WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

99ศพ

เปิดมติปปช.ยกฟ้อง 'มาร์ค-เทือก'99 ศพ ญาติเหยื่อแถลงค้าน ลุ้นคำสั่งศาลอุทธรณ์

แฟ้มคดี วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9174 ข่าวสดรายวัน


    สร้างแรงสะเทือนในสังคมอย่างรุน แรงพอสมควร สำหรับคำวินิจฉัยในวันก่อนสิ้นปีเก่า 2558 ของคณะกรรมการป.ป.ช. (ชุดเดิม) ที่ขยันปิดคดีก่อนจะหมดวาระ

     เมื่อนัดประชุมลงมติ 7 ต่อ 0 ยกคำร้องถอดถอน และคำกล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. จากกรณีปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 

   ในการสั่งกำลังเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เมื่อปี 2553 จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก 

   ส่งผลให้กลุ่มนปช. และญาติผู้สูญเสียต้องออกมาเคลื่อนไหว

   พร้อมประณามมติดังกล่าวว่าเป็นมติอัปยศ!!

    ป.ป.ช.ยกฟ้องมาร์ค-เทือก

    วันที่ 29 ธ.ค. เมื่อนายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการป.ป.ช. ในฐานะโฆษก แถลงมติที่ประชุมกรณีคำร้องขอให้ถอดถอนและคำกล่าวหานายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และพล.อ.อนุพงษ์ 

ในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจ และข้าราชการ สลายการชุมนุมของนปช. ในวันที่ 10 เม.ย. - 19 พ.ค. 2553 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก 

จากการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะเกิดเหตุที่มีการสั่งใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธปืนติดตัว เข้าขอพื้นที่จากผู้ชุมนุม ในช่วงดังกล่าวเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น อยู่ในช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง 

ซึ่งปรากฏในข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลว่าการชุมนุมของนปช.ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ และมีบุคคลที่มีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม จึงจำเป็นที่ศอฉ. ต้องใช้มาตรการขอคืนพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสงบในบ้านเมือง 

โดยมีคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำอาวุธติดตัว หากจำเป็นสามารถนำมาใช้เพื่อระงับยับยั้งได้ตามสถานการณ์หรือเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือป้องกันตัวเอง เป็นไปตามหลักสากล ตามคำพิพากษาศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ 1433/2533 

ส่วนข้อกล่าวหานายอภิสิทธิ์และพวก กรณีละเว้นไม่สั่งระงับยับยั้ง จากการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า หลังเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่วันที่ 10 เม.ย. 2553 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ศอฉ.ทบทวนปรับรูปแบบ ไม่เข้าผลักดันผู้ชุมนุม แต่ใช้มาตรการตั้งด่านตรวจให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมไปเอง 

ในวันที่ 19 พ.ค. 2553 เจ้าหน้าที่เคลื่อนกำลังเข้าคุมพื้นที่สวนลุมพินี โดยไม่ได้ผลักดันผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์โดยตรง แต่กดดันกองกำลังติดอาวุธที่ยึดสวนลุมพินีอยู่ โดยปฏิบัติตามขั้นตอน จึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสาม ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดำเนินการเรื่องดังกล่าว โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่น โดยเจตนาเล็งเห็นผลป.ป.ช.จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไปเช่นกัน



ถือเป็นมติส่งท้าย วันถัดมาในวันที่ 30 ธ.ค. ราชกิจจานุเบกษาประกาศรายชื่อโปรดเกล้าฯ ป.ป.ช.ใหม่อีก 5 คน

ส่งผลให้นายวิชา มหาคุณ นายประสาท พงษ์ศิวาภัย และนายภักดี โพธิศิริ ต้องพ้นจากการรักษาการ 

ญาติเหยื่อ 99 ศพแถลงค้าน

หลังจากทราบมติป.ป.ช. กลุ่มญาติผู้เสียชีวิต นำโดยนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ พ่อน้องเฌอ สมาพันธ์ ศรีเทพ เยาวชนที่ถูกยิงเสียชีวิตที่ปากซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2553 และนางพะเยาว์ อัคฮาด แม่น้องเกด กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ได้นัดรวมตัวกันที่วัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ผ่านมา

เพื่อทำกิจกรรมรำลึกผู้เสียชีวิต จุดธูปบอกกล่าววิญญาณผู้เสียชีวิต แล้วเดินเท้าไปยังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว เพื่ออ่านแถลงคัดค้านมติของป.ป.ช.

โดยระบุว่าไม่เห็นด้วยต่อมติของป.ป.ช. เนื่องจาก 1.กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของป.ป.ช. ไม่ชัดเจน กระบวนการได้มาซึ่งข้อเท็จจริงไม่โปร่งใส ไม่เรียกพยานหลักฐานไปให้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน และไม่เรียกพยานจากทาง ผู้เสียหายไปให้ปากคำ 

2.กลุ่มญาติผู้เสียหายเห็นว่าการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากมาจากนโยบายรัฐบาล โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อ หรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผล ไม่ใช่ความรับผิดเฉพาะตัว ตั้งแต่การประกาศสถานการณ์ฉุกฉิน การอนุญาตให้ใช้กระสุนจริง การป้ายสีผู้ชุมนุมว่าเป็นพวกล้มเจ้า 

3.การที่ป.ป.ช.อ้างอยู่หลายครั้งว่าการสลายการชุมนุมเป็นไปตามหลักสากลนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เนื่องจากปฏิบัติการดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักสากลที่กล่าวอ้าง เป็นการใช้อำนาจและกำลังเกินกว่าเหตุ ขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ที่รัฐไทยเป็นภาคี 




4.ข้อกล่าวอ้างของป.ป.ช. ว่าการที่ ศอฉ.ปรับเปลี่ยนรูปแบบปฏิบัติการ ทำให้สามารถลดความสูญเสียได้เป็นจำนวนมากนั้นเป็นเท็จ เพราะเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2553 ศอฉ.ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการ ด้วยการมีคำสั่งจัดตั้งด่านแข็งแรงนำไปสู่ มีการวางพลซุ่มยิงบนพื้นที่สูง ทำให้มีผู้เสียชีวิตเฉพาะช่วงระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค. รวม 58 ราย 

5.ข้อวินิจฉัยของป.ป.ช. นอกจากจะเป็นความผิดพลาดร้ายแรงแล้ว ยังปราศจากบรรทัดฐานของความยุติธรรม หากเปรียบเทียบกับ คำวินิจฉัยของป.ป.ช.เองต่อกรณีการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 โดยมีมติชี้ว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีต นายกฯ กับพวกมีความผิด ทั้งที่กรณีการสลายการชุมนุม นปช. ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์กับพวก มีความรุนแรงหนักหน่วงอย่างต่อเนื่องต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

ลุ้นศาลอุทธรณ์ชี้คดีฆ่า

ทั้งนี้ คดีที่รอคำสั่งศาลอุทธรณ์ ก็คือคำร้องที่อัยการฝ่ายคดีพิเศษเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เป็นจำเลย คดีหมายเลขดำที่ อ.4552/2556 ในความผิดฐานร่วมกันก่อ หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83, 84 และ 90 จากกรณีออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ขอคืนพื้นที่การชุมนุมนปช. เมื่อปี 2553

โดยคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสอง ที่ออกคำสั่งสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธปืนและกระสุนจริง ทำให้มีผู้ชุมนุม ประชาชน และเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เป็นการออกคำสั่งในฐานะนายกฯ และรองนายกฯ และผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 

แต่การปฏิบัติต้องทำตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่เกินกว่าเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจะไม่ใช้อาวุธปืนจริง กระสุนจริง การใช้อำนาจของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ และผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

แต่พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 66 และประกาศคสช.ฉบับที่ 11/2557 และ 24/2557 ระบุให้ป.ป.ช.เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง และอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

ศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจรับฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

อย่างไรก็ตามอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ยื่นอุทธรณ์ โดยศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2557 แต่เมื่อถึงเวลานัด นายสุเทพไม่มาศาล ศาลพิเคราะห์เห็นว่า ศาลตรวจสำนวนหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ถึงจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าส่งไม่ได้ เนื่องจากไม่มีผู้มารับ ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบนัดโดยชอบตามกฎหมาย

จึงนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์อีกครั้งในวันที่ 17 ก.พ. 2559 

เปิดความเห็นแย้งอธิบดีศาลอาญา

อย่างไรก็ตามหลังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็มีความเห็นทางด้านกฎหมายที่น่าสนใจ โดยนายธงชัย เสนามนตรี อธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญามีความเห็นแย้งไว้ในสำนวนด้วย โดยเห็นว่าศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และญาติผู้ตายที่เป็น ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ 

เนื่องจากมูลเหตุที่นำมาฟ้องคดีซึ่งเกิดจากการไต่สวนชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา จากเหตุสลายการชุมนุม และพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ดำเนินการสอบสวนมากระทั่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง เป็นการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย

ขณะที่ในการฟ้อง หากคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะมีเฉพาะข้อหากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น 

ดังนั้นเมื่อมีการกล่าวหาจำเลยทั้งสองในความผิดอาญาฐานร่วมกันมีเจตนาฆ่าผู้อื่น กรณีนี้จึงไม่ใช่เรื่องศาลทั้งสองมีอำนาจขัดแย้งกัน 

อีกทั้งปัจจุบันคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกล่าวหาจำเลยทั้งสอง ก็ยังอยู่ระหว่างการไต่สวนของป.ป.ช. ตามพ.ร.บว่าด้วยการปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 66 ซึ่ง ป.ป.ช.ยังไม่ได้มีคำสั่งไปทางหนึ่งทางใด 

หากไต่สวนได้ข้อยุติว่าไม่มีมูล ก็ย่อมมีผลเฉพาะต่อข้อกล่าวหาทำผิดในตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อความผิดในการใช้หรือก่อให้ฆ่าผู้อื่นตามฟ้องของอัยการโจทก์ จึงเห็นควรว่าศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

พร้อมอธิบายสาเหตุของความเห็นแย้งดังกล่าวว่า เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีใหญ่ มีผลกระทบในวงกว้าง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก รวมทั้งชาวต่างชาติ ไม่ใช่ความผิดระหว่างตัวบุคคลต่อตัวบุคคลด้วยกัน รวมทั้งมีการนำผลไต่สวนชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตแต่ละรายมาประกอบในสำนวน บางรายศาลมีคำสั่งชี้ว่ากระสุนปืนถูกยิงจากฝั่งเจ้าหน้าที่ทหาร อย่างเช่น 6 ศพวัดปทุมวนาราม 

สุดท้ายคงต้องรอฟังผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจะเป็นอย่างไร

วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9174 ข่าวสดรายวัน


เปิดมติปปช.ยกฟ้อง "มาร์ค-เทือก"99ศพ ญาติเหยื่อแถลงค้าน ลุ้นคำสั่งศาลอุทธรณ์


แฟ้มคดี



สร้างแรงสะเทือนในสังคมอย่างรุน แรงพอสมควร สำหรับคำวินิจฉัยในวันก่อนสิ้นปีเก่า 2558 ของคณะกรรมการป.ป.ช. (ชุดเดิม) ที่ขยันปิดคดีก่อนจะหมดวาระ

เมื่อนัดประชุมลงมติ 7 ต่อ 0 ยกคำร้องถอดถอน และคำกล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. จากกรณีปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 

ในการสั่งกำลังเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เมื่อปี 2553 จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก 

ส่งผลให้กลุ่มนปช. และญาติผู้สูญเสียต้องออกมาเคลื่อนไหว

พร้อมประณามมติดังกล่าวว่าเป็นมติอัปยศ!!

ป.ป.ช.ยกฟ้องมาร์ค-เทือก

วันที่ 29 ธ.ค. เมื่อนายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการป.ป.ช. ในฐานะโฆษก แถลงมติที่ประชุมกรณีคำร้องขอให้ถอดถอนและคำกล่าวหานายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และพล.อ.อนุพงษ์ 

ในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจ และข้าราชการ สลายการชุมนุมของนปช. ในวันที่ 10 เม.ย. - 19 พ.ค. 2553 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก 

จากการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะเกิดเหตุที่มีการสั่งใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธปืนติดตัว เข้าขอพื้นที่จากผู้ชุมนุม ในช่วงดังกล่าวเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น อยู่ในช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง 

ซึ่งปรากฏในข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลว่าการชุมนุมของนปช.ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ และมีบุคคลที่มีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม จึงจำเป็นที่ศอฉ. ต้องใช้มาตรการขอคืนพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสงบในบ้านเมือง 

โดยมีคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำอาวุธติดตัว หากจำเป็นสามารถนำมาใช้เพื่อระงับยับยั้งได้ตามสถานการณ์หรือเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือป้องกันตัวเอง เป็นไปตามหลักสากล ตามคำพิพากษาศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ 1433/2533 

ส่วนข้อกล่าวหานายอภิสิทธิ์และพวก กรณีละเว้นไม่สั่งระงับยับยั้ง จากการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า หลังเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่วันที่ 10 เม.ย. 2553 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ศอฉ.ทบทวนปรับรูปแบบ ไม่เข้าผลักดันผู้ชุมนุม แต่ใช้มาตรการตั้งด่านตรวจให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมไปเอง 

ในวันที่ 19 พ.ค. 2553 เจ้าหน้าที่เคลื่อนกำลังเข้าคุมพื้นที่สวนลุมพินี โดยไม่ได้ผลักดันผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์โดยตรง แต่กดดันกองกำลังติดอาวุธที่ยึดสวนลุมพินีอยู่ โดยปฏิบัติตามขั้นตอน จึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสาม ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดำเนินการเรื่องดังกล่าว โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่น โดยเจตนาเล็งเห็นผลป.ป.ช.จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไปเช่นกัน



ถือเป็นมติส่งท้าย วันถัดมาในวันที่ 30 ธ.ค. ราชกิจจานุเบกษาประกาศรายชื่อโปรดเกล้าฯ ป.ป.ช.ใหม่อีก 5 คน

ส่งผลให้นายวิชา มหาคุณ นายประสาท พงษ์ศิวาภัย และนายภักดี โพธิศิริ ต้องพ้นจากการรักษาการ 

ญาติเหยื่อ 99 ศพแถลงค้าน

หลังจากทราบมติป.ป.ช. กลุ่มญาติผู้เสียชีวิต นำโดยนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ พ่อน้องเฌอ สมาพันธ์ ศรีเทพ เยาวชนที่ถูกยิงเสียชีวิตที่ปากซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2553 และนางพะเยาว์ อัคฮาด แม่น้องเกด กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ได้นัดรวมตัวกันที่วัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ผ่านมา

เพื่อทำกิจกรรมรำลึกผู้เสียชีวิต จุดธูปบอกกล่าววิญญาณผู้เสียชีวิต แล้วเดินเท้าไปยังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว เพื่ออ่านแถลงคัดค้านมติของป.ป.ช.

โดยระบุว่าไม่เห็นด้วยต่อมติของป.ป.ช. เนื่องจาก 1.กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของป.ป.ช. ไม่ชัดเจน กระบวนการได้มาซึ่งข้อเท็จจริงไม่โปร่งใส ไม่เรียกพยานหลักฐานไปให้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน และไม่เรียกพยานจากทาง ผู้เสียหายไปให้ปากคำ 

2.กลุ่มญาติผู้เสียหายเห็นว่าการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากมาจากนโยบายรัฐบาล โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อ หรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผล ไม่ใช่ความรับผิดเฉพาะตัว ตั้งแต่การประกาศสถานการณ์ฉุกฉิน การอนุญาตให้ใช้กระสุนจริง การป้ายสีผู้ชุมนุมว่าเป็นพวกล้มเจ้า 

3.การที่ป.ป.ช.อ้างอยู่หลายครั้งว่าการสลายการชุมนุมเป็นไปตามหลักสากลนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เนื่องจากปฏิบัติการดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักสากลที่กล่าวอ้าง เป็นการใช้อำนาจและกำลังเกินกว่าเหตุ ขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ที่รัฐไทยเป็นภาคี 



4.ข้อกล่าวอ้างของป.ป.ช. ว่าการที่ ศอฉ.ปรับเปลี่ยนรูปแบบปฏิบัติการ ทำให้สามารถลดความสูญเสียได้เป็นจำนวนมากนั้นเป็นเท็จ เพราะเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2553 ศอฉ.ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการ ด้วยการมีคำสั่งจัดตั้งด่านแข็งแรงนำไปสู่ มีการวางพลซุ่มยิงบนพื้นที่สูง ทำให้มีผู้เสียชีวิตเฉพาะช่วงระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค. รวม 58 ราย 

