mod_mslideshows

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร          ...
More
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New Product จากเวที GRB Innovation Awards 2022 ติดต่อกัน 3 ปี

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New...

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a...
More
เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน ครองมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...
More
AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022      ...
More
SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท ‘ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย’

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...
More
ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง...
More
COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน           บริษัท...
More
กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit...
More
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK GROUP) เยี่ยมชมระบบเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ 24 ชั่วโมง

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...
More
มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ มอบเงินบริจาคแก่ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...
More
FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’...
More
เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ สร้างโอกาสทางความรู้ที่เท่าเทียมในองค์กร

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...
More
อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’          ...
More
รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่      ...
More
SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE           คุณอำนวย จิรมหาโภคา...
More
บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story        ...
More
‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ ชวนลุ้นรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...
More
BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565        ...
More
ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่...
More
เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน    ...
More

1คปภ

คปภ.วางทิศทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยปี 2566 ออก 9 มาตรการ พัฒนา ส่งเสริม คุ้มครอง สุจริต ครอบคลุมทุกมิติประชาชนผู้ทำประกัน

 

ทิศทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยปี 2566

Strategic Themes and Trends of Insurance Supervision   

     สำหรับ ประมาณการเบี้ยประกันภัยรับ โดยตรงของปี 2565 จากสถานการณ์ปัจจุบันประมาณการเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จากข้อมูลรายงานแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินกิจการของบริษัท (รายงาน XML จากระบบ CRR) คาดการณ์เบี้ยประกันภัยเต็มปี 2565 จะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงประมาณ 886,211 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ +0.10% ถึง +2.10% แบ่งเป็น

  •      ประมาณการเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 614,917 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ -0.82% ถึง +1.18% สอดคล้องกับการประมาณการของสมาคมประกันชีวิตไทย (ประมาณการไว้ +0.00% ถึง +2.50%)
  • ประมาณการเบี้ยประกันวินาศภัย จำนวน 271,293 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ +2.25% ถึง +4.25% สอดคล้องกับการประมาณการของสมาคมประกันวินาศภัยไทย (ประมาณการไว้ +3.50 ถึง +4.50%)

     สำหรับ ประมาณการเบี้ยประกันภัยเต็มปี 2566 จะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงประมาณ 894,600 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ -0.05% ถึง +1.95%

      ในส่วนของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยม และมีการเติบโตสูงขึ้น คือ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูงขึ้น คือ ประกันภัยรถยนต์ซึ่งยังคงครองแชมป์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ รวมทั้งมาตรการเปิดประเทศของภาครัฐที่เน้นเรื่องการท่องเที่ยว ส่งผลให้ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศจะเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น

     นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (รถ EV) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการยานยนต์ เกิดกระแสความนิยมรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยปัจจุบันมีรถ EV

      จดทะเบียนรวมทุกประเภท ประมาณ 20,000 คัน ซึ่งบริษัทประกันภัยจะกำหนดเบี้ยรถ EV สูงกว่ารถยนต์ทั่วไป ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงรถ EV สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย พัฒนา ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย จึงได้มีการประชุมหารือกับภาคธุรกิจประกันภัยที่มีการรับประกันภัยรถ EV รวมทั้งผู้แทนจากคณะกรรมการยานยนต์และสมาคมประกันวินาศภัยไทยเพื่อแก้ไขปัญหาค่าเบี้ยประกันภัย โดยที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันว่า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เอาประกันภัย บริษัทประกันภัยจะยังไม่มีการขึ้นเบี้ยประกันภัยในช่วงนี้ แม้ว่า Loss Ratio ของรถกลุ่มนี้จะสูงกว่ารถสันดาปค่อนข้างมากก็ตาม

      สิ่งที่สำนักงาน คปภ. จะดำเนินควบคู่กันไป โดยกำหนดแผนดำเนินการในปี 2566 คือ จะมีการเก็บรวบรวมสถิติการรับประกันภัยรถ EV และศึกษารูปแบบการประกันภัยเพื่อจัดทำพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถ EV ให้มีความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับความเสี่ยงและต้นทุนในการรับประกันภัย อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้ อีกทั้ง จะเป็นทางเลือกให้กับประชาชนผู้ใช้รถ EV สามารถเข้าถึงเบี้ยประกันภัยที่ถูกลงได้

      จากสถานการณ์ปัจจุบัน มีปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อแนวโน้มอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันภัยในภาพรวม ดังนี้

