WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขอความเห็นชอบการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Dev

GOV4 copy

การขอความเห็นชอบการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan) (บันทึกความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขร่างบันทึกความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ก่อนการลงนามให้กระทรวงคมนาคม (คค.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย สำหรับการลงนามในบันทึกความตกลงฯ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          คค. รายงานว่า

          1. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ได้ให้ความเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ โดยให้ทุน (Grant Fund) วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,360,740 ดอลลาร์สหรัฐ แก่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการของประเทศไทย (Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan) (โครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฯ) ในปีงบประมาณ .. 2565 ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance) ดังกล่าวเป็นเงินให้เปล่าและไม่ต้องใช้งบประมาณของ สนข. ร่วมดำเนินการ โดยจะมีการลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ ซึ่งระบุรายละเอียดของการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการที่เสนอในครั้งนี้ตามขั้นตอนต่อไป

          2. ร่างบันทึกความตกลงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและให้ข้อเสนอแนะแก่ประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ ลดต้นทุนการขนส่ง มลพิษทางถนน ลดอุบัติเหตุทางถนน และส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค โดยจะเสนอแนะโครงการนำร่องศูนย์บูรณาการโลจิสติกส์และขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอย่างน้อย 3 แห่ง เพื่อสาธิตให้เห็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการทางถนนและการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีขอบเขตงาน (1) ศึกษาทบทวนการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตลาด (Market Segments) ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การนำเข้าและส่งออก และ Land bridge โดยการขนส่งทางทะเลและทางน้ำ กลุ่มที่ 2 การขนส่งภายในประเทศของสินค้าทั่วไปทางถนน ทางราง ทางน้ำภายในประเทศและชายฝั่ง กลุ่มที่ 3 การนำเข้าและส่งออกผ่านแดนทางบก และกลุ่มที่ 4 การนำเข้าและส่งออกผ่านแดนทางอากาศ (2) คาดการณ์ปริมาณการขนส่งและจราจร สำหรับแต่ละกลุ่มตลาดและตามรูปแบบการขนส่ง (3) ระบุมาตรการที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนรูปแบบในการขนส่งสินค้าจากทางถนนสู่ทางราง ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญ เช่น อุปสรรคในการพัฒนาสำหรับธุรกิจใหม่ และการประเมินทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาธุรกิจใหม่สำหรับแต่ละกลุ่มตลาด โดยงบประมาณโครงการ รวมทั้งสิ้น 1,360,740 ดอลลาร์สหรัฐ ระยะเวลาดำเนินการศึกษา ประมาณ 14 เดือน

          3. ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ การดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฯ ภายใต้ร่างบันทึกความตกลงฯ จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของไทย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาระบบการขนส่งอย่างยั่งยืนของไทยและการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค นอกจากนี้ บุคลากรของ สนข. จะได้เรียนรู้จากการดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11116

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!