WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570)

GOV6

แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (.. 2565-2570)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (.. 2565-2570) ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าวแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (27 มิถุนายน 2538) ที่ให้ถือว่าการประชุม กก.วล เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมและมติคณะรัฐมนตรี (1 พฤศจิกายน 2548) ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญและเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] โดยแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวเป็นแผนที่ดำเนินการต่อเนื่องจากแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (.. 2559-2564) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มติ (3 พฤษภาคม 2559) เห็นชอบแผนแม่บทดังกล่าวเพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ โดยบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชนและประชาชนด้วยแล้ว ซึ่งทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าว โดยมีผลการดำเนินการ เช่น การจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง สำเร็จร้อยละ 69 (เป้าหมายร้อยละ 75) การจัดการของเสียอันตรายชุมชน สำเร็จร้อยละ 22 (เป้าหมายร้อยละ 30) และการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ สำเร็จร้อยละ 90.85 (เป้าหมายร้อยละ 100) อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด โดยมีปัญหาและอุปสรรค และข้อจำกัด เช่น สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของรัฐและเอกชนส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ระบบติดตาม กำกับและควบคุม การดำเนินงานของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอ รวมถึงกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบันไม่สามารถกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยแผนแม่บทดังกล่าวมุ่งเน้นการจัดการขยะ ปลายทาง ของ อปท. โดยลดการเกิดขยะ การนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำและใช้ประโยชน์ใหม่และการกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อให้การจัดการขยะของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง จึงได้มีแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่2 โดยยกระดับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่ให้ความสำคัญกับการจัดการที่ต้นทางตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่ต้นทาง (เช่น การออกแบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) ให้สอดคล้องกับการกำจัดขยะมูลฝอย ปลายทาง เพื่อให้มีการนำทรัพยากรกลับคืนจากของเสียให้มากที่สุด โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

สาระสำคัญ

(1) วิสัยทัศน์

การจัดการขยะวิถีใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อมสะอาดและก้าวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ยั่งยืน

(2) กรอบแนวคิด

การจัดลำดับความสำคัญของการจัดการขยะรูปแบบใหม่และการบริหารจัดการขยะ ตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ดังนี้

2.1) การจัดการ ต้นทาง ออกแบบ การผลิต และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกำหนดหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการร่วมรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ของตนตลอดวัฎจักรชีวิตตามหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต

2.2) การจัดการ กลางทาง ส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืนโดยการเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ซ้ำและเรียกคืนกลับไปรีไซเคิล การคัดแยกขยะมูลฝอย ต้นทาง สอดคล้องกับรูปแบบการกำจัดขยะมูลฝอย ปลายทาง เพื่อให้มีการนำทรัพยากรกลับคืนจากของเสียให้มากที่สุดทั้งในรูปแบบวัสดุรีไซเคิลและพลังงาน เพื่อให้เหลือขยะที่ต้องกำจัดให้น้อยที่สุด

2.3) การจัดการ ปลายทาง ใช้แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยผสมผสานโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ ก่อนการฝังกลบขั้นสุดท้าย เช่น ระบบคัดแยกและนำกลับคืนวัสดุรีไซเคิล การเผาเพื่อผลิตพลังงาน การหมักปุ๋ยเพื่อให้เหลือขยะที่ต้องฝังกลบให้น้อยที่สุด

2.4) การพัฒนาเครื่องมือบริหารจัดการขยะเพื่อสนับสนุนให้การจัดการขยะเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การพัฒนา/ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน การจัดทำองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนและการวิจัยพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับการจัดการขยะ

(3) เป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ

3.1) ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

3.2) ขยะบรรจุภัณฑ์มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ (1) พลาสติก ร้อยละ 100 (2) แก้ว ร้อยละ 86 (3) กระดาษ ร้อยละ 74 และ (4) อะลูมีเนียม ร้อยละ 81

3.3) การลดปริมาณขยะอาหารเทียบจากปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ร้อยละ 28

3.4) ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 50

3.5) มูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 100

3.6) กากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายเข้าสู่ระบบการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 100

(4) มาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ

ประกอบด้วย 3 มาตรการ ดังนี้

4.1) มาตรการที่ 1 การจัดการขยะที่ต้นทาง

     4.1.1) การควบคุมป้องกัน ลดและใช้ประโยชน์ขยะตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การออกแบบผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

     4.1.2) การคัดแยกและเก็บรวบรวมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือส่งกำจัดอย่างเหมาะสม

     4.1.3) สนับสนุนให้ผู้ผลิตมีการผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ผู้จำหน่ายและผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิธีคิดและวิถีชีวิตให้มีการบริโภคอย่างพอเพียงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้น้อยที่สุด ทิ้งให้ถูกที่ คัดแยกเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

     4.1.4) ศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอย แหล่งกำเนิดและสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

     4.1.5) กำหนดระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางตามประเภทที่สอดคล้องกับรูปแบบหรือเทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอย ปลายทาง

     4.1.6) ออกกฎระเบียบให้มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

4.2) มาตรการที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบกำจัดขยะ

     4.2.1) เพิ่มศักยภาพการกำจัดขยะเพื่อให้มีสถานที่กำจัดขยะที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นและครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศโดยส่งเสริมให้เอกชนร่วมลงทุนในการจัดการขยะ กำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับสถานที่กำจัดขยะ ร้านรับซื้อของเก่า โรงงานรีไซเคิลทุกประเภท โรงงานหรือสถานประกอบกิจการถอดแยกซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อและสถานที่กำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม

     4.2.2) กำหนดแนวทางการจัดการขยะที่ยังไม่มีระบบการจัดการหรือขยะที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่บางประเภทที่จะเป็นปัญหาในอนาคต

4.3) มาตรการที่ 3 การพัฒนาเครื่องมือบริหารจัดการขยะ

     4.3.1) พัฒนากฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ครอบคลุมการจัดการ ที่ต้นทางตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยผลักดันการออกกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

     4.2.3) กำหนดให้ อปท. ทุกแห่งออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการขยะตั้งแต่ การคัดแยกที่ต้นทางจนถึงการกำจัด และบังคับใช้อย่างเข้มงวด พัฒนาหรือปรับปรุงฐานข้อมูลการจัดการขยะให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน

     4.2.3) สร้างกระบวนการรับรู้ เสริมสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบของประชาชนผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย น่าสนใจ เข้าใจง่าย และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

     4.2.4) ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการขยะที่กำจัดยากและขยะใหม่

(5) การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ไปสู่การปฏิบัติ

5.1) กลไกการขับเคลื่อน

     5.1.1) การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับมีความเข้าใจ ยอมรับ ตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมมือในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

     5.1.2) การใช้กลไกคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ การใช้เครื่องมือทางการเงินการคลัง เครื่องมือทางสังคม และการกำกับดูแลติดตามตรวจสอบ ควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานการจัดการขยะของภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนด

5.2) การติดตามและประเมินผล กำหนดให้มีการติดตาม ประเมินผล และผลกระทบของการดำเนินงานภายใต้มาตรการที่กำหนดเป็นประจำทุกปีเพื่อนำมาปรับปรุงหรือใช้ในการทบทวนแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมและรายงานผลการดำเนินงานต่อ กก.วล. และเผยแพร่สู่สาธารณะ

 

          สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่ง สศช. พิจารณาแล้วเห็นควรรับทราบแผนปฏิบัติการฯ และเห็นว่าแผนดังกล่าวเป็นแผนระดับปฏิบัติการ จึงควรได้รับการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับกระทรวง กรม และจังหวัดที่มีความสำคัญต่อการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11134

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!