  •       ด้านการรับประกันภัย มีปัจจัยสนับสนุนที่อาจส่งผลต่อธุรกิจประกันภัย ได้แก่ เบี้ยประกันสุขภาพที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ตื่นตัวในเรื่องการรักษาสุขภาพ , เบี้ยประกันภัยประเภทตัวเรือและขนส่งเติบโตจากการฟื้นตัวจากภาคการส่งออก, เบี้ยประกันภัยรถยนต์เติบโตจากการคาดการณ์ยอดขายปี 2565 ที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเบี้ยประกันภัยการเดินทางต่างประเทศเติบโตจากการที่หลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการเดินเข้าประเทศ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อธุรกิจประกันภัย ได้แก่ เบี้ยประกันชีวิตประเภทควบการลงทุนที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากปีก่อนจากสถานการณ์ของตลาดทุนที่ผันผวน และความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยของประชาชนลดลงจากภาวะอัตราเงินเฟ้อและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
  •      ด้านการดำเนินงาน มีปัจจัยสนับสนุนที่อาจส่งผลต่อธุรกิจประกันภัย ได้แก่ การนำเทคโนโลยี เช่น AI และ Data analytics มาใช้ในการเสนอขายและการให้บริการส่งผลดีต่อการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ค่าสินไหมทดแทนทั้งประเภท motor และ non-motor อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น , ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทอาจเพิ่มขึ้นจากภาวะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น , ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อธุรกิจการเงินรวมถึงธุรกิจประกันภัย รวมถึงความเสี่ยงใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภัยธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน
  • ด้านการลงทุน มีปัจจัยสนับสนุนที่อาจส่งผลต่อธุรกิจประกันภัย ได้แก่ บริษัทประกันชีวิตมีรายได้จากการลงทุนเพิ่มขึ้นจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยบริหารภาระผูกพันของบริษัท ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อธุรกิจประกันภัย ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้ตลาดทุนมีความผันผวน
  • นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งได้แก่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิตบางแห่งลดลงจากมูลค่าตราสารหนี้ที่ลดลง

     สำหรับ ปัญหา กรณีประกันภัยโควิด-19 แบบ เจอ จ่าย จบ สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของธุรกิจประกันภัยให้กลับคืนมาโดยเร็ว โดยมีการเร่งปรับปรุงกลไกในการกำกับดูแลแบบ proactive actions และบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนภารกิจเร่งด่วนดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังได้คำนึงถึงการป้องกันปัญหาเช่นเดียวกับกรณีประกันภัยโควิด-19 แบบ เจอ จ่าย จบ ไม่ให้เกิดขึ้นอีก โดยมีแผนดำเนินการ ดังนี้

  • ออกคำสั่งนายทะเบียนเพื่อตีความเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ในข้อที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาประกันภัยให้ชัดเจนและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วย

     ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นการอุดช่องว่างและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากประกันภัยโควิด-19 ที่ผ่านมา ซึ่งมีบริษัทประกันภัยบางแห่งนำเงื่อนไขไปใช้หรือตีความถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จนนำไปสู่ปัญหาการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ทั้งนี้ เงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาที่ปรากฏอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัย เป็นเงื่อนไขที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่การนำเงื่อนไขไปใช้ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

       รวมถึงหลักความสุจริตประกอบด้วย อีกทั้ง ข้อความที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขก็ไม่ได้อนุญาตให้บริษัทประกันภัยสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจแบบเหมาเข่ง โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขในสาระสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้บริโภค ดังนั้น บริษัทจึงไม่อาจใช้หรือตีความเงื่อนไขดังกล่าวในทางที่เป็นโทษแก่ผู้เอาประกันภัยได้

 

  • แนวทางการดำเนินการเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้เอาประกันภัย กรณีบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

      เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ทุกท่านคงได้ทราบข่าวที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ฟื้นฟูกิจการและตั้งบริษัทเป็นผู้ทำแผน ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งดังกล่าว เพื่อเป็นการกำกับดูแลในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ คปภ. ได้มีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

      สั่งให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) แก้ไขฐานะและการดำเนินการของบริษัท ซึ่งการออกคำสั่งนายทะเบียนนี้จะช่วยให้สำนักงาน คปภ. สามารถติดตามการแก้ไขฐานะทางการเงิน การดำเนินงานของบริษัท พร้อมทั้งคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนได้เต็มที่ โดยกำหนดให้บริษัทต้องรายงานความคืบหน้าการดำเนินการให้สำนักงาน คปภ. ทราบ ทุก 7 วัน

