mod_mslideshows

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร          ...
More
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New Product จากเวที GRB Innovation Awards 2022 ติดต่อกัน 3 ปี

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New...

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a...
More
เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน ครองมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...
More
AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022      ...
More
SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท ‘ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย’

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...
More
ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง...
More
COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน           บริษัท...
More
กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit...
More
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK GROUP) เยี่ยมชมระบบเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ 24 ชั่วโมง

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...
More
มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ มอบเงินบริจาคแก่ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...
More
FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’...
More
เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ สร้างโอกาสทางความรู้ที่เท่าเทียมในองค์กร

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...
More
อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’          ...
More
รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่      ...
More
SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE           คุณอำนวย จิรมหาโภคา...
More
บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story        ...
More
‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ ชวนลุ้นรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...
More
BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565        ...
More
ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่...
More
เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน    ...
More

12631 EIC Green Hydrogen

กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen) กุญแจสำคัญของหนทางสู่ Net Zero

          ไฮโดรเจนที่ผลิตโดยพลังงานสะอาด หรือ กรีนไฮโดรเจน เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมาย net zero ได้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก (hard-to-abate sectors) ปัจจุบันไฮโดรเจนที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเหล่านี้ หากอุตสาหกรรมสามารถนำไฮโดรเจนที่ผลิตโดยไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ก็จะส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างมาก

          แรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนคือ การลงทุนของประเทศต่างๆ ปัจจุบันมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและใช้ไฮโดรเจนมากกว่า 200 โครงการที่ประกาศแล้วทั่วโลก โดยยุโรปเป็นผู้นำในด้านจำนวนโครงการไฮโดรเจนที่ประกาศเปิดตัวและครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าของไฮโดรเจนรวมทั้งกลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไฮโดรเจนแบบบูรณาการโดยเน้นการใช้ในสหภาพยุโรปและประเทศใกล้เคียง

          ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้กรีนไฮโดรเจนมีแนวโน้มแข่งขันได้ในตลาดพลังงานคือต้นทุนการผลิตที่ลดลงโดยแนวโน้มราคาพลังงานสะอาดและราคาเทคโนโลยีอิเล็กโทรไลเซอร์ บวกกับ 2 ปัจจัยด้าน capacity factor และต้นทุนทางการเงิน (cost of capital) จะช่วยให้ราคากรีนไฮโดรเจนลดลงจากราว 2.5–5.5 ยูโรต่อกิโลกรัม เป็นราว 0.67–0.84 ยูโรต่อกิโลกรัมภายในปี 2050

          อย่างไรก็ตาม กรีนไฮโดรเจน ยังคงเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญด้านต้นทุนการผลิตที่ยังสูง การพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการกักเก็บและการขนส่ง และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะเข้ามารองรับการเติบโตของการใช้ไฮโดรเจน ซึ่งรวมถึงความต้องการใช้พลังงานสะอาดที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ผลิตกรีนไฮโดรเจนด้วย

          ประเทศไทยควรให้ความสำคัญในแง่ของการศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมไฮโดรเจน ถึงแม้ว่าปัจจุบันการเร่งลงทุนในอุตสาหกรรมไฮโดรเจนยังไม่เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของประเทศ แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผน Energy Transition ให้เป็นไปอย่างบูรณาการและเพื่อถอดบทเรียนของการพัฒนาคลีนเทคในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย ด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นการสร้างโอกาศทางธุรกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

 

 

          ไฮโดรเจน (H2) เป็นโมเลกุลที่มีน้ำหนักเบาแต่มีพลังงานสูง (energy dense) การผลิตไฮโดรเจนสามารถทำได้จาก 2 กระบวนการหลัก 1) จากการแยกน้ำ (H2O) ด้วยกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (electrolysis) และ 2) จากการแยกมีเทน (CH4) ด้วยกระบวนการ steam reforming 

          การผลิตไฮโดรเจนจากการแยกน้ำโดยใช้พลังงานสะอาด หรือกรีนไฮโดรเจน (green hydrogen) เป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการผลิตแหล่งพลังงานที่ไม่ได้มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ไฮโดรเจนเป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก (hard-to-abate sectors) เช่น อุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก และการผลิตปุ๋ย เป็นต้น หากอุตสาหกรรมเหล่านี้สามารถนำไฮโดรเจนที่ผลิตโดยไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ ก็จะส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ลดลงอย่างมาก ดังนั้น ไฮโดรเจนจึงเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมาย net zero ได้

 

          3 แรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ไฮโดรเจนได้รับความสนใจทั่วโลกในปัจจุบัน ได้แก่ 

          เป้าหมาย net zero และแผนพัฒนาอุตสาหกรรมไฮโดรเจนของประเทศต่างๆ

          การนำไฮโดรเจนไปปรับใช้ได้ในหลายภาคส่วน เช่น ใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม เป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง และใช้กักเก็บพลังงาน เป็นต้น จึงเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก (hard-to-abate sectors)

          ต้นทุนด้านพลังงานสะอาดที่ลดลงอย่างรวดเร็วซึ่งจะเอื้อให้ต้นทุนไฮโดรเจนลดลงเช่นกัน

 

EXIM One 720x90 C J

 

          การประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์ (net zero) ของหลายประเทศและบริษัทชั้นนำทั่วโลก เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้ไฮโดรเจนที่ผลิตโดยกระบวนการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำเป็นคลีนเทคที่ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เนื่องจากไฮโดรเจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายภาคส่วน โดยปัจจุบันทุกภาคส่วนต้องเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย net zero ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและใช้ไฮโดรเจนยังเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ที่หลายประเทศกำลังแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งผู้นำทางเทคโนโลยี ดังนั้น จึงเห็นว่ารัฐบาลในหลายๆ ประเทศเร่งให้งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีรวมทั้งนโยบายสนับสนุนด้านการสร้างตลาดเพื่อสนับสนุนอุปสงค์ การแข่งขันด้านเทคโนโลยีของประเทศเหล่านี้จะช่วยให้ราคาต้นทุนเทคโนโลยีด้านไฮโดรเจนมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปที่ตั้งเป้าหมายราคาของอิเล็กโทรไลเซอร์ (electrolyzer) ให้ลดลงจากราว 900 ยูโรต่อกิโลวัตต์ ในปี 2020 เป็น 450 ยูโรต่อกิโลวัตต์ภายไนปี 2030 ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยสำคัญให้ราคากรีนไฮโดรเจนลดลงด้วย โดยราคากรีนไฮโดรเจนในยุโรป ปัจจุบัน จะอยู่ที่ราว 5 ยูโรต่อกิโลกรัม แผนยุทธศาสตร์มีเป้าหมายที่จะลดราคาลงเป็น 1.1–2.4 ยูโรต่อกิโลกรัมภายในปี 2030 หรือลดลงเกินกว่าครึ่งนึงของราคาปัจจุบัน

          แผนไฮโดรเจนของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันตามบริบทของอุปสงค์ อุปทาน โครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงทางพลังงานปัจจุบัน ปัจจุบันมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและใช้ไฮโดรเจนมากกว่า 200 โครงการที่ประกาศแล้วทั่วโลก โดยยุโรปเป็นผู้นำในด้านจำนวนโครงการไฮโดรเจนที่ประกาศเปิดตัวและครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าของไฮโดรเจนรวมทั้งกลางน้ำและปลายน้ำเพื่อที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจไฮโดรเจนแบบบูรณาการโดยเน้นการใช้ในสหภาพยุโรปและประเทศใกล้เคียง ส่วนประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหลักอย่างซาอุดีอาระเบีย ที่ตั้งเป้าหมายจะเป็นผู้ผลิตไฮโดรเจน เป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งจะผลิตไฮโดรเจนให้ได้ 4 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2030 ในขณะที่โครงการของญี่ปุ่นและเกาหลีเน้นด้านอุปสงค์และการใช้งานมากกว่าและจะพึ่งพาอุปทานของไฮโดรเจนจากตลาดโลก เนื่องจากทั้งสองประเทศไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะสามารถผลิตไฮโดรเจนเพื่อสนองความต้องการใช้ในประเทศได้ โดยญี่ปุ่นมีแผนนำเข้าไฮโดรเจนจากออสเตรเลียที่ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นผู้ส่งออกไฮโดรเจนรายใหญ่ของโลกเช่นเดียวกับชิลี เนื่องจากสองประเทศนี้มีทรัพยากรทางธรรมชาติและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อให้เป็นผู้นำด้านการส่งออกไฮโดรเจนได้ การพัฒนาทั้งในด้านเทคโนโลยีและในด้านตลาดซื้อขายนี้จะทำให้ไฮโดรเจนมีแนวโน้มที่จะเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายทั่วโลกคล้ายกับเชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบัน

 

รูปที่ 1 : เส้นทางการขนส่ง Hydrogen ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 

 

12631 EIC 1ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ McKenzie Energy Insight และ Hydrogen council 

 

GC 720x100

 

          จากแผนโครงการเทคโนโลยีไฮโดรเจนที่เพิ่มขึ้นและการสนับสนุนของรัฐบาลต่างๆ ส่งผลให้ IEA คาดการณ์ว่าการใช้ไฮโดรเจนจะเพิ่มขึ้นเจ็ดเท่าหรือ 520 ล้านตันภายในปี 2070

          ปัจจุบันการใช้ไฮโดรเจนมีบทบาทหลักในการเป็นวัตถุดิบในกระบวนการกลั่นน้ำมัน, กระบวนการผลิตแอมโมเนียซึ่งเป็นวัตถุดิบของการผลิตปุ๋ยและปิโตรเคมีบางชนิด และกระบวนการผลิตเหล็ก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก โดยไฮโดรเจนที่ใช้ในกระบวนการผลิตเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจนที่ผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า steam reforming ซึ่งนำเอามีเทน (CH4) จากก๊าซธรรมชาติ และไอน้ำมาทำปฏิกิริยากันที่อุณหภูมิสูงเพื่อให้ได้โมเลกุลของไฮโดรเจน (H2) และมี by-product คือ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไฮโดรเจนที่ผลิตจากวิธีนี้เรียกว่าเกรย์ไฮโดรเจน (Grey Hydrogen) ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ต้นทุนต่ำที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนิยมใช้กันมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การผลิตเกรย์ไฮโดรเจนนั้นก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและจากกระบวนการผลิต ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจน โดยไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือ กักเก็บคาร์บอนที่เกิดจากกระบวนการผลิตไม่ให้ออกสู่ชั้นบรรยากาศ

