อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย : ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญหลังภาครัฐปล่อยให้ราคาน้ำตาลในประเทศเป็นไปตามกลไกตลาด
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Thursday, 31 May 2018 14:03
- Hits: 669
อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย : ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญหลังภาครัฐปล่อยให้ราคาน้ำตาลในประเทศเป็นไปตามกลไกตลาด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จากมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น จะทำให้ราคาอ้อยในประเทศเคลื่อนไหวตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกซึ่งเป็นไปตามกลไกอุปสงค์และอุปทานมากขึ้น และเนื่องจากดุลน้ำตาลส่วนเกินในตลาดโลก ประกอบกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลหลัก จึงคาดว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลกอาจมีแนวโน้มปรับลดลงมาที่ประมาณ 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ในปี 2561 ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ราคาอ้อยขั้นต้นในประเทศในปีการผลิต 2560/61 อาจปรับลดลงมาที่ 860-880 บาทต่อตันอ้อย อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาครัฐน่าจะมีมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบต่อชาวไร่อ้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับเม็ดเงินที่เข้ามาในระบบอ้อยและน้ำตาล รวมถึงเงื่อนไขพันธกรณีที่ไทยมีข้อตกลงกับต่างประเทศ ขณะที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องคงจะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับทิศทางราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่อาจผันผวนในระยะข้างหน้า โดยการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลตอบแทนจากการเพาะปลูก รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการนำอ้อยและน้ำตาลไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม น่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยมีความยั่งยืน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จากมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น จะทำให้ราคาอ้อยในประเทศเคลื่อนไหวตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกซึ่งเป็นไปตามกลไกอุปสงค์และอุปทานมากขึ้น และเนื่องจากดุลน้ำตาลส่วนเกินในตลาดโลก ประกอบกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลหลัก จึงคาดว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลกอาจมีแนวโน้มปรับลดลงมาที่ประมาณ 14-15 เซนต์ต่อปอนด์ในปี 2561 ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ราคาอ้อยขั้นต้นในประเทศในปีการผลิต 2560/61 อาจปรับลดลงมาที่ 860-880 บาทต่อตันอ้อย อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาครัฐน่าจะมีมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบต่อชาวไร่อ้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับเม็ดเงินที่เข้ามาในระบบอ้อยและน้ำตาล รวมถึงเงื่อนไขพันธกรณีที่ไทยมีข้อตกลงกับต่างประเทศ ขณะที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องคงจะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับทิศทางราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่อาจผันผวนในระยะข้างหน้า โดยการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลตอบแทนจากการเพาะปลูก รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการนำอ้อยและน้ำตาลไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม น่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยมีความยั่งยืน