- Details
- Category: ทางบก-ทางน้ำ
- Published: Sunday, 20 December 2020 15:36
- Hits: 11437
กทพ. เดินหน้าโครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3
ณ ห้องประชุมกัญญลักษณ์ ชั้น 3 โรงแรมโฟร์วิงส์ สุขุมวิท 26 กรุงเทพมหานคร เรือโทเสนาะ พุทธาวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 (สรุปผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1)
กทพ. เดินหน้าโครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3
เรือโทเสนาะ พุทธาวงษ์ เปิดเผยว่า แนวเส้นทางโครงการอยู่บนถนนอาจณรงค์ในพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเชื่อมต่อกับทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่บริเวณ Terminal 3 ของท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งมีการออกแบบให้เชื่อมต่อกับประตูทางเข้า-ออก Terminal 3 ในแนวทิศเหนือ-ใต้ โดยแนวสายทางจะเป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร (ทิศทางละ 2 ช่องจราจร) ไปตามแนวถนนอาจณรงค์ โดยก่อสร้างเป็นโครงสร้างคานคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จรูปตัวไอ ข้ามคลองพระโขนง และถนนเลียบทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ จากนั้นแนวสายทางจะแยกเป็นขาทางเชื่อม เข้าเชื่อมกับทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) ในทิศทางไปทางพิเศษบูรพาวิถี
และทิศทางไปทางพิเศษฉลองรัช มีระยะทางรวมประมาณ 2.25 กิโลเมตร โดยมีทางขึ้น 3 จุด ได้แก่ บริเวณประตูทางเข้า-ออก Terminal 3 ของท่าเรือกรุงเทพ, บนถนนอาจณรงค์ (บริเวณด้านหน้าซอยสำนักงานเขตคลองเตย) และบริเวณประตูทางออก Terminal 1 และ 2 ของท่าเรือกรุงเทพ สำหรับทางลงมี 1 จุด คือบริเวณประตูทางเข้า-ออก Terminal 3 ของท่าเรือกรุงเทพ มีด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ซึ่งประกอบด้วย ด่านฯ ขาขึ้น 2 จุด ได้แก่ ด่านฯ ขาขึ้น บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงาน ปตท. พระโขนง และด่านฯ ขาขึ้น บริเวณประตูทางออก Terminal 1 และ 2 สำหรับด่านฯ ขาลง 2 จุด ได้แก่ ด่านฯ ขาลง บริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ และด่านฯ ขาลง บริเวณด่านอาจณรงค์ 1
กทพ. เดินหน้าโครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3กทพ. เดินหน้าโครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3
ในปัจจุบัน มีอาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษของโครงการ จำนวน 2 จุด ได้แก่ บริเวณพื้นที่เช่าของ ปตท. ซึ่งการท่าเรือฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน และบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ผลคาดการณ์ปริมาณจราจรของโครงการ พบว่า มีรถที่เข้ามาใช้บริการในโครงการ 3 ประเภท คือ รถ 4 ล้อ รถ 6-10 ล้อ และรถมากกว่า 10 ล้อ ทั้งนี้ ในปีเปิดโครงการ ปี 2568 จะมีปริมาณจราจรประมาณ 14,400 คัน/วัน มีระบบจัดเก็บค่าผ่านทางของโครงการเป็นระบบเปิด คือ เก็บค่าผ่านทางในอัตราคงที่ แบบมีด่านเก็บค่าผ่านทาง แผนการดำเนินโครงการคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ในปี 2566 และเปิดให้บริการในปี 2568 ซึ่งโครงการฯ มีมูลค่าลงทุนประมาณ 2,480 ล้านบาท
และจากการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจของโครงการ พบว่า โครงการฯ มีความเหมาะสมคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) เท่ากับร้อยละ 22 ในส่วนของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้ทำการศึกษาปัจจัยหลักด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ครอบคลุมบริเวณแนวเส้นทางโครงการ และมีการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์โครงการตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ
กทพ. เดินหน้าโครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3
“โครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) จะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรบนถนนอาจณรงค์บริเวณทางเข้าท่าเรือกรุงเทพ และถนนโครงข่ายโดยรอบ และช่วยให้ประชาชนโดยรอบพื้นที่ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยอำนวยความปลอดภัยในการจราจร และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่โครงการในภาพรวม อันเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมในระดับประเทศต่อไป”ผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กล่าวในท้ายที่สุด
กทพ. เดินหน้าโครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3กทพ. เดินหน้าโครงการทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