- Details
- Category: กทม.
- Published: Tuesday, 10 November 2015 13:37
- Hits: 5714
กทม. เตรียมรับมอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 เส้น ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ทางจากรฟม.
นางเบญทราย กียปัจจ์ ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครและรองโฆษกกรุงเทพมหานคร แถลงผลการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 32/2558 โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการ ประชุม โดยสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. ได้รายงานความคืบหน้าการประสานงานเพื่อรับมอบ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างงานโยธาโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย (รฟม.) หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ กทม. ต้องดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้า และเครื่องกล งานระบบอาณัติสัญญาณ และหาผู้บริหารจัดการเดินรถ
ทั้งนี้ มติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจร (คจร.) เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 58 ได้เห็นชอบใน หลักการให้กรุงเทพมหานครรับมอบการดำเนินการเดินรถโครงการ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต หลังจากที่ รฟม.ดำเนินการก่อ สร้างแล้วเสร็จ จากการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคม กทม. และ รฟม. ได้ข้อสรุปจัด ทำ MOU และได้จัดทำร่าง MOU เพื่อให้ กทม.สามารถบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ประชาชน ให้การบริหารจัดการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และ ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต จำเป็นต้องให้เกิดการเชื่อมต่อกับโครงการที่อยู่ภายใต้ความรับ ผิดชอบของ กทม. ที่เปิดให้บริการไปแล้ว เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางและ เพื่อสร้างกระบวนการทำงาน ร่วมกัน ระหว่าง รฟม.ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการก่อสร้าง และ กทม.ในฐานะที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้เดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต- สะพานใหม่-คูคต รวมระยะทาง 19 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม. จำนวน 9 สถานี
"ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยประชาชนที่จะได้รับความ เดือนร้อนในการเดินทางระหว่างดำเนินการ ก่อสร้าง จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด กทม. ระดมความเห็นเพื่อหาแนวทางแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาการ จราจร ซึ่ง จะต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม แม้การก่อสร้างกับการบริหาร ระบบ จะดำเนินการโดยคนละหน่วยงาน แต่ต้องมีการประสานติดตามงานอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมดูแล ติดตามการก่อสร้างซึ่งหากเห็นว่ามีสิ่งใดต้องแก้ไขจะต้อง ประสาน รฟม. ดำเนินการตรวจสอบและ แก้ไขในทันที เนื่องจากคุณภาพงานก่อสร้างจะส่งผลกับการเดินระบบในอนาคต"นางเบญจทราย กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย .