WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBCTฐากร ตณฑสทธ2กสทช. เปิดรับฟังความเห็นผู้ประกอบการ-ปชช. ก่อนเปิดประมูลคลื่น 900/1800 MHz ในเดือนพ.ค.61

         นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับ ร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 890-895 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)/935-940 MHz และร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 1740-1785 MHz/1835-1880 MHz ว่า กสทช.ต้องการจัดประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่านเสร็จสิ้นก่อนคลื่นจะครบกำหนดสัญญาสัมปทานในเดือน ก.ย.61 โดยให้มีเวลาเพียงพอให้ผู้บริโภคที่มีลูกค้าที่ใช้บริการคลื่นในส่วนนี้ประมาณ 8 แสนรายได้โอนย้ายไปยังผู้บริการใหม่และเพื่อไม่ให้ต้องกำหนดมาตรการเยียวยา

       โดยมีสาระสำคัญเรื่องกำหนดให้มีการประมูลคลื่น 900 MHz ขนาด 5 MHz จำนวน 1 ใบอนุญาต โดยกำหนดราคาเริ่มต้น 37,988 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี ส่วนคลื่น 1800 MHz จะนำมาประมูล 45 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 MHz ราคาเริ่มต้นที่ 37,457 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี

       สำหรับ หลักเกณฑ์ในการประมูลคลื่น 1800 MHz การเคาะราคาจะต้องมีจำนวนผู้เข้าประมูลมากว่าจำนวนใบอนุญาต ผู้ชนะคือผู้ให้ราคาสูงสุดเมื่อสิ้นสุดการเคาะราคา คลื่น 1800 MHz มี 3 ชุดคลื่นความถี่ หากมีผู้เข้าประมูล 3 รายจะมีการเคาะราคา 2 ใบอนุญาต หากมีผู้เข้าประมูล 2 ราย จะมีการเคาะราคา1 ใบอนุญาต และหากมีผู้เข้าประมูล 1 ราย จะขยายเวลาการประมูลออกไป 30 วันจนกว่าจะมีผู้เข้าประมูลเพิ่มขึ้น

       สำหรับ การรับฟังความเห็นวันนี้ ผู้ประกอบการและตัวแทนภาคประชาชนแสดงความเห็นหลายประเด็น อาทิ การกำหนดราคาคลื่นความถี่โดยใช้ราคาที่ชนะประมูลครั้งที่ผ่านมาเป็นราคาเริ่มต้นเป็นราคาสูงเกินไปจะกระทบกับต้นทุนการประกอบของผู้ชนะประมูล, การจัดชุดคลื่นความถี่ที่กำหนดในร่าง ไม่ว่าผู้ประกอบการรายใดชนะประมูลในคลื่นความถี่ชุดใดไปอาจทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากชุดคลื่นความถี่ไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากชุดคลื่นความถี่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกัน จึงขอให้มีการจัดเรียงชุดคลื่นความถี่ใหม่หลังการประมูล, การกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีจำนวนผู้เข้าประมูลมากกว่าจำนวชุดคลื่นความถี่อาจจะทำให้การประมูลคลื่นได้ไม่หมดตามที่ กสทช.กำหนดไว้

       นายฐากร กล่าวว่า กรณีที่มีความเห็นว่าการกำหนดราคาประมูลสูงเกินไป การกำหนดราคาเป็นมติของกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่กำหนดให้ใช้ราคาที่ชนะประมูลครั้งที่ผ่านมาเป็นราคาเริ่มต้น หากกลับไปใช้ราคาเริ่มต้นราคาเดิมจะกระทบคนที่ได้ใบอนุญาตไปแล้ว และอาจเกิดการฟ้องร้อง ดังนั้นการกลับไปที่ราคาเริ่มต้นคงทำได้ยาก

       ส่วนที่มีความเห็นว่าการกำหนดหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 MHz โดยกำหนดให้จำนวนผู้ประมูลมากกว่าจำนวนใบอนุญาต อาจเป็นอุปสรรคทำให้คลื่นความถี่ถูกนำมาประมูลไม่ครบนั้น นายฐากร ชี้แจงว่า การแบ่งชุดคลื่นความถี่เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมโดย กสทช.ได้นำระเบียบการจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ฯ มาใช้ ซึ่งที่สุดแล้วแม้จะมีผู้เข้าประมูลในชุดคลื่นความถี่เพียงรายเดียวก็สามารถเคาะราคาได้