 

รูปที่ 2 : ปัจจุบันไฮโดรเจนส่วนมากจะผลิตโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ผลิตโดยใช้พลังงานทดแทน ซึ่งส่วนมากจะถูกนำไปใช้อุตสาหกรรมการกลั่นและเป็นวัตถุดิบสำหรับปิโตรเคมี

 

12631 EIC 2

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ IEA และ IRENA 

 

TU720x100

 

          การผลิตไฮโดรเจนสามารถทำได้จากหลายกระบวนการและวัตถุดิบ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแตกต่างกันด้วย การผลิตไฮโดรเจนสามารถจำแนกออกได้เป็นประเภทต่างๆ ตามเชื้อเพลิงที่ใช้และการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการผลิต โดยจะจำแนกความแตกต่างด้วยชื่อที่เป็นสี ได้แก่

          • บราวน์ไฮโดรเจน (Brown hydrogen) ผลิตโดยใช้ถ่านหินผ่านกระบวนการ coal gasification โดยบราวน์ไฮโดรเจนส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศจีนเนื่องจากมีทรัพยากรถ่านหินปริมาณมาก ซึ่งการผลิตไฮโดรเจนด้วยวิธีนี้ปล่อยก๊าซคาร์บอนราว 16 กิโลกรัมต่อ 1 กิโลกรัมของไฮโดรเจนที่ผลิตได้

          • เกรย์ไฮโดรเจน เป็นไฮโดรเจนที่ได้จากกระบวนการ steam reforming โดยใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมัน โดยกระบวนการผลิตนี้ปล่อยก๊าซคาร์บอนราว 9 กิโลกรัมต่อ 1 กิโลกรัมของไฮโดรเจนที่ผลิตได้

          • เทอร์ควอยซ์ไฮโดรเจน (Turquoise hydrogen) ที่ผลิตโดยกระบวนการ methane pyrolysis โดยแยกมีเทนออกเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจน โดยคาร์บอนที่ผลิตออกมาสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมได้ อย่างไรก็ตาม methane pyrolysis ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาและยังไม่มีการใช้ในเชิงพาณิชย์

          • บลูไฮโดรเจน เป็นไฮโดรเจนที่ได้จากกระบวนการเดียวกับเกรย์ไฮโดรเจนแต่เพิ่มเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน หรือ Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการผลิตบลูไฮโดรเจนจะปล่อยก๊าซคาร์บอนราว 3-6 กิโลกรัมต่อ 1 กิโลกรัมของไฮโดรเจนที่ผลิตได้ การเติบโตของยอดการใช้งานบลูไฮโดรเจนยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากรอการพัฒนาของโรงงาน CCUS ให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นเพื่อที่จะทำให้ต้นทุนการดักจับและกักเก็บคาร์บอนลดลง

          อย่างไรก็ดี บลูไฮโดรเจน ยังมีข้อจำกัด เพราะบลูไฮโดรเจนยากที่จะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกระบวนการผลิตเป็นศูนย์ได้ เนื่องจากการดักจับคาร์บอนทำได้อย่างมากราว 90% และการผลิตก๊าซธรรมชาติจะมีการรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า fugitive emissions

 

sme 720x100

 

          บลูไฮโดรเจนมีต้นทุนการผลิตที่แพงกว่าเกรย์ไฮโดรเจนจากต้นทุนในการติดตั้ง CCUS อย่างไรก็ตาม ในอนาคตต้นทุนมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่อเทียบกับเกรย์ไฮโดรเจนหากมีการจำกัดการปล่อยคาร์บอนและกลไกตลาดซื้อขายคาร์บอน (emission trading scheme) หรือภาษีคาร์บอน นอกจากนี้ ต้นทุน CCUS ที่ลดลงก็จะช่วยให้บลูไฮโดรเจนสามารถแข่งขันกับเกรย์ไฮโดรเจนได้ในอนาคต

          • กรีนไฮโดรเจน เป็นกระบวนการผลิตไฮโดรเจนโดยอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ซึ่งคือการแยกน้ำ (H20) ด้วยกระแสไฟฟ้าซึ่งจะได้ไฮโดรเจน (H2) และออกซิเจน (O2) โดยไฟฟ้าที่ใช้ในอิเล็กโทรไลเซอร์จำเป็นต้องมาจากพลังงานสะอาด เช่น ลมและโซลาร์เท่านั้นจึงจะนับเป็นกรีนไฮโดรเจนที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตไฮโดรเจน อย่างไรก็ตาม หากพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ผลิตไฮโดรเจน เป็นพลังงานที่ได้จากนิวเคลียร์ จะเรียกไฮโดรเจนที่ได้ว่า พิงค์ (Pink) หรือ โกล์ด (Gold) ไฮโดรเจน

