- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 22 July 2021 23:39
- Hits: 18845
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 22-7-2021
AT THE OPEN (#ATO)
S T R A T E G Y R E P O R T / 22 กรกฎาคม 2564
INVESTMENT STRATEGY
Sideways :
รองบกลุ่ม Real Sector
วันนี้คาด SET แกว่ง Sideways ในกรอบแนวรับ 1,530 จุด และแนวต้าน 1,560 จุด เน้นหุ้นคาดงบ 2Q64 เติบโตดี โดย ATO Picks แนะนำ “CKP, JMART”
CKP
คาดกำไร 2Q64 โดดเด่นสู่ระดับ 750 ล้านบาท และเร่งขึ้นต่อเนื่องใน 3Q64 แรงหนุน จีนปล่อยน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำโขงมาก ปีนีฝนเริ่มตกซุก และ ล่าสุดพายุโซนร้อน Koguma ได้เคลื่อนเข้าสู่สปป.ลาวตอนบน ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ไซยะบุรี และ น้ำงึม2 จะหนุนน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมาก
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 6.5 บาท
JMART
คาดกำไร 2Q64 เด่นเติบโตทั้ง QoQ และ YoY แรงหนุนจากการเติบโตของบริษัทลูก ทั้ง JMT ที่รักษาระดับการเก็บเงินสดดี เร่งตัดต้นทุนก่อนก้าวกระโดดใน 2H64 และ SINGER ที่คาดกำไร 2Q64 จะทำจุดสูงสุดใหม่ ผสานการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อของ KBJ เป็น Upside risk
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 44.5 บาท
INVESTMENT THEME
รองบกลุ่ม Real Sector
สต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มขึ้นสวนคาด: วานนี้สหรัฐฯรายงานตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น +2.1 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ปรับตัวลดลงกว่า -7.9 ล้านบาร์เรล และสวนกับที่ตลาดคาดว่าจะปรับตัวลดลง -3.9 ล้านบาร์เรล สะท้อนว่าภาพระยะสั้นของอุปสงศ์น้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง หลังการแพร่กระจายของ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้า ที่แพร่กระจายได้เร็ว อาจกลับมากดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก แต่อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบโลกมีการปรับฐานแรงตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ระยะสั้นราคาน้ำมันดิบอยู่ในช่วงแกว่งตัวสร้างฐาน
ตลาดจับตาการรายงานงบ 2Q64 : นักลงทุนทั่วโลกกำลังจับตามองการรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในช่วง 2Q64 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนี โดยสำหรับไทย งบกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งรายงานออกมาเป็นกลุ่มแรกพบว่ากำไรรวม 7 ธนาคารที่เราทำการวิจัย อยู่ที่ 35,629 ล้านบาท (-9%QoQ, +54%YoY) ใกล้เคียงคาด แต่แนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการตั้งสำรองมากยิ่งขึ้น จาก Downside ของเศรษฐกิจไทย หลังสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศยังคงรุนแรงมากขึ้นจึงอาจยังเป็นปัจจัยกดดันกลุ่มธนาคาร ส่วนในช่วงถัดไปแนะจับตากำไรของกลุ่ม Real Sector ที่จะทยอยออกมา ซึ่งยังอาจทำให้ตลาดผันผวนต่อเนื่อง
MARKET SUMMARY
วานนี้ SET แกว่ง Sideways ท่ามกลางตัวเลขการติดเชื้อในประเทศที่ยังคงเร่งตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ โดย SET ปิดที่ 1,540.88 (+2.02) มูลค่าการซื้อขาย 7.4 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 9.3 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทย 1,261 ลบ. (นักลงทุนสถาบันขาย 5 ลบ. ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Long Futures ที่ 1,820 สัญญา)
EYES ON
22 ก.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ US, ยอดขายบ้านมือสอง US, การประชุม ECB
23 ก.ค. PMI ภาคการผลิตและบริการของ US และ ยูโรโซน, ยอดส่งออกไทย มิ.ย.