        "เพื่อให้การประมูลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บอร์ดชุดปัจจุบันซึ่งเป็นบอร์ดรักษาการณ์ได้ทำหนังสือสอบถามไปถึงกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นอำนาจของบอร์ดในการจัดทำหลักเกณฑ์การประมูลฯ และจัดประมูล โดยล่าสุดได้รับการประสานเตรียมที่จะนัดหมายให้ กสทช.เข้าชี้แจงกับกฤษฎีกาแล้ว การขอความเห็นเพื่อให้เกิดความชัดเจน ส่วนหากการประมูลที่กำหนดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค.61 โดยขณะนั้นอาจมีบอร์ด กสทช.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แล้ว ก็ให้ขึ้นอยู่กับความเห็นของบอร์ดใหม่จะพิจารณา" นายฐากร กล่าว

         นอกจากจัดประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่านแล้ว ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ในการประมูลครั้งก่อนได้ทำหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยการขยายเวลาการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตออกไปเนื่องจากราคาที่ชนะประมูลเป็นราคาที่สูงมาก หากขยายเวลาชำระเงินออกไปจะเป็นการช่วยผู้ประกอบการ โดย คสช. ได้ส่งเรื่องถึง กสทช.แล้ว โดย กสทช.อยู่ระหว่างการร่างประกาศ กสทช.เพื่อเสนอ คสช.พิจารณาและใช้อำนาจในการออกประกาศช่วยเหลือผู้ประกอบการต่อไป

                        อินโฟเควสท์

 

กสทช. เปิดรับฟังความเห็นผู้ประกอบการ-ปชช. ก่อนเปิดประมูลคลื่น 900/1800 MHz ในเดือนพ.ค.61

      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับ ร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 890-895 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)/935-940 MHz และร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 1740-1785 MHz/1835-1880 MHz ว่า กสทช.ต้องการจัดประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่านเสร็จสิ้นก่อนคลื่นจะครบกำหนดสัญญาสัมปทานในเดือน ก.ย.61 โดยให้มีเวลาเพียงพอให้ผู้บริโภคที่มีลูกค้าที่ใช้บริการคลื่นในส่วนนี้ประมาณ 8 แสนรายได้โอนย้ายไปยังผู้บริการใหม่และเพื่อไม่ให้ต้องกำหนดมาตรการเยียวยา

      โดยมีสาระสำคัญเรื่องกำหนดให้มีการประมูลคลื่น 900 MHz ขนาด 5 MHz จำนวน 1 ใบอนุญาต โดยกำหนดราคาเริ่มต้น 37,988 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี ส่วนคลื่น 1800 MHz จะนำมาประมูล 45 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 MHz ราคาเริ่มต้นที่ 37,457 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี

       สำหรับ หลักเกณฑ์ในการประมูลคลื่น 1800 MHz การเคาะราคาจะต้องมีจำนวนผู้เข้าประมูลมากว่าจำนวนใบอนุญาต ผู้ชนะคือผู้ให้ราคาสูงสุดเมื่อสิ้นสุดการเคาะราคา คลื่น 1800 MHz มี 3 ชุดคลื่นความถี่ หากมีผู้เข้าประมูล 3 รายจะมีการเคาะราคา 2 ใบอนุญาต หากมีผู้เข้าประมูล 2 ราย จะมีการเคาะราคา1 ใบอนุญาต และหากมีผู้เข้าประมูล 1 ราย จะขยายเวลาการประมูลออกไป 30 วันจนกว่าจะมีผู้เข้าประมูลเพิ่มขึ้น