          จะเห็นได้ว่า เมื่อพิจารณาจากกระบวนการผลิตแล้ว การกรีนไฮโดรเจน และบลูไฮโดรเจน จะเป็นวิธีที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าบราวน์และเกรย์ไฮโดรเจน แต่ในขณะเดียวกัน ทั้งกรีนและบลูไฮโดรเจนต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในกระบวนการผลิตและยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและขยายกำลังการผลิต

 

รูปที่ 3 : ไฮโดรเจนถูกแบ่งได้เป็นเฉดต่างๆ ตามแหล่งผลิตที่ใช้ในการผลิตไฮโดรเจน

 

12631 EIC 3

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg 

 

 

          ต้นทุนหลักของการผลิตกรีนไฮโดรเจนขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย ได้แก่

          1. ราคาพลังงานสะอาดโดยเทรนด์ราคาพลังงานสะอาดโดยเฉพาะลมและโซลาร์ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตกรีนไฮโดรเจนลดลงโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพลมและแสงแดดที่สูง

          2. ราคาเทคโนโลยีอิเล็กโทรลิซิส - ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดย learning rate ของเทคโนโลยีอยู่ที่ราว 20% กล่าวคือราคาของเทคโนโลยีจะลดลงราว 20% เมื่อมีกำลังการผลิตติดตั้งเพิ่มขึ้น 2 เท่า (doubling in capacity)

          3. capacity factor ของโรงงานอิเล็กโทรลิซิส - ต้นทุนการผลิตกรีนไฮโดรเจนจากพลังงานสะอาดต้องการไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเพียงพอตลอดวันเพื่อให้ capacity factor ของอิเล็กโทรไลเซอร์อยู่ในระดับสูงอีกด้วย
ทั้งนี้เพื่อให้ราคาไฮโดรเจนต่อหน่วยลดลงตลอดอายุการใช้งานของอิเล็กโทรไลเซอร์

          4. ต้นทุนทางการเงิน (cost of capital) – ต้นทุนทางการเงินของโครงการอิเล็กโทรลิซิสยังเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันด้านราคาของกรีนไฮโดรเจนทั้งกับไฮโดรเจนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีอื่นและกรีนไฮโดรเจนด้วยกันเอง ในกรณีที่มีตลาดซื้อขายกรีนไฮโดรเจน โดย Bloomberg NEF ประมาณการว่าแนวโน้มราคาพลังงานสะอาดและราคาเทคโนโลยีอิเล็กโทรไลเซอร์ บวกกับ 2 ปัจจัยด้าน capacity factor และต้นทุนทางการเงิน (cost of capital) จะช่วยให้ราคากรีนไฮโดรเจนลดลงจากราว 2.5–5.5 ยูโรต่อกิโลกรัม เป็นราว 0.67–0.84 ยูโรต่อกิโลกรัมภายในปี 2050

 

รูปที่ 4 : ต้นทุนของ Green Hydrogen มีแนวโน้มลดลงเนื่องจาก ต้นทุนค่าไฟ และ electolyzer 

 

12631 EIC 4

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ IEA และ IRENA 

 

 

          ความท้าทายหลัก 3 ประการของการเติบโตด้านการใช้ไฮโดรเจน

          ต้นทุนการผลิตกรีนไฮโดรเจนที่ยังสูงกว่าเกรย์ไฮโดรเจน

          การพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการกักเก็บและการขนส่ง

          การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะเข้ามารองรับการเติบโตของการใช้ไฮโดรเจนซึ่งรวมถึงความต้องการใช้พลังงานสะอาดที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ผลิตกรีนไฮโดรเจนด้วย

 

          แม้ว่าการใช้ไฮโดรเจนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตแต่เทคโนโลยีไฮโดรเจนยังมีความท้าทายด้านต้นทุน, ด้านข้อจำกัดทางเทคโนโลยี และด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนของบลูไฮโดรเจน และกรีนไฮโดรเจน ขึ้นอยู่กับต้นทุนของราคาก๊าซธรรมชาติและต้นทุนไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามลำดับ ในปัจจุบันต้นทุนของไฮโดรเจนที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติจะอยู่ในช่วงระหว่าง 0.7 ถึง 1.6 กิโลกรัมไฮโดรเจน (kg H2) และเมื่อเพิ่มการดักจับ CO2 เพิ่ม ต้นทุนจะเพิ่มเป็นประมาณ 1.2-2.0 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การผลิตไฮโดรเจนจากค่าไฟฟ้าหมุนเวียนโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 3.2-7.7 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นความท้าทายด้านต้นทุนอย่างมาก เนื่องจากกรีนไฮโดรเจนมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าเกรย์ไฮโดรเจนถึงสองเท่า อย่างไรก็ตาม ต้นทุนโครงการกรีนไฮโดรเจนมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างรวดเร็วจากต้นทุนอิเล็กโทรไลเซอร์และจากราคาพลังงานสะอาดที่ลดลงเช่นกัน

 

BANPU 720x100

 

          ลักษณะเฉพาะของธาตุไฮโดรเจนส่งผลให้การกักเก็บและการขนส่งเป็นความท้าทายสำคัญ เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่มีค่าพลังงานต่อปริมาตรต่ำ การกักเก็บจึงจำเป็นต้องใช้ความดันสูงและอุณหภูมิต่ำเพื่อให้เป็นไฮโดรเจนเหลว (liquid hydrogen) หรือต้องกักเก็บใน organic chemical เช่น แอมโมเนีย หรือในรูปโลหะไฮไดรด์ (metal hydrides) นอกจากนี้ ไฮโดรเจนยังเป็นธาตุที่เล็กที่สุดทำให้รั่วไหลได้ง่าย ทั้งยังทำให้โลหะเปราะบางลง (brittle) และมีความไวไฟสูง (highly flammable) อีกด้วย การขนส่งไฮโดรเจนทางท่อก๊าซธรรมชาติสามารถทำได้ในสัดส่วนที่ต่ำ หากต้องการขนส่งไฮโดรเจนเพียงอย่างเดียวต้องมีท่อส่งเฉพาะ ซึ่งต้องมีการลงทุนใหม่หรือลงทุนเพื่อปรับปรุงระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ความท้าทายเหล่านี้จะทำให้การผลิตและใช้ไฮโดรเจนในลักษณะกระจายตัว (distributed) แข่งขันได้ยากกับคลีนเทคอื่นโดยเฉพาะไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ดังนั้น ในระยะต่อไปการพัฒนาเทคโนโลยีด้านไฮโดรเจนจึงมีแนวโน้มที่จะกระจุกตัวอยู่ใกล้แหล่งผู้ใช้รายใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมโรงกลั่น, ปิโตรเคมีและเหล็ก และผู้ผลิตรายใหญ่ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้จากความได้เปรียบทางทรัพยากรและการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) 

          จากข้อจำกัดด้านการขนส่งทำให้กรีนแอมโมเนีย ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทต่อการขนส่งไฮโดรเจน หนึ่งในวิธีก้าวข้ามข้อจำกัดด้านการขนส่งและกักเก็บไฮโดรเจนคือการนำไฮโดรเจน (H2) มาทำปฏิกิริยากับไนโตรเจน (N2) เพื่อให้เป็นแอมโมเนีย (NH3) โดยไนโตเจนจะถูกผลิตจากการแยกไนโตรเจนออกจากอากาศซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย โดยการกักเก็บและขนส่งแอมโมเนียสามารถทำได้ง่ายกว่าก๊าซไนโดรเจนและยังมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการขนส่งอยู่แล้วเนื่องจากแอมโมเนียเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายทั่วโลก (global commodity) และเป็นสารตั้งต้นและวัตถุดิบของการผลิตปุ๋ยและปิโตรเคมี

 

QIC 720x100

 

          ปัจจุบันการผลิตแอมโมเนียในระดับอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นการใช้เกรย์ไฮโดรเจนในการผลิต ทั้งนี้หากอุตสาหกรรมแอมโมเนียสามารถเปลี่ยนไปใช้กรีนไฮโดรเจนในการผลิตได้ ก็จะช่วยให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนนี้ลดลง อย่างไรก็ตาม การใช้แอมโมเนียเป็นทางเลือกในการขนส่งไฮโดรเจน (ammonia as a hydrogen carrier) จะต้องมีขั้นตอนในการแยกไฮโดรเจนและไนโตรเจน ซึ่งจะใช้พลังงานในการแยกก๊าซทั้งสองออกจากกันส่งผลให้ประสิทธิภาพรวมของการใช้พลังงานจากไฮโดรเจนลดลง (เนื่องจากสูญเสียพลังงานในกระบวนการผลิต กระบวนการแปรเป็นแอมโมเนียและในกระบวนการแยกไฮโดรเจนออกจากไนโตรเจน) ดังนั้น การมีพลังงานสะอาดที่ราคาถูกจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการใช้กรีนแอมโมเนียและกรีนไฮโดรเจน

          การผลิตกรีนไฮโดรเจนจะทำให้ความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบไฟฟ้าและกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดจึงเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของอุตสาหกรรมไฮโดรเจน แผนยุทธศาสตร์ไฮโดรเจนของยุโรปที่ตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตของอิเล็กโทรไลเซอร์ที่ 500 GW ภายในปี 2050 (เทียบกับกำลังความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 546 GW) โดย Goldman Sachs ประมาณการว่าหากสหภาพยุโรปสามารถทำได้ตามเป้าหมายนี้ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเพื่อใช้ในการผลิตกรีนไฮโดรเจนเท่านั้น ซึ่งจะทำให้การผลิตกรีนไฮโดรเจนกลายเป็นกิจกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดในยุโรป ดังนั้น การมุ่งสู่เศรษฐกิจไฮโดรเจนจึงตามมาด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งในด้านการผลิตไฟฟ้าและด้านการขนส่งและกักเก็บไฮโดรเจน รวมไปถึงสถานีบริการเติมไฮโดรเจนในกรณีที่มีการใช้รถยนต์ไฮโดรเจนฟูเอลเซลล์ (HFEV) อีกด้วย

 

รูปที่ 5 : Ecosystem ของ ไฮโดรเจน 

 

12631 EIC 5

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ BCG Woodmac และ Global Energy Venture

 

 

          นัยต่อประเทศไทย

          จากปัจจัยและประเด็นความท้าทายที่กล่าวมาข้างต้น การใช้ไฮโดรเจนอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังมีข้อจำกัดหลายประการ เนื่องจากประเทศไทยมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐาน และการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานสำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ขนส่ง กักเก็บและใช้ไฮโดรเจน โดยโครงสร้างพื้นฐานราคาของพลังงานสะอาดในประเทศไทยยังคงสูง อีกทั้ง ปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในประเทศยังไม่เพียงพอให้ต้นทุนการผลิตกรีนไฮโดรเจนสามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นได้ นอกจากนี้ ไทยยังไม่มีกลไกราคาคาร์บอนที่จะเอื้อให้เกิดการลงทุนในคลีนเทคที่ยังต้องการภาษีคาร์บอนหรือตลาดซื้อขายคาร์บอนเพื่อให้แข่งขันได้

          การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ไฮโดรเจนของประเทศเป็นสิ่งที่ควรทำในระยะสั้น โดยบทบาทของไฮโดรเจนในการเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน (energy transition) ต้องมีการบูรณาการทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐาน การใช้พลังงาน และบริบทของอุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้คำถามเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญในการพิจารณาการใช้ไฮโดรเจนของประเทศในระยะแรกคือจะพัฒนาการใช้ไฮโดรเจนในรูปแบบของพลังงาน หรือ ในรูปแบบในการเป็นวัตถุดิบทางเคมี (chemical feedstock)

          • รูปแบบของพลังงาน : การใช้ไฮโดรเจนเพื่อผลิตไฟฟ้ามีข้อกำจัดหลายประการ ประการแรกคือด้านการขนส่งตามที่กล่าวไปข้างต้น ประการที่สอง ในกรณีที่มีการเผาไหม้ไฮโดรเจน (combustion) อาจก่อให้เกิดไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอีกด้วย ประการที่สาม ความสามารถจ่ายไฟฟ้าของพลังงานที่ป้อนเข้าไป (round-trip efficiency) ของไฮโดรเจนอยู่ที่ราว 50% เท่านั้น จึงไม่คุ้มค่าในการใช้หากสามารถใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้โดยตรง ดังนั้น การลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจนเพื่อมาแข่งขันกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดหรือใช้ผสมกับก๊าซธรรมชาติจึงไม่ใช่ทางเลือกที่คุ้มทุนสำหรับระบบไฟฟ้าไทยในปัจจุบัน

 

NHA720x100

 

          ในระยะต่อไปการใช้ไฮโดรเจนไม่เพียงแต่ต้องแข่งขันกับเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังต้องแข่งขันกับคลีนเทคประเภทอื่นๆ ในแต่ละกรณีการใช้งาน (use case) อีกด้วย ในระยะสั้นการลดก๊าซเรือนกระจกยังทำได้ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (energy efficiency), การเพิ่มการใช้พลังงานสะอาด (renewable energy), การปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานไฟฟ้า (electrification) เช่น การเปลี่ยนหม้อไอน้ำและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดกว่าการใช้ไฮโดรเจนเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่พิสูจน์แล้วและไม่จำเป็นต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด หากเป็นเทคโนโลยีใหม่ เช่น รถยนต์ไฮโดรเจนฟูลเซลล์ (FCEV) จะต้องแข่งขันทางด้านราคาทั้งกับรถยนต์สันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) รวมไปถึงเชื้อเพลิงชีวภาพที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถยนต์สันดาปภายในด้วย

          อย่างไรก็ตาม ไฮโดรเจนยังมีคุณสมบัติสำคัญในด้านพลังงานคือการใช้เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนสูง เนื่องจากการกักเก็บไฮโดรเจนสามารถทำได้อย่างไม่จำกัด (หากเทียบกับแบตเตอรี่ที่ไม่สามารถกักเก็บพลังงานได้เป็นระยะเวลานาน หรือ pump storage ที่ต้องการที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการสร้างเท่านั้น) และสามารถเพิ่มการผลิตไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วเมื่อต้องการใช้ (ramp up) การใช้ไฮโดรเจนเพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองเมื่อไฟฟ้าจากพลังงานไม่เพียงพอจะเสริมสร้างความยืดหยุ่นและความมั่นคงของระบบได้ ดังนั้น เมื่อสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดของประเทศเพิ่มขึ้นแล้ว การพิจารณาลงทุนในการผลิตและใช้ไฮโดรเจนเพื่อสำรองพลังงานในระบบจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกของการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบไฟฟ้าให้มุ่งสู่ net zero 

          • รูปแบบในการเป็นวัตถุดิบทางเคมี : ปัจจุบันไฮโดรเจนใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญของโรงกลั่นน้ำมันในการแยกสารที่ไม่ต้องการ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจนออกจากน้ำมัน (hydrotreating) เพื่อปรับคุณภาพน้ำมันให้ดีขึ้นและลดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์สันดาปภายใน นอกจากนี้ แอมโมเนียก็เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอีกด้วย ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก (hard-to-abate sectors) ที่ไม่สามารถเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปเป็นไฟฟ้าได้และการใช้ไฮโดรเจนเป็นวัตถุดิบก็หมายความว่าไม่มีอะไรสามารถมาทดแทนไฮโดรเจนได้ (แต่จะเป็นการทดแทนเกรย์ไฮโดรเจน เป็น บลู หรือ กรีนไฮโดรเจน)

 

รูปที่ 6 : ความเป็นไปได้ของแต่ละกลุ่มกิจกรรมทางธุรกิจที่จะนำไฮโดรเจนมาใช้สำหรับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

 

12631 EIC 6

ที่มา : จากข้อมูลของ Economist เดือนสิงหาคม 2021 

 

 

          การใช้ทดแทนเกรย์ไฮโดรเจนด้วย กรีน หรือ บลูไฮโดรเจนในอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฮโดรเจนอยู่แล้วเป็นก้าวแรกของการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ทั่วโลก ในประเทศไทยเองการพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่อาจมีความเสี่ยงต่อภาษีคาร์บอนในตลาดส่งออก อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้เทคโนโลยีที่มีการพิสูจน์แล้วและคุ้มทุนยังควรเป็นทางเลือกหลักของอุตสาหกรรมเนื่องจากราคาการผลิตกรีนไฮโดรเจนยังแข่งขันไม่ได้กับเกรย์ไฮโดรเจน นอกจากนี้ สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดยังไม่สูงพอที่จะสามารถสนับสนุนการผลิตกรีนไฮโดรเจนได้

          ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของอุตสาหกรรมไฮโดรเจน ปัจจุบันการผลิตพลังงานสะอาดในไทยยังอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำ การวางแผนการผลิตและใช้ไฮโดรเจนควรทำให้สอดคล้องกับความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าในประเทศ ควบคู่ไปกับการประเมินเม็ดเงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของแต่ละกรณีการใช้งานเทียบกับการใช้คลีนเทคอื่น โดยการใช้ไฮโดรเจนในลักษณะกระจายตัวอาจไม่คุ้มทุนเพื่อพิจารณาการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สุดท้ายการกำหนดกลยุทธ์ด้านไฮโดรเจนของประเทศควรคำนึงถึงบทบาทของไฮโดรเจนในการสนับสนุนอุตสาหกรรมหรือคลีนเทคใหม่ด้วย เช่น การใช้ไฮโดรเจนในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแบบ drop-in เนื่องจากกระบวนการ hydrotreating เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญของการเพิ่มคุณภาพของเชื้อเพลิงชีวภาพ

          ไฮโดรเจนเป็นกุญแจสำคัญในการมุ่งสู่ net zero อนาคตของการใช้ไฮโดรเจนในประเทศไทยและทั่วโลก ถึงแม้ว่าปัจจุบันการเร่งลงทุนในอุตสาหกรรมไฮโดรเจนยังไม่เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของประเทศ การศึกษาและติดตามการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮโดรเจนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผน Energy Transition ของประเทศได้อย่างบูรณาการและเพื่อถอดบทเรียนของการพัฒนาคลีนเทคในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย ด้านเทคโนโลยี และด้านการกำกับดูแลการแข่งขันเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านพลังงานของไทยเป็นการสร้างโอกาศทางธุรกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

 

บทวิเคราะห์โดย... https://www.scbeic.com/th/detail/product/7998 

ผู้เขียนบทวิเคราะห์ : ณัฐนันท์ อภินันท์วัฒนกูล ([email protected])
                              นักวิเคราะห์
                              ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
                              EIC Online: www.scbeic.com
                              Line: @scbeic

 

A12631

 Click Donate Support Web

เจนเนอราลี่

สภาพัฒน์ฯ สศช.

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Friday, 26 August 2022 22:01

Government-SE Matching Day สวส. จัดกิจกรรมรัฐรวมพลังจับคู่ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน ดึงวิสาหกิจเพื่อสังคมร่วมออกบูธกว่า 15 องค์กร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) จัดกิจกรรม Government...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Sunday, 22 May 2022 12:47

สภาพัฒ ฯ เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Monday, 21 February 2022 18:27

สศช.GDP ไตรมาส 4 ปี 64 ขยายตัว 1.9% ​รวมทั้งปี 64 ขยายตัว 1.6% ​คาดปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5% สภาพัฒน์ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( GDP) ไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565...

สำนักนายกฯ

Saturday, 22 October 2022 20:49

ฟิทช์ เรทติ้งส์: เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้ดีท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ฟิทช์ เรทติ้งส์ - กรุงเทพฯ - 18 ตุลาคม 2565: ในงานสัมมนาประจำปีของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ที่จัดขึ้นในวันนี้...

Sunday, 29 May 2022 09:12

' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย ' ในการจัดเสวนา 'Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม ’ ผมมีโอกาสร่วมเสวนาหัวข้อ ' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย '...

Sunday, 22 May 2022 09:55

นายกรัฐมนตรี ปลื้ม FANC มอบใบเซอทิฟิเขท หลังเห็นความมุ่งมั่นของรัฐบาล แก้ยาเสพติดแนวใหม่ รับปาก หนุนแก้อำนาจ ป.ป.ส.เป็นพนักงานสอบสวน-เพิ่มเครื่องมือ หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยา ชม ก.ยุติธรรม...

Sunday, 22 May 2022 09:47

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการติดตามผลการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยาเสพติด พร้อมรับใบเซอทิฟิเขท จากกลุ่มเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดและอาชญากรรมต่างประเทศ หรือ FANC...

Saturday, 07 May 2022 13:37

นายกฯ ติดตามงาน 'ขจัดความยากจน-พัฒนาคนทุกช่วงวัย' กำชับเร่งแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ 'พุ่งเป้า' ตรงจุด ทันเวลา และเป็นรูปธรรม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามการดำเนินงาน...

Monday, 28 March 2022 17:22

บุกค้น 2 ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจำหน่ายสลากออนไลน์รายใหญ่ มีสลากขายเกินราคา 6.7 ล้านฉบับ เร่งขยายผล ตัดสิทธิ ยกเลิกโควตาตัวแทนจำหน่าย-ผู้มีสิทธิซื้อจอง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ...

Thursday, 24 March 2022 21:31

DGA เร่งยกระดับนวัตกรรมภาครัฐโกอินเตอร์ อวดโฉมงานวิจัยสู่เวทีสากลผ่านงาน DGTi-Con 2022 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ DGTI-Con 2022...

สนับสนุนโดย Investing.com

สนับสนุนโดย Investing.com

โปรแกรมสรุปข้อมุลทางเทคนิคได้รับการควบคุมระบบการทำงานโดยInvesting.com ประเทศไทย

ตัวแปลงสกุลเงินนี้ควบคุมดูแลระบบทำงานโดย Investing.com ประเทศไทย

บริษัทจดทะเบียน

Wednesday, 09 August 2023 09:12

0 MTC มาตามนัด Q2/66 พอร์ตสินเชื่อแตะ 132,851 ลบ.เดินหน้าพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนเคียงคู่สังคมไทย เตรียมออกหุ้นกู้ชุดใหม่ อัตราดอกเบี้ย 4.25-4.80% คาดเสนอขายวันที่ 21-23 ส.ค.นี้ บมจ.เมืองไทย...

Tuesday, 08 August 2023 18:31

ALT โชว์ไตรมาส 2/66 กวาดรายได้ 396 ลบ . งานโซลาร์รูฟท็อป - บริการโครงข่ายรุ่งแนวโน้มโตต่อเนื่อง เอแอลที เทเลคอม โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2566 กวาดรายได้ 396 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 56.6%...

Tuesday, 08 August 2023 17:01

PSP พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ บิ๊กน้ำมันหล่อลื่น จ่อเข้าเทรด SET จับตา 'พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP)'เจ้าตลาดเบอร์หนึ่งธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นครบวงจรของไทยและอาเซียน เตรียมขายไอพีโอเข้าเทรด SET...

เศรษฐกิจ

Tuesday, 15 November 2022 14:33

GSB ต้อนรับประธานกรรมการธนาคารออมสินคนใหม่ นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ในนามคณะกรรมการธนาคารออมสิน และนายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร...

Tuesday, 15 November 2022 14:32

สนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร พร้อมด้วยนายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (...

Tuesday, 15 November 2022 00:07

‘ ณัฐพล ’ ปลัดอุตฯ บูมเศรษฐกิจภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผุดกระบี่โมเดล ยกระดับ 3 มิติอุตสาหกรรม สู่การกระจายรายได้เศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน ดร . ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม...

Monday, 14 November 2022 16:14

บอร์ด บสย. แต่งตั้ง ' เอด วิบูลย์เจริญ ' ประธาน บสย. คนใหม่ คณะกรรมการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีมติแต่งตั้ง ‘เอด วิบูลย์เจริญ’ดำรงตำแหน่ง ประธาน บสย. มีผลตั้งแต่วันที่ 14...

บทความ-วิเคราะห์

EDUCATION 

Tuesday, 15 November 2022 15:30

ทีซีซีเทค ปลื้ม Enjoy to the Max 2 บรรลุตามเป้า ! ต่อยอดการยกระดับดิจิทัลขั้นสูงในองค์กร สิ้นสุดพิธีมอบรางวัลไปด้วยรอยยิ้มและความสุข สำหรับ “TCCtech X M365 Star Icon Stage” ภายใต้โครงการ Enjoy to...

กทม. ท้องถิ่น

Sunday, 13 November 2022 18:00

รมว.เฮ้ง ส่ง ' โฆษก ' เยี่ยมกลุ่มบายศรีบึงกาฬ สร้างอาชีพเสริม รับนักท่องเที่ยวสายมู นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน...

ข่าวสังคม

Tuesday, 15 November 2022 17:30

ธพว . ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( ธพว .) หรือ SME D Bank โดย นายศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส...