ธปท. กำหนดรายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ หรือ D-SIBs � มาตรฐานสากลเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบเศรษฐกิจการเงินไทย
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Wednesday, 09 May 2018 14:40
- Hits: 569
ธปท. กำหนดรายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ หรือ D-SIBs � มาตรฐานสากลเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบเศรษฐกิจการเงินไทย
ประกาศธปท. เรื่อง �แนวทางการระบุและการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ� (Domestic Systemically Important Banks หรือ D-SIBs) และเรื่อง �รายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ� ซึ่งมีธนาคารพาณิชย์ไทย 5 แห่งถูกกำหนดให้เป็น D-SIBs นั้น เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ Basel III ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของวิกฤตในอนาคต หลังจากที่ประเทศต่างๆ ได้ผ่านพ้นวิกฤตซับไพร์ม
สำหรับประเทศไทย ประกาศของธปท. เกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่เป็น D-SIBs ดังกล่าว จึงเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคตตามมาตรฐานสากล Basel III อันเป็นการช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพให้ระบบการเงินของไทย ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยในปัจจุบัน มีความแข็งแกร่งตามมาตรฐานสากลอยู่แล้ว โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio: CAR) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1 Ratio) อยู่ที่ 17.9% และ 15.2% ตามลำดับ
สำหรับธนาคารพาณิชย์ 5 แห่งที่ธปท. กำหนดให้เป็น �ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ� นั้น พบว่า ทุกธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนฯ ที่สูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท. กำหนดทั้งในปัจจุบัน และที่ต้องดำรงในปี 2563 อยู่แล้ว
ประกาศธปท. เรื่อง �แนวทางการระบุและการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ� (Domestic Systemically Important Banks หรือ D-SIBs) และเรื่อง �รายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ� ซึ่งมีธนาคารพาณิชย์ไทย 5 แห่งถูกกำหนดให้เป็น D-SIBs นั้น เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ Basel III ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของวิกฤตในอนาคต หลังจากที่ประเทศต่างๆ ได้ผ่านพ้นวิกฤตซับไพร์ม
สำหรับประเทศไทย ประกาศของธปท. เกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่เป็น D-SIBs ดังกล่าว จึงเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคตตามมาตรฐานสากล Basel III อันเป็นการช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพให้ระบบการเงินของไทย ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยในปัจจุบัน มีความแข็งแกร่งตามมาตรฐานสากลอยู่แล้ว โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio: CAR) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1 Ratio) อยู่ที่ 17.9% และ 15.2% ตามลำดับ
สำหรับธนาคารพาณิชย์ 5 แห่งที่ธปท. กำหนดให้เป็น �ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ� นั้น พบว่า ทุกธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนฯ ที่สูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท. กำหนดทั้งในปัจจุบัน และที่ต้องดำรงในปี 2563 อยู่แล้ว
OO8533