WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มุมมองนักบริหาร : ไรวินท์ เลขวรนันท์ ประธาน จุดเริ่มต้น...บูรพาเทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง…จากความบ้าบวกกล้า...จนเป็นธุรกิจพันล้าน...

   แนวหน้า : ไรวินท์ เลขวรนันท์ ประธาน บริษัท บูรพาเทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)

   มุมมองนักบริหาร : จุดเริ่มต้น...บูรพาเทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง…จากความบ้าบวกกล้า...จนเป็นธุรกิจพันล้าน...

   บริษัท บูรพาเทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)...กjอตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540?วยทุนจดทะเบียน 101 ล้านบาท ประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวกับ รับปรึกษา สำรวจออกแบบ จัดหา ก?อสร?งติดตั้ง และพัฒนาปรับปรุงขยายเขตระบบจำหน?ยไฟฟ?แรงสูง, ระบบจำหน?ย ไฟฟ?แรงสูงใต?ดิน, ระบบจำหน?ยไฟฟ?แรงต่ำ,ระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร, ระบบไฟฟ??องสว?, งานก?อสร?ง ติดตั้งเสาส?งสัญญาณระบบโทรคมนาคมฯลฯ...!! จั่วหัวมาแค่นี้หลายคนคงอยากเลิกอ่าน คงนึกในใจแล้วน่าสนใจตรงไหน..แต่ถ้าได้อ่านพารากราฟต่อจากนี้ไป...ผมว่าทุกคนต้องอุทานเหมือนผม...หมอนี่มัน...ทั้งบ้า ทั้งกล้า...

   เมื่อ 22 ปีที่แล้ว ณ ร้านไดนาโม เล็กๆ แห่งหนึ่ง ในตำบลเล็กๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เด็กหนุ่มชื่อแอม อายุ 18 ปีเพิ่งจบจาก ปวช.สาชาช่างกล วิทยาลัยอาชีวะเซนต์ดอนมอสโก กำลังช่วยพ่อให้บริการลูกค้าที่ร้านอยู่ ด้วยค่าจ้างวันละ 100 บาท ...วันหนึ่งความคิดก็แว้บขึ้นมาในหัวว่าทำต่อไปอย่างนี้คงไม่พอเดินตามฝันที่จะเป็น “เถ้าแก่” ได้แน่ๆ....

   เด็กหนุ่มชื่อแอม หรือ ที่ต่อมาคือไรวินท์ เลขวรนันท์ ประธาน บริษัท บูรพาเทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)...เล่าให้ “มุมมองนักบริหาร” ฟังว่า...เขาเป็นคนที่คิดเรื่องค้าขายมาตั้งแต่อายุ 10-11 ขวบ ตอนนั้นเรียนป.5 ก็รับซื้อข้าวมันไก่ในตลาดไปขายที่โรงเรียน วันละ 10 ห่อ ได้กำไรวันละ 20 บาท/วัน ซึ่งสมัยนั้นก็ถือว่าพอได้อยู่...ค้าขาย คิดเรื่องหาเงินมาตลอด พอจบปวช.มาก็ตัดสินใจไม่เรียนแล้ว ทำงานดีกว่า เริ่มทำงานที่ร้านคุณพ่อแต่ว่าทำอยู่พักหนึ่งก็บอกตัวเองไม่ไหวแน่ รวยไม่ทันใจ ก็เริ่มมองหางาน หาธุรกิจอะไรสักอย่าง

   ทั้งที่ตอนนี้อายุแค่ 18 ย่าง 19 ปี เงินทุนก็ไม่มี แต่อยากรวยก็ต้องลุย...คุณไรวินท์ หรือ แอม ในตอนนั้นเล่าว่า วันหนึ่งกำลังนั่งพันไดนาโมอยู่ ก็ได้ยินลูกค้าบ่นกันว่า จะขอเอาไฟเข้าโรงงาน เข้าบ่อกุ้งนี่มันยากเย็นจริงๆ เพราะงานพวกนี้มีแต่การไฟฟ้าภูมิภาคเท่านั้นที่ทำ แล้วคนก็ขอกันเยอะ กว่าจะได้รอนานมาก...เสี้ยววินาทีนั้นเองความคิดก็แว้บขึ้นมาในหัวทันที...เราไปรับงานนี้มาทำดีไหม...ว่า แล้วก็ลุยเลย...เดินขึ้นไปพบ ผู้จัดการการไฟฟ้าภูมิภาค จังหวัดสุราษฎร์ฯ แล้วก็ถามว่าบริการงานติดตั้งเสาไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลง เดินไฟเข้าพื้นที่ ของประชาชนเนี่ย ภาคเอกชนทำได้หรือเปล่า ซึ่งทางการไฟฟ้าฯบอกว่าทำได้...ก็เลยเริ่มหางานทันที จนกระทั่งได้มา 1 งาน เป็นงานเดินไฟเขาบ่อกุ้ง มูลค่า 8 แสนบาท หลังจากได้ลูกค้าแล้ว ก็เดินไปหา การไฟฟ้าภูมิภาค สุราษฎร์ฯอีกทีบอกว่าผมได้งานมาแล้ว ขออนุญาตดำเนินการ...

  “ตอนนั้นตั้งแต่ผู้จัดการการไฟฟ้าจนถึงพนักงานธุรการ มองผมเป็นตาเดียว แล้วก็ถามเหมือนกัน จะทำได้จริงๆ เหรอ เด็กหนุ่มที่เพิ่งใช้คำว่านานได้แค่ 3 ปี จะทำธุรกิจมูลค่าเกือบล้านบาท ซึ่งสมัยนั้นถือว่าเยอะมาก จะทำได้ไง แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่ผมมี การไฟฟ้าฯก็ยอม แต่ว่าต้องมีเอกสารสัญญาว่าจ้างมาขอใบอนุญาต”

   ถึงตรงนี้ก็เจอปัญหาแรกเลย เพราะตอนนี้ตัวเขาอายุแค่ 18 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะเลย จึงทำนิติกรรมอะไรไม่ได้ ก็เลยต้องหาตัวช่วยจึงเดินไปหาพ่อ ให้พ่อช่วยลงนามในสัญญาให้ที แต่ว่าคำตอบคืออะไรรู้ไหม?...พ่อไม่ยอมเซ็นให้ เพราะไม่เชื่อว่าเราจะทำได้ เรื่องมันใหญ่ไปสำหรับเด็กอายุ 18-19 ปี...อ้อนวอนอยู่ 2-3 เดือนพ่อก็ไม่ยอมเซ็นอีก...แต่ว่าก็ไม่ท้อแท้อดทนรอต่อไป และในระหว่างรอเรื่องสัญญาก็เดินหน้าต่อ....

    คุณไรวินท์บอกว่า...ก็อย่างที่บอกว่าตอนนั้นเขามีแค่ความกล้า กับความบ้า เท่านั้นจริงๆ เงินทุนไม่มี...จะเดินไฟฟ้าเข้าบ่อกุ้ง ก็ต้องมีสายไฟ แต่ไม่มีเงิน...ทำไง? ก็เลยบุกมาดักรอพบเจ้าของห้าง ต.แสงชัย ที่กรุงเทพฯ เพื่อจะขอซื้อสายไฟ พอเจอตัวก็เข้าไปหา ไปบอกว่าที่มาที่ไปเป็นไง...นายห้างต.แสงชัยได้ฟังเรื่องของเขา แล้วก็บอกว่า “บ้าบิ่นดี กล้าใช้ได้”สุดท้ายก็ให้เครดิตมา 8 หมื่นบาท...และวันหนึ่ง เจ้าของห้าง ต.แสงชัย เดินทางมาสุราษฎร์ แล้วก็มาที่ร้านไดนาโมของพ่อ...บอกว่ามีเด็กหนุ่มคนหนึ่งไปพบแล้วก็เล่าให้พ่อฟังว่าเรื่องเป็นไงมาไง...ก่อนจะกลับ นายห้าง ต.แสงชัยบอกกับพ่อว่า...เด็กหนุ่มควรสนับสนุน....วันนั้นพ่อยอมเซ็นชื่อในสัญญาให้เลย...

    แล้วก็เริ่มงานทันที...คนงานก็มีแค่ตัวเขาคนเดียว...ขับรถแทรกเตอร์ลากเสาไฟฟ้าเข้าบ่อกุ้งด้วยตัวเอง แต่ด้วยที่ไม่รู้ว่ามันไม่ง่าย

  ปักเสาตรงบ้างไม่ตรงบ้าง เสาหักระหว่างเคลื่อนย้ายบ้าง ก็เลยเขาไปหาคนมาช่วย สุดท้ายก็ได้เจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าภูมิภาคที่เกษียณแล้วมาเป็นที่ปรึกษา ได้แรงงานจากเจ้าหน้าที่ การไฟฟ้าฯ ที่พอแบ่งเวลามารับจ๊อบทำให้....

    งานแรกผ่านไป...จากนั้นก็รับงานติดตั้งไฟฟ้าเรื่อยมา ทั้งปั๊มน้ำมัน ร้านค้า โรงงานเล็กๆ แล้วก็หมู่บ้านจัดสรร ซึ่งตอนนั้นกำลังบูมมาก ในช่วงปี’38-39 ก่อนฟองสบู่แตก....ตอนนั้นรับงานหมู่บ้านจัดสรรอยู่ถึง 40 โครงการ...ที่รับงานเยอะเพราะเราไม่มีทุนก็ต้องหมุนเงินเอาเงินโครงการโน้นมาปิดโครงการนี้...ทำอยู่พักหนึ่ง 4-5 ปี จนกระทั่งเมื่ออายุประมาณ 21 ก็ได้งานใหญ่คือ งานติดตั้งระบบส่งกำลังไฟฟ้าให้กับ “วนชัย กรุ๊ป” ซึ่งเป็นธุรกิจซึ่งกำลังขยายการผลิตภาคใต้

    ตอนนั้น 'วนชัย กรุ๊ป'กำลังขยายโรงงานไปสุราษฎร์ ก็เลยให้คำปรึกษาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรี่องการขอติดตั้งไฟฟ้า เขาก็เลยให้

   งานมา เป็นงานชั้นใหญ่ที่สุดในชีวิต แต่ด้วยว่าคู่ค้ารายนี้ เป็นบริษัทมหาชน เราเองก็ต้องทำในรูปแบบบริษัท ก็เลยเป็นที่มาของการจดทะเบียนตั้งบริษัท บูรพาฯ ในปี 2540...

    แม้ว่าจะทำงานมาได้สักพักหนึ่งแล้วแต่งานใหญ่ขนาดนี้ก็ไม่มีเงินทุนอยู่ดี...ก็ต้องสูตรเดิม ไปหาเจ้าของ “ทักษิณคอนกรีต”ว่าเราจะซื้อเสาไฟขนาดใหญ่ซึ่งปกติก็ไม่มีใครซื้อกันนอกจากเป็นบิ๊กโปรเจกท์จริงๆ...เจ้าของทักษิณคอนกรีตก็งงว่าไอ้หนุ่มคนนี้ไปได้งานมาได้ไง...ก็ได้คุยกัน..และก็เหมือนเดิมขอเครดิตอีกนั่นแหละเพราะไม่มีเงินพอ แต่ก็ไม่ได้ขอเฉยๆ เราขายเสาเข็มให้เขาด้วย โดยไม่เอาอะไรเลยขายให้เฉยๆ...สุดท้ายทักษิณ คอนกรีตก็ได้ขายเสาเข็มให้ วนชัย กรุ๊ป...ส่วนเราก็ได้เครดิตเสาไฟ แถมเป็นเครดิตแบบไม่มีลิมิตด้วย...

    คุณไรวินท์ บอกว่าด้วยความที่ไม่ชอบเรียน แต่ชอบทำงาน ดังนั้นระหว่างทำงานก็จะต้องเจอปัญหาที่“ไม่เคยรู้”มาก่อนอยู่เป็นประจำ...อย่างตอนที่จะตั้งบริษัทก็ไม่รู้เขาต้องทำยังไง...ก็ไปเรียนพาณิชย์ ให้รู้โครงสร้างของบริษัท เพื่อให้รู้จักคำว่าบัญชี ให้รู้จักคำว่างบดุล...แล้วก็ทำให้รู้ว่าไอ้เจ้างบดุลมันสำคัญมากเวลาเดินไปหาแบงก์...

    ในช่วงปี 2540 ก่อนฟองสบู่จะแตก ก่อนจะลอยตัวค่าเงินบาท...ตอนนั้นมีงานอสังหาฯอยู่ในมือ 40 โครงการ...ตอนแรกดูข่าวเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจก็ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ไม่เข้าใจ ค่าเงินจาก 25 บาท เป็น 52 บาท มันเป็นไง...ก็ไปขอความรู้จากผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านก็บอกสอนและบอกว่า...ให้ไปรีบปิดงานอสังหาฯให้หมด ปิดไม่หมดก็ต้องเลิก...ซึ่งก็ทำตามคำแนะนำนั้น...จนในที่สุดเราก็รอดจากวิกฤติต้มยำกุ้ง เพราะปิดงานได้หมดก่อน..

     แต่ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง เรายังมองเห็นโอกาส นั่นคือธุรกิจส่งออก เพราะส่งออกขายสินค้าเป็นดอลลาร์ แล้วเอามาแลกเป็นบาท...ส่งออกก็รวยอื้อ ขยายงานกันหน้าดูเลยตอนนั้นเราก็ไปลุยกับพวกส่งออก ตอนนั้นเราก็โตตามไปด้วยซึ่งก็เป็นอยู่อย่างนั้นประมาณ 3-4 ปี ก็เริ่มซาลง ตามวัฏจักรของธุรกิจ ก็เริ่มมองหางานใหม่อีก

     จนในช่วงปี 2544-2545 ธุรกิจสื่อสาร กำลังมา ทุกค่ายต้องติดตั้งโครงข่ายสัญญาณ เราก็เข้าไปตรงนั้น ตอนนั้นเราถนัดงานไฟฟ้า ก็เข้าไปรับงานต่อจากพวกที่เขาตั้งเสาโครงข่าว เพราะพวกนี้ก็ต้องใช้ไฟฟ้า ต้องติดตั้งหม้อแปลง...แต่ไม่รู้เป็นไงมาไงนอกจากงานติดตั้งหม้อแปลงเรากลับได้งานติดตั้งเสาโครงข่ายเลย ตอนนั้นทำให้กับ ค่ายเอไอเอส แต่ก่อนจะรับงานนี้ก็ต้องถูกสัมภาษณ์จากผู้บริหารเอไอเอสหลายคน ทั้ง คุณวิเชียร เมฆตระการ คุณประสงค์ บุญยะชัย... ประกอบกับใบรับรองผลงานจาก “วนชัย กรุ๊ป” อยู่หนึ่งใบ ซึ่งก็ช่วยเบิกทางให้เราระดับหนึ่งเหมือนกัน งานแรกได้มา 5 เสา ทำอยู่ 6 เดือน ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ผู้ใหญ่ที่เอไอเอส ก็ให้โอกาสแก้ตัว ทำใหม่อีก 5 เสา คราวนี้จบภายใน 60 วัน...หลังจากนั้นก็ได้งานติดตั้งหม้อแปลงเสาโครงข่ายของเอไอเอสทั่วประเทศเลย...

   พอมาถึงปี 2547 เอไอเอส ก็ชะลองานติดตั้งโครงข่าย ถึงตรงนี้ก็ต้องมองหางานใหม่อีกแล้ว ในระหว่างที่ทำงานกับพวกสื่อสารก็บังเอิญไปได้ยินคำว่า “เอาท์ซอร์ส” ที่แรกก็ไม่รู้มันเป็นไงไปศึกษาหาความรู้จนเข้าใจว่า “เอาท์ซอร์ส” ก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ...ก็เริ่มดูเลยว่าในไลน์ที่เราถนัดคือ ไลน์ของไฟฟ้า เราเอาท์ซอร์สอะไรได้บ้าง...ในที่สุดก็เจอแล้วก็เริ่มจากการ “แรงงาน”คือส่งคนให้กับในกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับการไฟฟ้าฯต่อมาก็ “รถ” ซึ่งตอนนี้เราส่งให้ทั้งรถทั้งคน...ควบคู่กันไปเลย...อีกอันหนึ่งคือของ“บิลลิ่ง”ทั้งของไฟฟ้าภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปาภูมิภาค กาประปานครหลวง

  โดยสรุปตอนนี้ธุรกิจเราก็มี 2 บียูใหญ่คือ 1.ติดตั้งให้คำปรึกษางานด้านวิศวกรรม และ 2.งานในกลุ่มธุรกิจเอาท์ซอร์ส โดยมีรายได้รวมจาก 2 บียูนี้ ประมาณ 1 พันล้านบาท ซึ่งในอนาคตเรากำลังวางแผนที่จะขยายงาน ด้วยการเพิ่มแหล่งเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อรองรับงานโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะเกิดขึ้นเร็วจากโครงการ 2.4 ล้านล้าน งานจากการขยายตัวของธุรกิจสื่อสารทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ 4 จี โครงข่ายของทีวีดิจิตอล ที่จะต้องเกิดขึ้นอีกมากมายมหาศาล

   อนันตเดช พงษ์พันธุ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!