ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) : ความเชื่อมั่นครัวเรือนเขตกรุงเทพฯ ปรับตัวดีขึ้นในเดือนมิ.ย. 2560 จากความกังวลที่ลดลงในเรื่องหนี้สินซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Monday, 07 May 2018 14:59
- Hits: 1376
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) : ความเชื่อมั่นครัวเรือนเขตกรุงเทพฯ ปรับตัวดีขึ้นในเดือนมิ.ย. 2560 จากความกังวลที่ลดลงในเรื่องหนี้สินซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว
แม้ในเดือนมิ.ย. 2560 สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรหลายรายการสำคัญจะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนเกษตรในพื้นที่ต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลดลงของราคาพืชผลเกษตรไม่ได้กระทบความเชื่อมั่นของครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ให้น้ำหนักกับประเด็นเรื่องค่าครองชีพและอำนาจการซื้อมากกว่า โดยดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.4 ในเดือนมิ.ย. จากความกังวลที่ลดลงต่อประเด็นเรื่องภาระหนี้สินและสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้า โดยสาเหตุที่ทำให้ครัวเรือนมีความกังวลในเรื่องหนี้สินลดลง ได้แก่
มาตราการจากทางภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาวะการครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะโครงการคลินิกแก้หนี้
ครัวเรือนบางส่วนได้รับค่าตอบแทนพิเศษประจำครึ่งปีมาใช้ชำระหนี้เงินต้น
เป็นผลเชิงเทคนิคจากการครบกำหนดการชำระคืนหนี้บัตรเครดิตงวดสุดท้ายหรือใกล้งวดสุดท้ายที่ครัวเรือนซื้อสินค้าในช่วงเดือนธ.ค. 2559 ที่มีมาตรการชอปช่วยชาติ
แม้ในเดือนมิ.ย. 2560 สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรหลายรายการสำคัญจะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนเกษตรในพื้นที่ต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลดลงของราคาพืชผลเกษตรไม่ได้กระทบความเชื่อมั่นของครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ให้น้ำหนักกับประเด็นเรื่องค่าครองชีพและอำนาจการซื้อมากกว่า โดยดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.4 ในเดือนมิ.ย. จากความกังวลที่ลดลงต่อประเด็นเรื่องภาระหนี้สินและสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้า โดยสาเหตุที่ทำให้ครัวเรือนมีความกังวลในเรื่องหนี้สินลดลง ได้แก่
มาตราการจากทางภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาวะการครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะโครงการคลินิกแก้หนี้
ครัวเรือนบางส่วนได้รับค่าตอบแทนพิเศษประจำครึ่งปีมาใช้ชำระหนี้เงินต้น
เป็นผลเชิงเทคนิคจากการครบกำหนดการชำระคืนหนี้บัตรเครดิตงวดสุดท้ายหรือใกล้งวดสุดท้ายที่ครัวเรือนซื้อสินค้าในช่วงเดือนธ.ค. 2559 ที่มีมาตรการชอปช่วยชาติ
ในขณะที่ดัชนีสะท้อนมุมมองคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.9 ในเดือนมิ.ย. 2560 ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากความเชื่อมั่นของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน บวกกับยังไม่มีปัจจัยใดๆ เข้ามากระทบต่อภาวะการครองชีพของครัวเรือนในระยะ 3 เดือนข้างหน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความเชื่อมั่นของครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอาจมาจากปัจจัยบวกเฉพาะชั่วคราว ซึ่งยังต้องติดตามประเด็นต่างๆ ที่จะเข้ามามีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของครัวเรือนในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องรายได้และภาวะการมีงานทำของครัวเรือนที่ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ยังมีอัตราการว่างงานสูงกว่าปีก่อน นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยภายใต้พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ในช่วง 6 เดือนที่เหลือของปีนี้