      สำหรับ ขั้นตอนกระบวนการฟื้นฟูกิจการ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายหลังที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บริษัทฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดวันประกาศคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนในหนังสือพิมพ์และราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 ธันวาคม 2565 ส่งผลให้ผู้ทำแผนต้องนำส่งแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายใน 3 เดือนนับจากวันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน (ขอขยายได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 เดือน) คือ ช้าที่สุดไม่เกิน 20 พฤษภาคม 2565     

จากนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะส่งแผนฟื้นฟูกิจการให้เจ้าหนี้ (ประมาณ 1 เดือนนับจากวันที่ได้รับแผน) กรอบเวลาน่าจะไม่เกินเดือนมิถุนายน 2566 และจะมีการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาลงมติออกเสียงในแผนฟื้นฟูกิจการ (ประมาณ 2 เดือนนับจากวันที่ได้รับแผน) กรณีที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่รับแผน ศาลจะพิจารณาเป็นการด่วนก่อนมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ

     สำหรับ กรณีที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติรับแผน ศาลพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวเพื่อมีคำสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยแผน ซึ่งหากศาลเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ ก็จะดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งแผนฟื้นฟูกิจการมีระยะเวลาตามกฎหมายไม่เกิน 5 ปี ขยายได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กำหนดในแผน หากดำเนินการตามแผนแล้วเสร็จ ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ

     ในระหว่างนี้ สำนักงาน คปภ. ได้มีการประสานงานกับกรมบังคับคดีเกี่ยวกับแนวทางการดูแลประชาชนผู้เอาประกันภัย ซึ่งการแก้ไขฐานะการเงินของบริษัทคาดว่าจะมีความชัดเจนเมื่อบริษัทส่งแผนการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายใต้ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และในระหว่างนี้บริษัทยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ ศาลล้มละลายกลาง กรมบังคับคดี โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และสำนักงาน คปภ. ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย

 

Trends of Insurance Supervision in 2023

      จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ทิศทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยในปี 2566 สำนักงาน คปภ. จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย เพื่อพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและพร้อมที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน คือ การเสริมเกราะป้องกัน หรือ Resilience ให้กับภาคธุรกิจ เพื่อให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านได้อย่างราบรื่น ซึ่งจะขับเคลื่อนผ่าน 9 มาตรการหลัก ดังนี้

 

มาตรการที่ 1 เสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจประกันภัยให้มีความยืดหยุ่น สามารถตอบสนองต่อสภาวการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที มีฐานะเงินกองทุนที่เข้มแข็งเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยสำนักงาน คปภ. ได้ให้บริษัทประกันภัยจัดทำประมาณการความเพียงพอของเงินกองทุน ในขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัยมีธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยงที่ดีเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

       โดยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย การพิจารณารับประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย ไปจนถึงการจัดการค่าสินไหมทดแทน

       นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการและกำหนดแผนการรองรับการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (IFRS17) เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาการเริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการในประเทศไทยสำหรับงวดบัญชีที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ซึ่งแผนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยและได้สื่อสารให้บริษัทประกันภัยทราบเป็นที่เรียบร้อย

            สำหรับ การเตรียมความพร้อมการจัดทำร่างประกาศเกี่ยวกับแบบงบการเงินเพื่อรองรับมาตรฐาน IFRS17 คณะกรรมการ คปภ. ได้เห็นชอบร่างประกาศ คปภ. ที่กำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน IFRS17 จำนวน 6 ฉบับ แล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ โดยในปี 2566 สำนักงาน คปภ. มีแผนที่จะพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เพื่อรองรับการยื่นงบการเงิน รวมทั้งรายงานฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันภัย (รายงาน XML) รูปแบบใหม่อีกด้วย

 

มาตรการที่ 2  ปรับปรุงกฎกติกาหรือหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เน้นให้เป็น Principle-based มากขึ้น เพิ่มเติมมาตรการและแนวทางให้บริษัทประกันภัยดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการเติบโตในระยะยาว และปรับพอร์ตการรับประกันภัยให้มีความสมดุล พร้อมกับการยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยไปอีกขั้น ให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่สำคัญ

       และสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ในมิติของการกำกับดูแลเชิงมหภาค โดยเพิ่มน้ำหนักในการติดตาม ประเมินสถานการณ์ และแนวโน้มต่างๆ อย่างรอบด้าน ด้วยการทำ Stress Test และ Scenario Analysis เพื่อให้ระบุจุดเปราะบาง ดักจับความเสี่ยง กำหนดแนวทางป้องกัน และลดผลกระทบต่าง ๆ ได้ทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น

 

มาตรการที่ 3 ยกระดับกระบวนการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการถอดบทเรียนจากประกันโควิดแบบเจอ-จ่าย-จบ โดยเพิ่มบทบาทนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และคณะกรรมการย่อย เช่น Product Governance Committee และ Risk Management Committee

       ในส่วนของทิศทางการกำกับดูแลต่อไป สำนักงาน คปภ. จะยกระดับการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยและมีความสามารถในการรับความเสี่ยงภัยที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยจะอัพเกรด  Insurance Regulatory Sandbox (IRS) และ โครงการ Product Innovation and Tailor-Made Sandbox (TMS) สู่ New Version คือ Smart Sandbox ซึ่งจะเป็นการศึกษาผลการดำเนินงานและผลตอบรับของโครงการ IRS และ TMS

      เพื่อนำมาวิเคราะห์ พัฒนา ปรับปรุง ออกแบบวิธีการประเมินและกำหนดกรอบการประเมินโครงการที่เข้าร่วมทดสอบ ที่ชัดเจน รวมถึงกฎระเบียบที่จำเป็นต้องให้หน่วยงานกำกับดูแลพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการดึงดูดภาคธุรกิจให้สมัครเข้าร่วมการทดสอบนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น รวมทั้งจัดให้มีการมอบรางวัล Smart Sandbox of the Year ให้กับบริษัทที่มีแนวคิดที่น่าสนใจ

       นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดรับกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความต้องการของประชาชน อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย และการประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ซึ่งมีเงื่อนไขความคุ้มครอง อัตราเบี้ยประกันภัย รวมไปถึงการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แตกต่างจากประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบัน โดยได้หารือรูปแบบการประกันภัยที่เหมาะสมร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย

 

มาตรการที่ 4 กระตุ้นให้ธุรกิจประกันภัยมีการประยุกต์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างจริงจัง โดยจะดำเนินการดังนี้

1)         ศึกษาการกำหนดให้บริษัทประกันภัยมีมาตรฐานกลางในการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการสำคัญ รวมถึงใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และทันเหตุการณ์มากขึ้น

2)         พัฒนาฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัย ซึ่งในอนาคตจะต่อยอดสู่การจัดตั้งศูนย์บริหารข้อมูลด้านการประกันภัยแห่งชาติ (National Insurance Bureau: NIB)

3)         พัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูล OIC Gateway ระยะที่ 2 ที่จะขยายผลจาก My Policy สู่ My Portfolio ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลแก่ประชาชน สำหรับการวางแผนการเงินและการประกันภัย พร้อมกับเชื่อมโยงบริการกับหน่วยงานภาครัฐอื่น

4)         พัฒนาฐานข้อมูลภายใน และนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการวิเคราะห์ และตรวจสอบบริษัทประกันภัย เพื่อยกระดับการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ

5)         เพิ่มบทบาทของศูนย์ CIT ในการขยายเครือข่าย Insurtech ของไทยไปสู่ต่างประเทศ พร้อมกับเชื่อมโยงและดึงดูดให้ Tech firms และ Startups ต่างประเทศที่น่าสนใจ เข้ามาขยายธุรกิจและสร้างพันธมิตรกับธุรกิจไทยมากขึ้น ผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งาน Thailand InsurTech Fair

6)         เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคู่ไปกับพัฒนาเครื่องมือในการประเมินระดับความพร้อมของบริษัทประกันภัย (Cyber Resilience Assessment framework: CRAF) พัฒนาความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรในธุรกิจ

      และขยายขอบเขตการวิเคราะห์และตรวจสอบบริษัทประกันภัย ให้ครอบคลุมถึงการประเมินประสิทธิภาพและความพร้อมของบริษัทในเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน Cybersecurity และ IT risk  เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจประกันภัยจะมีความพร้อมรับมือความเสี่ยงและภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นได้ 

 

มาตรการที่ 5 ผลักดันให้ประกันภัยตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน โดยจะดำเนินการ ดังนี้

1)         เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย และพัฒนาสื่อความรู้ใหม่ ๆ เช่น เกมส์ออนไลน์ และบอร์ดเกมส์ ที่มีรูปแบบที่น่าสนใจและให้ประชาชนเรียนรู้โดยการทดลองด้วยตนเองและเข้าใจง่าย

2)         ส่งเสริมการดำเนินโครงการ 1 ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่น ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยจะเชื่อมโยงกับโครงการ คปภ. เพื่อชุมชน ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายบทบาทของระบบประกันภัยในการบริหารความเสี่ยงให้แก่ประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนได้เพิ่มขึ้นและตรงความต้องการ

3)         ยกระดับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย โดยต่อยอดระบบสารสนเทศที่ใช้ในกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย มาสู่ระบบ E-Arbitration เพื่อใช้ในการบริหารจัดการคดี และสนับสนุนกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ

4)         ถอดบทเรียนข้อร้องเรียนที่ผ่านมา เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย จนถึงการจัดการค่าสินไหมทดแทน และทบทวนการตีความข้อสัญญาต่างๆ ให้มีความชัดเจน จะเป็นการช่วยลดข้อร้องเรียน และสร้างเสริมความเชื่อมั่นในระบบประกันภัยได้อีกทางหนึ่ง

5)         ต่อยอดระบบรายงานพฤติกรรมการฉ้อฉลประกันภัย เพื่อให้เชื่อมกับฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัย (IBS) และเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ โดยจะนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ ติดตาม และตรวจจับพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉล เพื่อให้สามารถดำเนินการกับกลุ่มมิจฉาชีพได้อย่างทันท่วงที และลดโอกาสเกิดการฉ้อฉลประกันภัยในอนาคต อันจะเป็นการดูแลประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรม พร้อมกับสร้างความเชื่อมั่นให้ระบบประกันภัยให้เติบโตได้อย่างความมั่นคงและยั่งยืน

6)         ผลักดันและส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนา sustainable insurance products โดยจะหยิบยกหารือในเวทีการประชุม AIRM ในเดือนธันวาคมนี้ด้วย นอกจากนี้ จะมีการกำหนดมาตรการจูงใจให้บริษัทประกันภัยดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักการ ESG และการส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่คำนึงถึงธรรมาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

มาตรการที่ 6 ขับเคลื่อนการปรับปรุงกฎหมายแม่บทด้านการประกันภัย ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย โดยร่าง พ.ร.บ. กลุ่มที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

      รวมทั้งผ่านการรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงาน คปภ. และได้ผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565

     โดยมีการประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 และจะมีการเสนอร่างกฎหมายทั้งสองฉบับต่อที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

     สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.กลุ่มที่ 3 ซึ่งเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบโอนกิจการ และร่าง พ.ร.บ. ประกันภัยทางทะเล อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมีความคืบหน้าค่อนข้างมาก

 

มาตรการที่ 7 ส่งเสริมงานวิจัยด้านการประกันภัย เผยแพร่องค์ความรู้ ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ตอบโจทย์ความต้องการของประกันภัยในยุค New Normal โดยปรับปรุงหลักสูตรสุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Super วปส.) หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) และหลักสูตรการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย

      และจะพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมให้มีความเข้มข้นขึ้น ครอบคลุมทุกองค์ความรู้ที่จำเป็น พร้อมกับการขยายพื้นที่ของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงให้สามารถรองรับการจัดอบรมและกิจกรรมการต่างๆ ได้เต็มศักยภาพยิ่งขึ้น

 

มาตรการที่ 8 การบูรณาการความร่วมมือด้านการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมประกันภัยให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยการสร้างความร่วมมือกับสมาคมที่เกี่ยวข้องด้านการประกันภัย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทนายหน้าประกันภัยนิติบุคคล และที่สำคัญที่สุด คือ น้องๆ สื่อมวลชนทุกท่าน เพื่อสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร แนวทางการดำเนินงาน

      และกิจกรรมต่างๆ ของสำนักงาน คปภ. ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อสารให้ประชาชนทราบข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว รวมทั้งร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมประกันภัย เช่น กิจกรรมเพื่อสังคม CSR’ขยายการสื่อสาร ขยายกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมประกันภัย’

 

มาตรการที่ 9 การพัฒนาสำนักงาน คปภ. เพื่อมุ่งสู่การเป็น SMART OIC ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ด้วยกัน กล่าวคือ

