หนี้ครัวเรือนไทยในปี 2561...อาจชะลอลงต่อเนื่องมาที่ 77-78% ต่อจีดีพี
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Friday, 01 June 2018 12:22
- Hits: 795
หนี้ครัวเรือนไทยในปี 2561...อาจชะลอลงต่อเนื่องมาที่ 77-78% ต่อจีดีพี
§ สินเชื่อรายย่อยหลายประเภท ที่มีสัญญาณขยายตัวได้ดีในช่วงไตรมาส 4/2560 อาจช่วยหนุนให้ยอดคงค้างของเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) ในไตรมาส 4/2560 ขยายตัวได้ประมาณ 4.0% YoY ขยับสูงขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ไตรมาส หลังจากที่เติบโต 3.7% YoY ในไตรมาสที่ 3/2560 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ณ สิ้นปี 2560 มีโอกาสทรงตัว หรือขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่กรอบประมาณ 78.3-78.5% จากระดับ 78.3% ต่อจีดีพีในไตรมาสที่ 3/2560
§ สำหรับปี 2561 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี มีโอกาสขยับลงมาอยู่ที่กรอบประมาณ 77-78% เนื่องจากอัตราการขยายตัวของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจประจำปี (Nominal GDP) น่าจะยังคงสูงกว่าการขยายตัวของหนี้ครัวเรือน อย่างไรก็ดี ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนที่ยังขยับขึ้นต่อเนื่อง ยังคงเป็นสัญญาณที่สะท้อนว่า ภาระหนี้สินยังเป็นประเด็นที่เปราะบางของครัวเรือนบางกลุ่ม โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีภาระผูกพันกับหนี้หลายก้อน รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่มีการก่อหนี้เร็วขึ้น ซึ่งทำให้การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ ต้องพึ่งพาความร่วมมือจากหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน
§ สินเชื่อรายย่อยหลายประเภท ที่มีสัญญาณขยายตัวได้ดีในช่วงไตรมาส 4/2560 อาจช่วยหนุนให้ยอดคงค้างของเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) ในไตรมาส 4/2560 ขยายตัวได้ประมาณ 4.0% YoY ขยับสูงขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ไตรมาส หลังจากที่เติบโต 3.7% YoY ในไตรมาสที่ 3/2560 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ณ สิ้นปี 2560 มีโอกาสทรงตัว หรือขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่กรอบประมาณ 78.3-78.5% จากระดับ 78.3% ต่อจีดีพีในไตรมาสที่ 3/2560
§ สำหรับปี 2561 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี มีโอกาสขยับลงมาอยู่ที่กรอบประมาณ 77-78% เนื่องจากอัตราการขยายตัวของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจประจำปี (Nominal GDP) น่าจะยังคงสูงกว่าการขยายตัวของหนี้ครัวเรือน อย่างไรก็ดี ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนที่ยังขยับขึ้นต่อเนื่อง ยังคงเป็นสัญญาณที่สะท้อนว่า ภาระหนี้สินยังเป็นประเด็นที่เปราะบางของครัวเรือนบางกลุ่ม โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีภาระผูกพันกับหนี้หลายก้อน รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่มีการก่อหนี้เร็วขึ้น ซึ่งทำให้การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ ต้องพึ่งพาความร่วมมือจากหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน