WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Nesdbปรเมธ วมลศรภาวะหนี้สินครัวเรือนอาการน่าเป็นห่วงรายได้วิ่งไม่ทันรายจ่ายยอดเบี้ยวหนี้เพิ่ม

     แนวหน้า : สศช.รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปีนี้ พบการ จ้างงานภาคเกษตรลดต่อเนื่อง เหตุจากภัยแล้ง รายได้ วิ่งไม่ทันรายจ่าย มีเงินเหลือใช้น้อยลง หนี้สินครัวเรือน ยังมีปัญหา ยอดผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตเพิ่มต่อเนื่อง ต้องเกาะติดใกล้ชิด

     นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลง รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปี 2558 ว่าการมีงาน ทำลดลง 0.2% เนื่องจากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมลดลงต่อเนื่อง 3.8% สอดคล้องกับการผลิตในภาคเกษตรที่ลดลงทั้งนี้ ภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงเวลาทำการ เพาะปลูกเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ประกอบกับปริมาณน้ำในเขื่อนลดลงทำให้ไม่สามารถส่งน้ำเพื่อทำ การเกษตรได้อย่างเต็มที่ทำให้แรงงานเกษตรจำนวน 80,064 คน เป็นแรงงานรอฤดูกาลเพิ่มขึ้น 26.1% สำหรับการจ้างงานนอกเกษตรเพิ่มขึ้น 1.7% ขณะที่อัตราการว่างงานเท่ากับ 0.92% เพิ่มจาก 0.84% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

       อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ได้แก่ มาตรการส่งเสริมความเป็น อยู่ในระดับหมู่บ้าน มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบล โครงการ บูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ซึ่งคาดว่า จะเริ่มเห็นผลชัดเจนในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2558

         ประเด็นที่ต้องติดตามได้แก่ 1.รายได้ของเกษตรกรและแรงงาน 2.แนวโน้มการจ้างงานภาคเกษตรลดลงจากผลกระทบภัยแล้ง และปริมาณน้ำเพื่อทำการเกษตรลดลง 3.การเลิกจ้างและการใช้มาตรา 75 ตามพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและการย้ายฐานการผลิต และ 4.การติดตามและเฝ้าระวังการใช้แรงงานประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม(IUU) ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปอยู่ในระหว่างการพิจารณาตัดสินขึ้นบัญชีดำการส่งออกอาหารทะเลของไทยหรืออนุมัติว่าไทยจะเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและปัญหาแรงงานทาสโดยจะมีการตัดสินในเดือนธันวาคม 2558

     ขณะที่หนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูงแต่ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนในช่วงครึ่งแรกของ ปี 2558 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าครัวเรือนมีรายได้ 27,545 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.1% และรายจ่ายของครัวเรือนเท่ากับ 21,818 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 6.4% และสัดส่วนรายจ่าย ต่อรายได้เท่ากับ 79.2% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 75.8% ในช่วงเดียวกันของปี 2556

      รายได้ที่เพิ่มขึ้นช้ากว่ารายจ่ายทำให้รายได้ เหลือจ่ายของครัวเรือนเท่ากับ 5,727 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือนลดลงเมื่อเทียบกับเงินเหลือจ่ายของครัวเรือนในช่วงครึ่งแรกปี 2556 ซึ่งเท่ากับ 6,144 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือนหนี้สินครัวเรือนเท่ากับ 163,276 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นเพียง 1.2% ชะลอตัวลงสอดคล้องกับข้อมูลหนี้สินครัวเรือนที่บุคคลธรรมดากู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งรายงานโดยธนาคาร แห่งประเทศไทยที่บ่งชี้ว่าหนี้สินครัวเรือนชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่สองของปี 2558 หนี้สินครัวเรือนที่กู้ยืมจากสถาบันการเงินเท่ากับ 10,714,318 ล้านบาท หรือคิดเป็น 80.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ( GDP)

         ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 หนี้สินครัวเรือนยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ยอดคงค้างการให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคในไตรมาสที่สามเท่ากับ 3,624,339 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% โดยสินเชื่อเพื่อการจัดซื้อที่ดินที่อยู่อาศัยอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 10.8% การบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ เพิ่มขึ้น 8.5% ขณะที่การซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ยังลดลงต่อเนื่อง 2.7% การผิดนัดชำระหนี้ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อบัตรเครดิต ที่ผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปเพิ่มขึ้น 14.3% และ 24.5% ตามลำดับ

     โดยภาพรวมสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนยังต้องติดตามและเฝ้า ระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสัดส่วนของการผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือน ต่อยอดคงค้างของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อบัตรเครดิต เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 5.2% และ 3.4% ตามลำดับจากสัดส่วน 4.6% และ 2.6% ตามลำดับ ณ สิ้นปี 2557 ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไข ปัญหาหนี้สินครัวเรือน โดยมีความคืบหน้าของมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ได้แก่ การช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ให้สูญเสียที่ดินทำกินได้มีการดำเนินการช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรประเภทนอกระบบไปแล้วจำนวน 7,634 ราย มูลหนี้ 2,964,530,957 บาท

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!