1)         ภาคธุรกิจประกันภัย

-           บริษัทประกันภัย สามารถใช้งานระบบ Eco System ในการขอความเห็นชอบแบบกรมธรรม์ประกันภัย โดยขณะนี้ได้เริ่มใช้ระบบดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจากระบบ SERFF ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

-           ใช้ระบบ BIS (Business Investment System) ในการนำส่งข้อมูลเพื่อพิจารณาคำขอต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทประกันภัย เช่น การขอวางหรือคืนเงินสำรองประกันภัย การขออนุญาตลงทุน เป็นต้น

-           ตั้งเป้าหมายให้คนกลางประกันภัยสามารถเริ่มใช้งานระบบ

E-Licensing ได้เต็มรูปแบบภายในกลางปี 2566

2)         ภาคประชาชน

-           พัฒนา chatbot คปภ. รอบรู้ ให้สามารถให้บริการได้ครอบคลุมมากขึ้น และพัฒนารูปแบบการยืนยันตัวตน การสืบค้นข้อมูลกรมธรรม์

-           พัฒนาต่อยอดระบบ PPMS เดิม เพื่อให้บริการภาคประชาชนให้เข้าถึงระบบรับเรื่องร้องเรียนและกระบวนงานระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ

(E - Arbitration) อย่างครบวงจร

3)         การดำเนินงานภายในสำนักงาน คปภ.

-           นำผลการทบทวนกระบวนการที่สำนักงานได้ดำเนินการแล้ว (Business Process Improvement Roadmap) มาเชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อการพัฒนาทางเทคโนโลยี (Enterprise Architecture)

-           ปรับปรุงกระบวนการทำงานของทุกหน่วยงานภายในสำนักงานอย่างเต็มรูปแบบ ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างการทำงานและทบทวนบทบาทหน้าที่ภายในเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและสามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้เร็วยิ่งขึ้น

-           พัฒนากระบวนการการบริหารความเสี่ยงในการกำกับดูแลของสำนักงาน คปภ. ในด้านอื่น ๆ เช่น กระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบเพื่อให้ประเมินสถานการณ์ต่างๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ต่อยอดระบบ fraud detection ให้สามารถตรวจจับเคสผิดปกติได้

-           จัดทำ Intelligence Dashboard โดยใช้ข้อมูลจาก IBS และระบบงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น PPMS เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น

       และนี่คือ สิ่งที่วางแผนจะขับเคลื่อนในปีหน้า โดยบางเรื่องได้เริ่มดำเนินการแล้ว... 

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

สภาพัฒน์ฯ สศช.

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Friday, 26 August 2022 22:01

Government-SE Matching Day สวส. จัดกิจกรรมรัฐรวมพลังจับคู่ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน ดึงวิสาหกิจเพื่อสังคมร่วมออกบูธกว่า 15 องค์กร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) จัดกิจกรรม Government...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Sunday, 22 May 2022 12:47

สภาพัฒ ฯ เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Monday, 21 February 2022 18:27

สศช.GDP ไตรมาส 4 ปี 64 ขยายตัว 1.9% ​รวมทั้งปี 64 ขยายตัว 1.6% ​คาดปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5% สภาพัฒน์ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( GDP) ไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565...

สำนักนายกฯ

Saturday, 22 October 2022 20:49

ฟิทช์ เรทติ้งส์: เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้ดีท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ฟิทช์ เรทติ้งส์ - กรุงเทพฯ - 18 ตุลาคม 2565: ในงานสัมมนาประจำปีของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ที่จัดขึ้นในวันนี้...

Sunday, 29 May 2022 09:12

' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย ' ในการจัดเสวนา 'Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม ’ ผมมีโอกาสร่วมเสวนาหัวข้อ ' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย '...

Sunday, 22 May 2022 09:55

นายกรัฐมนตรี ปลื้ม FANC มอบใบเซอทิฟิเขท หลังเห็นความมุ่งมั่นของรัฐบาล แก้ยาเสพติดแนวใหม่ รับปาก หนุนแก้อำนาจ ป.ป.ส.เป็นพนักงานสอบสวน-เพิ่มเครื่องมือ หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยา ชม ก.ยุติธรรม...

Sunday, 22 May 2022 09:47

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการติดตามผลการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยาเสพติด พร้อมรับใบเซอทิฟิเขท จากกลุ่มเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดและอาชญากรรมต่างประเทศ หรือ FANC...