5.ข้อวินิจฉัยของป.ป.ช. นอกจากจะเป็นความผิดพลาดร้ายแรงแล้ว ยังปราศจากบรรทัดฐานของความยุติธรรม หากเปรียบเทียบกับ คำวินิจฉัยของป.ป.ช.เองต่อกรณีการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 โดยมีมติชี้ว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีต นายกฯ กับพวกมีความผิด ทั้งที่กรณีการสลายการชุมนุม นปช. ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์กับพวก มีความรุนแรงหนักหน่วงอย่างต่อเนื่องต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

ลุ้นศาลอุทธรณ์ชี้คดีฆ่า

ทั้งนี้ คดีที่รอคำสั่งศาลอุทธรณ์ ก็คือคำร้องที่อัยการฝ่ายคดีพิเศษเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เป็นจำเลย คดีหมายเลขดำที่ อ.4552/2556 ในความผิดฐานร่วมกันก่อ หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83, 84 และ 90 จากกรณีออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ขอคืนพื้นที่การชุมนุมนปช. เมื่อปี 2553

โดยคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสอง ที่ออกคำสั่งสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธปืนและกระสุนจริง ทำให้มีผู้ชุมนุม ประชาชน และเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เป็นการออกคำสั่งในฐานะนายกฯ และรองนายกฯ และผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 

แต่การปฏิบัติต้องทำตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่เกินกว่าเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจะไม่ใช้อาวุธปืนจริง กระสุนจริง การใช้อำนาจของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ และผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

แต่พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 66 และประกาศคสช.ฉบับที่ 11/2557 และ 24/2557 ระบุให้ป.ป.ช.เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง และอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

ศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจรับฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

อย่างไรก็ตามอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ยื่นอุทธรณ์ โดยศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2557 แต่เมื่อถึงเวลานัด นายสุเทพไม่มาศาล ศาลพิเคราะห์เห็นว่า ศาลตรวจสำนวนหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ถึงจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าส่งไม่ได้ เนื่องจากไม่มีผู้มารับ ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบนัดโดยชอบตามกฎหมาย

จึงนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์อีกครั้งในวันที่ 17 ก.พ. 2559 

เปิดความเห็นแย้งอธิบดีศาลอาญา

อย่างไรก็ตามหลังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็มีความเห็นทางด้านกฎหมายที่น่าสนใจ โดยนายธงชัย เสนามนตรี อธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญามีความเห็นแย้งไว้ในสำนวนด้วย โดยเห็นว่าศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และญาติผู้ตายที่เป็น ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ 

เนื่องจากมูลเหตุที่นำมาฟ้องคดีซึ่งเกิดจากการไต่สวนชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา จากเหตุสลายการชุมนุม และพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ดำเนินการสอบสวนมากระทั่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง เป็นการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย

ขณะที่ในการฟ้อง หากคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะมีเฉพาะข้อหากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น 

ดังนั้นเมื่อมีการกล่าวหาจำเลยทั้งสองในความผิดอาญาฐานร่วมกันมีเจตนาฆ่าผู้อื่น กรณีนี้จึงไม่ใช่เรื่องศาลทั้งสองมีอำนาจขัดแย้งกัน 

อีกทั้งปัจจุบันคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกล่าวหาจำเลยทั้งสอง ก็ยังอยู่ระหว่างการไต่สวนของป.ป.ช. ตามพ.ร.บว่าด้วยการปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 66 ซึ่ง ป.ป.ช.ยังไม่ได้มีคำสั่งไปทางหนึ่งทางใด 

หากไต่สวนได้ข้อยุติว่าไม่มีมูล ก็ย่อมมีผลเฉพาะต่อข้อกล่าวหาทำผิดในตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อความผิดในการใช้หรือก่อให้ฆ่าผู้อื่นตามฟ้องของอัยการโจทก์ จึงเห็นควรว่าศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

พร้อมอธิบายสาเหตุของความเห็นแย้งดังกล่าวว่า เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีใหญ่ มีผลกระทบในวงกว้าง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก รวมทั้งชาวต่างชาติ ไม่ใช่ความผิดระหว่างตัวบุคคลต่อตัวบุคคลด้วยกัน รวมทั้งมีการนำผลไต่สวนชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตแต่ละรายมาประกอบในสำนวน บางรายศาลมีคำสั่งชี้ว่ากระสุนปืนถูกยิงจากฝั่งเจ้าหน้าที่ทหาร อย่างเช่น 6 ศพวัดปทุมวนาราม 

สุดท้ายคงต้องรอฟังผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจะเป็นอย่างไร

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!