ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ระยะที่ 2
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 01 November 2022 21:54
- Hits: 1046
ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ระยะที่ 2
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง (โครงการฯ) ระยะที่ 2
2. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการโครงการ จำนวน 1,050.5 ล้านบาท ประกอบด้วย
2.1 ค่าชดเชยดอกเบี้ย จำนวน 1,050 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) จำนวน 420 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 630 ล้านบาท
2.2 ค่าดำเนินการโครงการ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และติดตามโครงการ จำนวน 0.5 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมประมง
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. รายงานว่า
1. กษ. ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 พฤษภาคม 2563) มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการประมงพาณิชย์ และประมงพื้นบ้าน1 โดยรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 - 25 พฤษภาคม 2564 มีความก้าวหน้าโครงการโดยสรุป ดังนี้
ประเด็น |
ธนาคารผู้ให้กู้ |
รวม |
|
ธ.ออมสิน |
ธ.ก.ส. |
||
1. ความก้าวหน้าโครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ) |
|||
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ |
435 คน |
5,161 คน |
5,596 คน |
จำนวนเรือที่เข้าร่วมโครงการ |
624 ลำ |
5,764 ลำ |
6,388 ลำ |
วงเงินสินเชื่อที่ขอ |
2,668 ล้านบาท |
3,841 ล้านบาท |
6,509 ล้านบาท |
2. การอนุมัติสินเชื่อ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565) |
|||
สถานะการพิจารณา |
เสร็จสิ้นแล้ว |
อยู่ระหว่าง การพิจารณา2 |
- |
จำนวนผู้ได้รับการอนุมัติ |
136 คน (ร้อยละ 31.26) |
2,122 คน (ร้อยละ 41.12) |
2,258 คน (ร้อยละ 40.35) |
วงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ |
497.244 ล้านบาท (ร้อยละ 18.64) |
677.203 ล้านบาท (ร้อยละ 17.63) |
1,174.45 ล้านบาท (ร้อยละ 18.04) |
วงเงินสินเชื่อคงเหลือ |
5,962 ล้านบาท |
- |
|
หมายเหตุ : วงเงินสินเชื่อคงเหลือมาจากวงเงินสินเชื่อที่ไม่ผ่านการอนุมัติจากธนาคาร มีสาเหตุจากผู้ประกอบการประมงมีหนี้ชำระค้างกับธนาคาร มีประวัติผิดนัดชำระหนี้เกินที่ธนาคารกำหนด มีหลักประกันไม่เพียงพอ หรือมีเอกสารไม่ครบถ้วน เป็นต้น และยังเกิดจากการที่ผู้ประกอบการประมงขอยกเลิกสิทธิในการกู้ เป็นต้น ทั้งนี้ วงเงินสินเชื่อคงเหลือ จำนวน 5,962 ล้านบาท คำนวณจากวงเงินสินเชื่อโครงการทั้งหมด จำนวน 10,300 ล้านบาท หักจากวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติของ ธ.ออมสิน จำนวน 497 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อที่ขอของ ธ.ก.ส. จำนวน 3,841 ล้านบาท (เนื่องจาก ธ.ก.ส. ยังพิจารณาสินเชื่อไม่แล้วเสร็จ จึงใช้วงเงินสินเชื่อที่ขอแทนวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ) |
2. ภายหลังสิ้นสุดการรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯ มีผู้ประกอบการประมงประสงค์ให้ภาครัฐจัดทำโครงการเพิ่มเติม เช่น สมาคมประมงจังหวัดตราด เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการประมงได้ ประกอบกับปัจุบันต้นทุนในการทำประมงสูงขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ และมีผู้ประกอบการประมงบางส่วนไม่มีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในช่วงยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ระยะที่ 1 โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 ระบุว่า มีเรือจำนวน 103 ลำ ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในรอบปี 2565 - 2566 แต่ไม่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในรอบปี 2563 - 2564 จึงไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ในช่วงเวลานั้นได้
3. กษ. จึงจัดทำโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการประมงพาณิชย์ และประมงพื้นบ้าน มีรายละเอียด ดังนี้
ประเด็น |
ธนาคารผู้ให้กู้ |
|||
ธ.ออมสิน |
ธ.ก.ส. |
|||
1. ขนาดเรือประมง |
ตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป |
ต่ำกว่า 60 ตันกรอส |
||
2. วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท3 |
2,000 ล้านบาท |
3,000 ล้านบาท |
||
3. ระยะเวลา ดำเนินการ |
1. ระยะเวลาโครงการ : 8 ปี นับจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการ 2. ระยะเวลายื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการ : 1 ปี หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการ หรือภายในกรอบวงเงินสินเชื่อตามที่กำหนด 3. ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ : ไม่เกิน 7 ปี นับแต่วันกู้ |
|||
4. อัตราดอกเบี้ย |
ร้อยละ 7 ต่อปี โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ร้อยละ 4 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปีนับตั้งแต่วันที่กู้ |
|||
5. ประเภทสินเชื่อ |
1. เงินกู้ระยะสั้น ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หรืออื่นๆ ตามที่ธนาคารกำหนด เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ 2. เงินกู้ระยะยาว เพื่อเป็นเงินทุนในการปรับปรุงเรือประมง ปรับเปลี่ยนเครื่องมือและอุปกรณ์ทำการประมง |
|||
หลักเกณฑ์/เงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ |
||||
6. คุณสมบัติผู้ประกอบการประมง4 |
1. บุคคลธรรมดาอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย 2. มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองเรือประมงที่มีทะเบียนเรือไทย 3. มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี5 |