Saturday, 07 May 2022 13:37

นายกฯ ติดตามงาน 'ขจัดความยากจน-พัฒนาคนทุกช่วงวัย' กำชับเร่งแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ 'พุ่งเป้า' ตรงจุด ทันเวลา และเป็นรูปธรรม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามการดำเนินงาน...

Monday, 28 March 2022 17:22

บุกค้น 2 ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจำหน่ายสลากออนไลน์รายใหญ่ มีสลากขายเกินราคา 6.7 ล้านฉบับ เร่งขยายผล ตัดสิทธิ ยกเลิกโควตาตัวแทนจำหน่าย-ผู้มีสิทธิซื้อจอง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ...

Thursday, 24 March 2022 21:31

DGA เร่งยกระดับนวัตกรรมภาครัฐโกอินเตอร์ อวดโฉมงานวิจัยสู่เวทีสากลผ่านงาน DGTi-Con 2022 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ DGTI-Con 2022...

สนับสนุนโดย Investing.com

สนับสนุนโดย Investing.com

โปรแกรมสรุปข้อมุลทางเทคนิคได้รับการควบคุมระบบการทำงานโดยInvesting.com ประเทศไทย

ตัวแปลงสกุลเงินนี้ควบคุมดูแลระบบทำงานโดย Investing.com ประเทศไทย

บริษัทจดทะเบียน

Wednesday, 09 August 2023 09:12

0 MTC มาตามนัด Q2/66 พอร์ตสินเชื่อแตะ 132,851 ลบ.เดินหน้าพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนเคียงคู่สังคมไทย เตรียมออกหุ้นกู้ชุดใหม่ อัตราดอกเบี้ย 4.25-4.80% คาดเสนอขายวันที่ 21-23 ส.ค.นี้ บมจ.เมืองไทย...

Tuesday, 08 August 2023 18:31

ALT โชว์ไตรมาส 2/66 กวาดรายได้ 396 ลบ . งานโซลาร์รูฟท็อป - บริการโครงข่ายรุ่งแนวโน้มโตต่อเนื่อง เอแอลที เทเลคอม โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2566 กวาดรายได้ 396 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 56.6%...

Tuesday, 08 August 2023 17:01

PSP พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ บิ๊กน้ำมันหล่อลื่น จ่อเข้าเทรด SET จับตา 'พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP)'เจ้าตลาดเบอร์หนึ่งธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นครบวงจรของไทยและอาเซียน เตรียมขายไอพีโอเข้าเทรด SET...

เศรษฐกิจ

Tuesday, 15 November 2022 14:33

GSB ต้อนรับประธานกรรมการธนาคารออมสินคนใหม่ นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ในนามคณะกรรมการธนาคารออมสิน และนายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร...

Tuesday, 15 November 2022 14:32

สนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร พร้อมด้วยนายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (...

Tuesday, 15 November 2022 00:07

‘ ณัฐพล ’ ปลัดอุตฯ บูมเศรษฐกิจภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผุดกระบี่โมเดล ยกระดับ 3 มิติอุตสาหกรรม สู่การกระจายรายได้เศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน ดร . ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม...

Monday, 14 November 2022 16:14

บอร์ด บสย. แต่งตั้ง ' เอด วิบูลย์เจริญ ' ประธาน บสย. คนใหม่ คณะกรรมการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีมติแต่งตั้ง ‘เอด วิบูลย์เจริญ’ดำรงตำแหน่ง ประธาน บสย. มีผลตั้งแต่วันที่ 14...

บทความ-วิเคราะห์

EDUCATION 

Tuesday, 15 November 2022 15:30

ทีซีซีเทค ปลื้ม Enjoy to the Max 2 บรรลุตามเป้า ! ต่อยอดการยกระดับดิจิทัลขั้นสูงในองค์กร สิ้นสุดพิธีมอบรางวัลไปด้วยรอยยิ้มและความสุข สำหรับ “TCCtech X M365 Star Icon Stage” ภายใต้โครงการ Enjoy to...

กทม. ท้องถิ่น

Sunday, 13 November 2022 18:00

รมว.เฮ้ง ส่ง ' โฆษก ' เยี่ยมกลุ่มบายศรีบึงกาฬ สร้างอาชีพเสริม รับนักท่องเที่ยวสายมู นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน...

ข่าวสังคม

Tuesday, 15 November 2022 17:30

ธพว . ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( ธพว .) หรือ SME D Bank โดย นายศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส...