 25 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ดีพร้อมเตรียมวางแผนการพื้นที่เป้าหมายดังกล่าวให้กลายเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติที่สำคัญ ด้วยการสร้างเครือข่าย Hub Of Medical Tourism ผ่านโครงการสร้างเครือข่ายผู้นำธุรกิจพันธุ์ดีพร้อม หรือ ดีพร้อมฮีโร่ (DIPROM HEROES) เน้นการปั้นปรุงเปลี่ยนผู้ประกอบการให้เติบโตเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ส่งต่อความยั่งยืนให้กับเครือข่ายชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

11604 DIPROM06

 

          ล่าสุด ดีพร้อม เตรียมนำรูปแบบการดำเนินธุรกิจของโรงแรมอ่างนางปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปาจังหวัดกระบี่ เป็นโมเดลต้นแบบแก่ผู้ประกอบการรายอื่นตามโครงการ DIPROM HEROES เนื่องจากโรงแรมนี้ดำเนินธุรกิจทั้งการเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและผลักดันให้เกิดกระบวนการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจในท้องถิ่นและชุมชน พัฒนากิจกรรมชุมชนต่างๆ จนต่อยอดเป็นรายได้ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปสู่ชุมชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนำสินค้าที่ต่อยอดมาจัดจำหน่ายทำให้เกิดการหมุนเวียนสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศตั้งแต่ระดับท้องถิ่นฐานราก สร้างความยั่งยืนต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ต่อยอดไปยังธุรกิจในรูปแบบใหม่ได้

          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6865-66 หรือ ติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipromindustry หรือ www.diprom.go.th 

 

A11604

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!