Kasikornbank (KBANK TB)
มีแรงกดดันระยะสั้น
BUY
Share Price THB 105.00
12 m Price Target THB 160.00 (+52%)
Previous Price Target THB 160.00
ครึ่งปีหลังกดดัน คาดดีขึ้นในปี 65
เรายังกังวลประเด็นแนวโน้มเศรษฐกิจและคาดว่าต้นทุนสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง 64 ราคาหุ้นน่าจะถูกกดดันในระยะสั้นจากการล็อกดาวน์ล่าสุดและอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากนั้น ปัจจัยบวกน่าจะเริ่มเข้ามาจากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้นในไตรมาส 4/64 เราแนะนำนักลงทุนสะสมหุ้นในจังหวะนี้เพื่อรองรับการดำเนินงานที่ดีขึ้นในปี 2565 คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 160 บาท อิง P/BV ปี 64 ที่ 0.8 เท่า และ ROE 9.1% ความเสี่ยงที่สำคัญคือ คุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้
กำไร 2Q64 ลดลง 16% QoQ จากรายได้ค่าธรรมเนียมลดลงและ OPEX สูงขึ้น
กำไร 2Q64 เพิ่มขึ้น 309% YoY แตะ 8.9 พันล้านบาท จากต้นทุนเครดิตที่ลดลง รายได้ nii โตแรง (+10% YoY) จากการเติบโตของสินเชื่อที่แข็งแกร่งที่ 12% YoY และ 6% YTD โดยการเติบโตของสินเชื่อทั้งหมด ครึ่งหนึ่งมาจากมาตรการบรรเทาหนี้ ส่วนที่เหลือมาจากสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อที่อยู่อาศัย ขณะที่ Non-nii ลดลง 21% YoY และ 6% QoQ จากค่าธรรมเนียมที่ลดลงจากกองทุนรวม ธุรกิจบัตรเครดิตและกำไรจากการลงทุนในตลาด OPEX เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับไอที ในขณะที่อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 41.8% ในไตรมาส 2/64 จาก 38.4% ในไตรมาส 2/63 อัตราส่วน NPL เพิ่มขึ้น 5bp QoQ เป็น 4.49% ในขณะที่ธนาคารสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1.08 หมื่นล้านบาท หรือต้นทุนเครดิต 185bp ในไตรมาส 2/64
คาดต้นทุนสินเชื่อเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง
KBANK ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2564 เป็น 1.0% จากเดิม 1.8% และคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะแตะระดับสูงสุดในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ธนาคารคงเป้าหมายต้นทุนเครดิตไม่เปลี่ยนแปลงที่ 'สูงสุด 160bp' ในปีนี้ แต่อาจมีการแก้ไขหากสถานการณ์แย่ลงในครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ KBANK บันทึกต้นทุนเครดิตที่ 168bp ในครึ่งปีแรก เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 175bp ในปี 64 ดอกเบี้ยค้างรับเพิ่มขึ้น 10% QoQ เป็น 1.42 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2/64 โดย 70% มาจากสินเชื่อปกติ และ 30% มาจากสินเชื่อภายใต้โครงการบรรเทาหนี้
อัพเดทสินเชื่อตามมาตรการบรรเทาหนี้
ผู้บริหารระบุว่าสินเชื่อภายใต้โครงการบรรเทาหนี้เพิ่มขึ้น 6% QoQ เป็น 3.38 แสนล้านบาท หรือ 14% ของสินเชื่อทั้งหมดในไตรมาส 2/64 จากทั้งหมด 97% สามารถชำระหนี้ได้และส่วนที่เหลือขอเลื่อนการชำระหนี้ ในแง่ลบ ลูกค้าที่สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ออกจากโครงการบรรเทาหนี้ลดลงเหลือ 91% ในไตรมาส 2/64 จาก 94% ในไตรมาส 1/64 ความกังวลหลักคือ SMEs ในภาคบริการ เช่น โรงแรมและร้านอาหาร และสินเชื่อจำนอง เราคาดว่าสัดส่วนลูกค้าที่ต้องการเข้าโครงการบรรเทาหนี้จะเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิดระลอกใหม่