|||
|
4. เป็นผู้ประกอบการประมงที่มีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ |
4. กรณีผู้ประกอบการประมงพาณิชย์ต้องมีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (เนื่องจากเรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส ประกอบด้วยเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้าน) |
||
7. วงเงินสินเชื่อสูงสุด |
ไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท |
ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท |
||
8. หลักประกันการกู้เงิน |
ให้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ดังนี้ 1. ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่มีหนังสือแสดงเอกสารสิทธิ สามารถจดทะเบียนจำนองได้ หรืออาคารชุด 2. เรือประมง 3. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 4. บุคคลค้ำประกัน 5. หลักประกันอื่นๆ ตามที่ธนาคารกำหนด |
|||
9. หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อ |
ตามเงื่อนไขของ ธ.ออมสิน |
ตามเงื่อนไขของ ธ.ก.ส. |
||
ผู้กู้ที่ บสย. เป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. ควรพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประกอบการประมงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการค้ำประกันสินเชื่อและวิธีปฏิบัติในการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ควบคู่กันด้วย |
||||
งบประมาณในการดำเนินโครงการ จำนวน 1,050.5 ล้านบาท ประกอบด้วย |
||||
10. ค่าชดเชยดอกเบี้ยแก่ธนาคาร 1,050 ล้านบาท |
420 ล้านบาท6 |
630 ล้านบาท7 |
||
ให้ธนาคารทั้ง 2 แห่ง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีจาก สงป. ตามที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการ โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายในการกันสำรองที่เกิดจากโครงการบวกกลับเป็นรายได้ของธนาคารในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้ และใช้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และให้แยกบัญชีการดำเนินงานตามโครงการนี้ออกจากการดำเนินงานปกติภายใต้ระบบบัญชี PSA (Public Service Account) |
||||
ค่าดำเนินโครงการของกรมประมง 0.5 ล้านบาท |
เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมประมง เช่น ค่าใช้จ่ายในการประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และติดตามโครงการ |
4. ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการแล้ว กษ. จะดำเนินการ ดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินงาน |
ระยะเวลาดำเนินการ |
ผู้รับผิดชอบ |
||
1. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการเพื่อติดตามงานเป็นระยะ |
ภายใน 1 เดือน |
- กรมประมง |
||
2. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ประกอบการประมง |
ภายใน 1 ปี |
- กรมประมง - สมาคมประมงที่เกี่ยวข้อง - ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. |
||
3. ผู้ประกอบการประมงสมัครเข้าร่วมโครงการ ณ สำนักงานประมงในพื้นที่ โดยผู้ประกอบการประมงต้องได้หนังสือรับรองคุณสมบัติจากสมาคมประมงที่สังกัด หรือในกรณีที่ไม่เป็นสมาชิกสมาคมฯ ให้สำนักงานประมงในพื้นที่เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง |
ภายใน 1 ปี (ประชาสัมพันธ์โครงการแล้ว) |
- สำนักงานประมงจังหวัด - สำนักงานประมงอำเภอ - สมาคมประมงแห่งประเทศไทย - สมาคมประมงในพื้นที่ - สมาคมประมงพื้นบ้านในพื้นที่ |
||
4. ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. พิจารณาสินเชื่อและเข้าสู่กระบวนการให้กู้ยืม |
ภายในปีที่ 1 - 6 (ประชาสัมพันธ์โครงการแล้ว) |
- ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. |
__________________________________
1 พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ ประมงพาณิชย์ หมายถึง การทำประมงโดยใช้เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป เรือที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าถึงขนาดที่กำหนด หรือเรือประมงที่มีลักษณะหรือวิธีการทำประมงตามที่กำหนด และห้ามทำการประมงพาณิชย์ในเขตทะเลชายฝั่ง โดยผู้ประกอบการประมงพาณิชย์ต้องได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จากอธิบดีกรมประมงก่อน และประมงพื้นบ้าน หมายถึง การทำการประมงที่มิใช่ประมงพาณิชย์ ไม่ว่าจะใช้เรือประมงหรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง และทำการประมงได้เฉพาะในเขตทะเลชายฝั่ง โดยผู้ประกอบการประมงพื้นบ้านต้องได้รับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านจากอธิบดีกรมประมงก่อน
2 กษ. แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่า ธ.ก.ส. คาดว่าจะพิจารณาสินเชื่อของโครงการฯ ระยะที่1 แล้วเสร็จภายในปี 2569
3 ประมาณการวงเงินสินเชื่อจากวงเงินสินเชื่อที่ขอของแต่ละธนาคารในโครงการฯ ระยะที่ 1
4 ผู้ประกอบการประมงที่มีเรือประมงทั้ง 2 ขนาด สามารถขอรับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารได้เพียงแห่งเดียว
5 สำนักงานประมงในพื้นที่หรือสมาคมประมงที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับรอง
6 ชดเชยดอกเบี้ยปีละ 60 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี (พ.ศ. 2567 - 2573) (อัตราร้อยละ 3 ต่อปี จากวงเงินสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท)
7 ชดเชยดอกเบี้ยปีละ 90 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี (พ.ศ. 2567 - 2573) (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี จากวงเงินสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท)
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 พฤศจิกายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A11123