Jesada Techahusdin, CFA
(66) 2658 6300 ext 1395
R&B Food Supply (RBF)
กำไรประคองตัว ฟื้นแบบค่อยเป็นค่อยไป
BUY
Share Price THB 21.10
12 m Price Target THB 22.60 (+9%)
Previous Price Target THB 22.60
ประเด็นการลงทุน
คาดบริษัทรายงานกำไรปกติ 2Q64 ที่ 145 ลบ.(+37%YoY, +4%QoQ) จากคาดยอดขาย Flat QoQ ด้วยผลกระทบโควิด-19 และ GPM ยังทรงตัวในระดับต่ำกว่าปกติเป็นไตรมาสที่ 2 จากผลกระทบตู้คอนเทนเนอร์ขาด กดดันต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบ ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดฟื้นแบบค่อยเป็นค่อยไปตามการบริโภคในประเทศ และมีประเด็นไม่ต้องรับผลขาดทุนจากโรงแรมที่ขายไปช่วยหนุนกำไรบางส่วน ขณะราคาหุ้นปัจจุบันปรับตัวขึ้น Price in ประเด็นกัญชงไปมาก ทำให้ Upside จากราคาเป้าหมายเริ่มจำกัด จึงลดคำแนะนำจากซื้อเป็น “ซื้อเก็งกำไร” ด้วยราคาเป้าหมายเดิม 22.60 บาท
คาดกำไร 2Q64 โต YoY และ Flat QoQ
จาก (1)คาดยอดขายในประเทศทรงตัว QoQ ด้วยสถานการณ์โควิด-19 โดยบริษัทมีพอร์ตลูกค้าที่ค่อนข้างกระจายตัว อาทิเช่น กลุ่มเครื่องดื่ม, ร้านอาหาร, ซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่มีทั้งได้ประโยชน์และโดนผลกระทบจากการล็อกดาวน์ จึงทำให้ยอดขายพอจะประคองตัวได้ (2)ส่วนต่างประเทศคาดโควิด-19 ยังกระทบจำกัด โดยเฉพาะอินโดฯที่ยอดขายส่วนใหญ่ขายผ่านช่องทาง MT และฐานยังเล็ก คาดยังเห็นพอเห็นการเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ และ (3)GPM คาดทรงตัวระดับต่ำเป็นไตรมาสที่ 2 จากราคาตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังอยู่ระดับสูง กระทบต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบให้แพงขึ้น
คาด 2H64 ฟื้นแบบค่อยเป็นค่อยไป และ รอความชัดเจนธุรกิจกัญชงเพิ่มเติม
คาดกำไรครึ่งปีหลังจะฟื้นแบบค่อยเป็นค่อยไปตามภาคบริโภคในประเทศ โดยจะได้แรงหนุนบางส่วนหลังจากบริษัทได้ทำการขายธุรกิจโรงแรมออกจากพอร์ตทั้งหมด ตั้งแต่เดือนมิ.ย. จะทำให้ช่วงที่เหลือของปีไม่แบกผลขาดทุนราว 15 ลบ. (10%ของกำไร) ต่อไตรมาส ขณะที่ธุรกิจกัญชงปัจจุบันได้ license การปลูก-สกัด ทั้งน้ำมันและสาร CBD ครบเป็นเจ้าแรกของอุตสาหกรรม คาดเริ่มปลูกได้ภายในเดือนส.ค. และทยอยเห็นผลผลิตช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. เป็น Upside หนุนช่วงปลายปี-ปีหน้า ซึ่งลำดับถัดไปต้องติดตามกฎเกณฑ์อ.ย.เพิ่มเติมในปริมาณ CBD ที่อนุญาตให้ใส่ในอาหาร อาทิเช่น น้ำดื่ม 1 ลิตร ผสม CBD ได้กี่มิลลิลิตร ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญสุดท้ายในการกำหนดราคาขาย Isolate-CBD และ จำนวนไร่ที่บริษัทจะปลูกได้
Valuation
ลดคำแนะนำจากซื้อเป็น “ซื้อเก็งกำไร” ราคาเป้าหมายเดิม 22.60 บาทด้วยวิธี DCF (WACC 8%, G.3%) โดยแม้บริษัทได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำกัด และยังไม่เห็น Downside ในประมาณการ (กำไร 1H64E คิดเป็น 45% ของประมาณการกำไรทั้งปี) แต่ด้วยราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมา Price in ประเด็นกัญชงไปมากและเหลือ Upside จำกัด อาจรอดูการ Deliver ของกำไรในธุรกิจกัญชงจริงๆช่วง 4Q64 ก่อนพิจารณาปรับประมาณการและมาลงทุนอีกครั้ง
Suttatip Peerasub
(66) 2658 6300 ext 1430
Thanalop Preedamanoch
(66) 2658 5000 ext 1511
TMBThanachart Bank (TTB TB)
รายได้กดดันจาก opex ที่เร่งตัวครึ่งปีหลัง
HOLD
Share Price THB 0.99
12 m Price Target THB 1.10 (+11%)
Previous Price Target THB 1.35
แนวโน้มรายได้อ่อนแอ ลดน้ำหนักเป็น ถือ
เราชอบ TTB ที่เน้นคุณภาพสินเชื่อเพื่อจำกัดความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม คาดรายได้จะอ่อนแอจากแรงกดดันจาก opex ที่จะเร่งตัวขึ้นในครึ่งปีหลัง การล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้นท่ามกลางการติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนในครึ่งปีหลัง เราไม่เห็นปัจจัยบวกที่จะส่งผลต่อราคาหุ้นในระยะสั้นนี้ แนะนักลงทุนรอสะสมหุ้นในช่วงปลายปี 64 มากกว่าตอนนี้ ปรับลดคาดการณ์กำไรปี 64-65 ลง 12-14% และลดน้ำหนัก TTB เป็น ถือ จากซื้อ และลดราคาเป้าหมายลงเป็น 1.10 บาท (P/BV ปี 64 ที่ 0.5 เท่า ROE 7.5%)
มุ่งเน้นปรับงบดุลให้เหมาะสมมากกว่าการเติบโตของสินเชื่อ
เนื่องจาก TTB คาดว่าเศรษฐกิจจะมีปัญหามากขึ้นในครึ่งปีหลัง 64 ธนาคารจึงมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพของเงินทุนและวินัยด้านต้นทุนเพื่อชดเชยกับการเติบโตของรายได้ที่อ่อนแอ ธนาคารระมัดระวังในการเลือกมากขึ้นในการเพิ่มสินเชื่อใหม่เพื่อให้มั่นใจในเงื่อนไขคุณภาพสินทรัพย์ ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ NII และ NIM เติบโตอย่างช้าๆ แต่กิจกรรมทางธุรกิจที่ลดลงก็จะกระทบกับรายได้ค่าธรรมเนียมในครึ่งปีหลังด้วยเช่นกัน เราคาดว่ารายรับจะดีขึ้นเมื่อธนาคารกลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2565
OPEX และต้นทุนต่อรายได้เร่งขึ้นในครึ่งปีหลัง
ซีอีโอระบุว่าการประสานต้นทุนนั้นสูงกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากธนาคารสามารถประหยัดต้นทุนสุทธิได้ 5.6 พันล้านบาทตั้งแต่ปี 2563 เทียบกับเป้าหมายที่ 1-1.2 หมื่นล้านบาทใน 5 ปี ปัจจัยหลักมาจากจำนวนสาขา พนักงาน และค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ลดลง (ภาพที่ 4 และ 5) ในแง่บวก OPEX และต้นทุนของรายได้จะเพิ่มขึ้นจากการเลื่อนกิจกรรมการตลาดและการรีแบรนด์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพพนักงานเนื่องจากโควิดในครึ่งปีหลัง
ลดคาดการณ์กำไรปี 64-65 จากการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมที่อ่อนแอ
เราปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิปี 64-65 ลง 12-14% เพื่อสะท้อนการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้หลังการระบาดระลอกใหม่ของโควิด ในแง่บวก TTB พอใจกับคุณภาพสินทรัพย์ในปัจจุบัน เนื่องจากได้ย้ายพอร์ตสินเชื่อไปสู่สินเชื่อรายย่อยที่มีความเสี่ยงต่ำ และยังคงลดความเสี่ยงของสินเชื่อที่อ่อนแอไปยังระยะที่ 2 และ NPLs เพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่แท้จริง โดยเงินให้สินเชื่อภายใต้โครงการบรรเทาหนี้ทรงตัว QoQ ที่ 14% ของสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/64 จากทั้งหมด 85% ของลูกค้าสามารถชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยเต็มจำนวน
Jesada Techahusdin, CFA
(66) 2658 6300 ext 1395
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