     สำหรับ การรับฟังความเห็นวันนี้ ผู้ประกอบการและตัวแทนภาคประชาชนแสดงความเห็นหลายประเด็น อาทิ การกำหนดราคาคลื่นความถี่โดยใช้ราคาที่ชนะประมูลครั้งที่ผ่านมาเป็นราคาเริ่มต้นเป็นราคาสูงเกินไปจะกระทบกับต้นทุนการประกอบของผู้ชนะประมูล, การจัดชุดคลื่นความถี่ที่กำหนดในร่าง ไม่ว่าผู้ประกอบการรายใดชนะประมูลในคลื่นความถี่ชุดใดไปอาจทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากชุดคลื่นความถี่ไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากชุดคลื่นความถี่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกัน จึงขอให้มีการจัดเรียงชุดคลื่นความถี่ใหม่หลังการประมูล, การกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีจำนวนผู้เข้าประมูลมากกว่าจำนวชุดคลื่นความถี่อาจจะทำให้การประมูลคลื่นได้ไม่หมดตามที่ กสทช.กำหนดไว้

       นายฐากร กล่าวว่า กรณีที่มีความเห็นว่าการกำหนดราคาประมูลสูงเกินไป การกำหนดราคาเป็นมติของกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่กำหนดให้ใช้ราคาที่ชนะประมูลครั้งที่ผ่านมาเป็นราคาเริ่มต้น หากกลับไปใช้ราคาเริ่มต้นราคาเดิมจะกระทบคนที่ได้ใบอนุญาตไปแล้ว และอาจเกิดการฟ้องร้อง ดังนั้นการกลับไปที่ราคาเริ่มต้นคงทำได้ยาก

       ส่วนที่มีความเห็นว่าการกำหนดหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 MHz โดยกำหนดให้จำนวนผู้ประมูลมากกว่าจำนวนใบอนุญาต อาจเป็นอุปสรรคทำให้คลื่นความถี่ถูกนำมาประมูลไม่ครบนั้น นายฐากร ชี้แจงว่า การแบ่งชุดคลื่นความถี่เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมโดย กสทช.ได้นำระเบียบการจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ฯ มาใช้ ซึ่งที่สุดแล้วแม้จะมีผู้เข้าประมูลในชุดคลื่นความถี่เพียงรายเดียวก็สามารถเคาะราคาได้

       "เพื่อให้การประมูลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บอร์ดชุดปัจจุบันซึ่งเป็นบอร์ดรักษาการณ์ได้ทำหนังสือสอบถามไปถึงกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นอำนาจของบอร์ดในการจัดทำหลักเกณฑ์การประมูลฯ และจัดประมูล โดยล่าสุดได้รับการประสานเตรียมที่จะนัดหมายให้ กสทช.เข้าชี้แจงกับกฤษฎีกาแล้ว การขอความเห็นเพื่อให้เกิดความชัดเจน ส่วนหากการประมูลที่กำหนดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค.61 โดยขณะนั้นอาจมีบอร์ด กสทช.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แล้ว ก็ให้ขึ้นอยู่กับความเห็นของบอร์ดใหม่จะพิจารณา" นายฐากร กล่าว

      นอกจากจัดประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่านแล้ว ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ในการประมูลครั้งก่อนได้ทำหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยการขยายเวลาการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตออกไปเนื่องจากราคาที่ชนะประมูลเป็นราคาที่สูงมาก หากขยายเวลาชำระเงินออกไปจะเป็นการช่วยผู้ประกอบการ โดย คสช. ได้ส่งเรื่องถึง กสทช.แล้ว โดย กสทช.อยู่ระหว่างการร่างประกาศ กสทช.เพื่อเสนอ คสช.พิจารณาและใช้อำนาจในการออกประกาศช่วยเหลือผู้ประกอบการต่อไป

                        อินโฟเควสท์

เลขาฯกสทช.เตรียมชงบอร์ด 27 ธ.ค.นี้ ให้ขยายเวลาชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900MHz เดิม หลังผู้ประกอบการร้องคสช.

     เลขากสทช.เผย เตรียมเสนอบอร์ดพิจารณาขยายเวลาชำระค่าใบอนุญาตคลื่น900MHzเดิม ใน วันที่27ธ.ค. หลัง TRUE -AISร้องขอไปยังคสช. พร้อมจัดจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะใช้ในการประมูลคลื่นความถี่ฯ ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

     นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในวันที่27ธ.ค.จะเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)กสทช.พิจารณาการขยายระยะเวลาชำระค่าใบอนุญาตคลื่น900MHzเดิม เพิ่มจากเดิม 4 งวด เพราะงวดที่4 ต้องชำระเงินสูงถึง 6 หมื่นล้านบาท หลังจากบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และAIS ได้ยื่นเสนอขอขยายเวลาไปยังคสช.และทางคสช.ได้ส่งหนังสือขอความเห็นมายังกสทช.

       ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขอขยายเวลาชำระค่างวดที่4แบ่งย่อยเป็น 3 งวด รวมขยายเวลาเป็น6งวด หากบอร์ดกสทช.มีมติดังกล่าวแล้วจะมีการทำหนังสือส่งไปยังหัวหน้าคสช.ทันที โดยหากมีการขยายเวลาชำระคลื่น900MHzเดิม ก็จะนำมาใช้กับการประมูลคลื่น900MHzครั้งใหม่ที่จะประมูลในปี61ด้วยเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน

     'ในที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา กสทช.ได้รับหนังสือจากคสช.เรื่องขอความเห็นการขยายเวลาชำระค่าใบอนุญาตคลื่น900MHz หลังทรู และAIS  ร้องขอ เพราะงวดสุดท้าย(งวดที่4)นั้นแต่ละรายต้องชำระถึง6หมื่นล้านบาทซึ่งเป็นเงินที่สูง จึงอยากขอแบ่งจ่ายงวดที่4 ย่อยออกเป็น3งวด อต่ก็จะมีการจ่ายดอกเบี้ยให้ไม่ได้ขอขยายฟรีๆ โดยกสทช.นำเรื่องดังกล่าวเสนอบอร์ดกสทช.พิจารณาในวันที่27ธ.ค.นี้ 'นายฐากร กล่าว

      โดย สำนักงาน กสทช. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ 4 ฉบับ ได้แก่ 1.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 890-895 MHz/935-940 MHz  2.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1740-1785 MHz/1835-1880 MHz  3.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT) ย่านความถี่ 824-839/869-884 MHz และ 4.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการเคลื่อนที่ ย่านความถี่ 885-895/930-940 MHz ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดสัมปทาน โดยประเด็นสำคัญที่จะรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ในวันนี้ ประกอบไปด้วย 1.ขนาดของคลื่นความถี่ที่จะให้อนุญาต 2.วิธีการอนุญาต 3.ราคาขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ (Reserve Price)  4.กระบวนการอนุญาต 5.สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนไขใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 6.มาตรการจำกัดพฤติกรรมสมยอมในการเสนอราคาประมูล และ 7.ประเด็นอื่นๆ ซึ่งหลังจาก   การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันนี้ ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไปยังสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมายังสำนักงาน กสทช. ได้อีกจนถึงวันที่ 29 ธ.ค. 2560 ใน 3 ช่องทาง ได้แก่ 1. ทาง e-mail: [email protected] 2. ทางโทรสารที่หมายเลข 0 2278 5316 และ 3. นำส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนมายัง สำนักงาน กสทช. (สำนักวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม) เลขที่ 87 ถนนพหลโยธิน ซอย 8 (สายลม) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

 ขั้นตอนหลังจากนั้น สำนักงาน กสทช. จะสรุปความคิดเห็นที่ได้รับ นำเสนอที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และตามแผนคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ได้ในเดือน ม.ค. 2561 หลังจากนั้นจะเปิดให้มีการประมูลได้ในเดือน พ.ค. 2561 ซึ่งคาดว่าจะออกใบอนุญาตได้ในเดือน มิ.ย. 2561 ก่อนที่สัญญาสัมปทานจะหมดอายุ

   นายฐากร กล่าวว่า สำหรับสาระสำคัญหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวที่สำนักงาน กสทช. นำมารับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันนี้ ได้แก่ คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz กำหนดให้มีการประมูล 1 ชุดคลื่นความถี่ ( 1 ใบอนุญาต) ขนาดคลื่นความถี่ 5 MHz มีอายุใบอนุญาต 15 ปี โดยราคาขั้นต่ำของการประมูลครั้งนี้อยู่ที่ 37,988 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่กำหนดตามมติที่ประชุม กทค. ครั้งที่ 31/2558 ที่กำหนดให้นำราคาสุดท้ายของการประมูลคลื่น 900 MHz ในปี 2558 มาคำนวณเป็นพื้นฐานที่เป็นอัตราส่วนเดียวกัน ในส่วนของการเคาะราคาจะเพิ่มขึ้นรอบละ 0.2% ของราคาขั้นต่ำ คิดเป็น 76 ล้านบาท

    กรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลมากกว่า 1 ราย ก็จะเปิดให้มีการประมูล กรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 1 ราย จะขยายเวลาเปิดรับผู้เข้าร่วมการประมูลไปอีก 30 วัน ถ้ายังไม่มีผู้เข้าร่วมการประมูลเพิ่ม ให้เปิดการประมูล โดยผู้เข้าร่วมการประมูลต้องเคาะเพิ่มราคา 1 ครั้ง

การชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz จะแบ่งการชำระออกเป็น 4 งวด ดังนี้

   - งวดที่ 1 ชำระ 4,020 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกันการชำระค่าเงินประมูลฯ ในส่วนที่เหลือ ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล

   - งวดที่ 2 ชำระ 2,010 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกันการชำระค่าเงินประมูลฯ ในส่วนที่เหลือ ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต

   - งวดที่ 3 ชำระ 2,010 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกันการชำระค่าเงินประมูลฯ ในส่วนที่เหลือ ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต

   - งวดที่ 4 ชำระเงินค่าประมูลส่วนที่เหลือทั้งหมด ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต

 ทั้งนี้ สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz กสทช. ได้กำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไว้ในเงื่อนไขท้ายใบอนุญาต โดยกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมประชากรมากกว่า 50% ภายใน 4 ปี และต้องครอบคลุมประชากรมากกว่า 80% ภายใน 8 ปี  และต้องมีการจัดเก็บข้อมูลและลงทะเบียนผู้ใช้บริการ รวมถึงดูแลคุณภาพสัญญาณให้ได้มาตรฐานตามที่ กสทช. กำหนด

 กรณี ผู้ชนะการประมูลไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนรับอนุญาต สำนักงาน กสทช. จะริบหลักประกันการประมูล ซึ่งคิดเป็นเงิน 5% ของราคาขั้นต่ำ พร้อมทั้งคิดค่าปรับในอัตรา 15% ของราคาขั้นต่ำ

 นายฐากร กล่าวว่า ในส่วนของการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz หลักเกณฑ์กำหนดให้มีการประมูลคลื่นความถี่จำนวน 45 MHz โดยแบ่งเป็น 3 ชุดคลื่นความถี่ (3 ใบอนุญาต) ขนาดคลื่นความถี่ชุดละ15 MHz มีอายุใบอนุญาต 15 ปี โดยราคาขั้นต่ำของการประมูลครั้งนี้อยู่ที่ 37,457 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่กำหนดตามมติที่ประชุม กทค. ครั้งที่ 31/2558 ที่กำหนดให้นำราคาสุดท้ายของการประมูลคลื่น 1800 MHz ในปี 2558 มาคำนวณเป็นพื้นฐานที่เป็นอัตราส่วนเดียวกัน รวมถึงการนำหลักการคิดมูลค่าเงินตามเวลาจริง (Time Value of Money) มาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาใบอนุญาตที่ปรับลดลงจาก 18 ปีเหลือ 15 ปี มาใช้ในการคำนวณราคาขั้นต่ำด้วย ในส่วนของการเคาะราคาจะเพิ่มขึ้นรอบละ 0.2% ของราคาขั้นต่ำ คิดเป็น 75 ล้านบาท

 กรณี ที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลมากกว่า 3 ราย จะประมูล 3 ชุดคลื่นความถี่ กรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูล 2-3 ราย จะนำคลื่นความถี่ออกมาประมูลเท่ากับ N-1 ชุด โดย N=ผู้เข้าร่วมการประมูล นั่นคือถ้ามีผู้เข้าร่วมการประมูล 3 ราย จะนำคลื่นความถี่ออกมาประมูล 2 ชุด และถ้ามีผู้เข้าร่วมการประมูล 2 ราย จะนำคลื่นความถี่ออกมาประมูล 1 ชุด ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 1 ราย จะขยายเวลาเปิดรับผู้เข้าร่วมการประมูลไปอีก 30 วัน ถ้ายังไม่มีผู้เข้าร่วมการประมูลเพิ่ม ให้เปิดการประมูล โดยผู้เข้าร่วมการประมูลต้องเคาะเพิ่มราคา 1 ครั้ง

 สำหรับ การชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จะแบ่งการชำระออกเป็น 3 งวด ดังนี้

   - งวดที่ 1 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่จำนวน 50% ของราคาการประมูลสูงสุดของผู้ชนะการประมูลแต่ละราย พร้อมหนังสือค้ำประกันการชำระค่าเงินประมูลฯ ในส่วนที่เหลือ ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล

   - งวดที่ 2 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่จำนวน 25% ของราคาการประมูลสูงสุดของผู้ชนะการประมูลแต่ละราย พร้อมหนังสือค้ำประกันการชำระค่าเงินประมูลฯ ในส่วนที่เหลือ ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต

   - งวดที่ 3 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่จำนวน 25% ของราคาการประมูลสูงสุดของผู้ชนะการประมูลแต่ละราย ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต

   ทั้งนี้ สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz กสทช. ได้กำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไว้ในเงื่อนไขท้ายใบอนุญาต โดยกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมประชากรมากกว่า 40% ภายใน 4 ปี และต้องครอบคลุมประชากรมากกว่า 50% ภายใน 8 ปี  ในส่วนของอัตราค่าบริการ 4G จะต้องมีอัตราค่าบริการถูกกว่าอัตราค่าบริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นผู้รับใบอนุญาตจะต้องจัดให้มีแพ็คเกจราคาประหยัดสำหรับผู้พิการ และจัดทำแผนความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยให้ครอบคลุมถึงการจัดการขยะอิเล็คทรอนิกส์ สุขภาพของผู้ใช้บริการ

   กรณีผู้ชนะการประมูลไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนรับอนุญาต สำนักงาน กสทช. จะริบหลักประกันการประมูล ซึ่งคิดเป็นเงิน 5% ของราคาขั้นต่ำ พร้อมทั้งคิดค่าปรับในอัตรา 15% ของราคาขั้นต่ำ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

สัญญาคลื่น 2300MHzไม่คืบ ทีโอทียิ้มออกขาดทุนลดลง

      ไทยโพสต์ : แจ้งวัฒนะ * นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หากได้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในคลื่น 2300 MHz กับบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ภายในต้นปี 2561 จะทำให้ปีหน้า ทีโอทีจะกลับมามีกำไรสุทธิประ มาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งทีโอทีจะเริ่มรับรู้รายได้จากสัญญาดังกล่าวภายในไตรมาส 1/2561 หรือ หลังจากที่มีการเซ็นสัญญาไปแล้ว 3 เดือน โดยรายได้ที่จะได้รับในปี 2561 อยู่ที่ประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าสัญญา ดังกล่าวจะถูกพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในวันที่ 27 ธ.ค.2560 นี้

      ทั้งนี้ สัญญาคลื่น 2100 MHz ที่เป็นพันธมิตรกับบริษัท แอด วานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวร์ค จำกัด (AWN) ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ที่คาดว่าหลังจากได้เซ็นสัญญาเป็นทางการแล้วจะมีรายได้เพิ่มจากส่วนนี้กว่า 10,000 ล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้ประจำที่มาจากบริการของทีโอทีเองแล้ว คาดว่าปี 2561 จะมีรายได้ทั้งหมดอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท มี EBITDA อยู่ที่ 11,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 3,000 ล้านบาท

       สำหรับ ผลประกอบการ 11 เดือนของปี 2560 อยู่ที่ 32,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เดิมคือ 34,000 ล้านบาท คาดว่าจะยังขาดทุนอยู่ เป็นการขาดทุนลดลง 55% ผลจากการประหยัดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร

สหภาพฯ ทีโอที ยื่นหนังสือจี้บอร์ด กสทช.เร่งอนุมัติแผนใช้งานคลื่นความถี่ 2300 MHz

       นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที พร้อมด้วยตัวแทนพนักงานกว่า 50 คน เดินทางมายื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขอให้ กสทช.เร่งพิจารณาอนุมัติแผนธุรกิจบริการไร้สายคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ของทีโอที

      สำหรับ การมายื่นหนังสือในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 หลังจากเมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมาได้มายื่นไปแล้วครั้งหนึ่ง โดยสหภาพฯ มีข้อเรียกร้องหลักๆ 3 ข้อ คือ 1.ขอให้ กสทช.ดำเนินการตามใบอนุญาตที่ได้รับปัจจุบัน โดยไม่มีการเพิ่มเงื่อนไขใหม่ 2.หาก กสทช.ไม่อนุญาตจะส่งผลกระทบทำให้รัฐเสียรายได้กว่า 3.6 พันล้านบาท ถ้ารวมผลประกอบการทีโอทีด้วยก็ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท และ 3.การประมูลความถี่ครั้งต่อไป ไม่มีความเกี่ยวข้องกับทีโอที ฉะนั้นไม่ควรนำปัญหามาให้ทีโอที

    ดังนั้น จึงขอให้คณะกรรมการ กสทช.เร่งรัดการพิจารณาแผนโดยเร็ว เพื่อให้ทีโอทีสามารถปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ และสามารถดำเนินการได้จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาใบอนุญาตการประกอบกิจการ ดังเช่นที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ใช้ความถี่ต่างๆ ในการให้บริการสื่อสารไร้สายประเภทต่างๆ หากจะมีการปฏิเสธหรือปฏิบัติที่ผิดไปจากใบอนุญาตประกอบกิจการที่ได้ให้มาแล้ว รวมทั้งการอนุมัติที่ล่าช้า ย่อมต้องถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อทีโอที ให้แตกต่างไปจากผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นเอกชนรายอื่นๆ อันเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อทีโอที

              อินโฟเควสท์ 

จ่อยื่นคสช.ปลดล็อกทีวีดิจิตอล

     ไทยโพสต์ : พหลโยธิน 8 * กสทช.ส่งความคิดเห็น คสช.ปลดล็อกทีวีดิจิตอลแล้ว เหลือแค่รอ คสช.ใช้ ม.44 ตัดสินใจ เผยไม่จ่ายค่างวดที่เหลือทำไม่ได้ ขณะที่บอร์ดถกขยายจ่ายงวดไลเซนส์คลื่น 900MHz

       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขา ธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กรณีที่สมาคมดิจิตอลทีวีแห่งประเทศไทย ไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการปฏิรูปสื่อสารมวลชนเมื่อวันที่ 17 ต.ค.2560 ที่ผ่านมา เพื่อให้รัฐดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลนั้น สำนักงานได้ทำจดหมายแสดงความคิดเห็นพร้อมระบุข้อเสนอที่สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ตามความเหมาะสมส่งไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้ว

         ทั้งนี้ ข้อเสนอที่สมาคมดิจิตอลทีวีแห่งประเทศไทยเรียกร้องมาใน 3 ส่วน คือ 1.ต้องการให้ยกเว้นการเก็บเงินค่างวดใบอนุญาตทีวีดิจิตอลที่เหลือตั้งแต่งวดที่ 5-8 จำนวนรวม 16,837 ล้านบาท 2.ต้องการให้ทีวีดิจิตอลมีเพียง 30 ช่อง จากเดิมที่จะต้องมีจำนวน 48 ช่อง โดยให้นำเอาคลื่นที่ไม่ได้ใช้ในจำนวน 18 ช่องส่วนต่างนั้น ไปประมูลเพื่อนำเงินรายได้เข้ารัฐแทน และ 3.ค่าใช้จ่ายค่าเช่าโครง ข่ายสัญญาณ หรือมักซ์ (MUX) ต้องการให้นำเงินที่ใช้แจกคูปองสำหรับซื้อเซตท็อปบ็อกซ์มาสนับสนุนช่วยเหลือ สำนักงาน กสทช.ได้พิจารณาแล้ว และเห็นว่ากรณียกเว้นเงินค่างวดใบอนุญาตที่เหลือนั้น ไม่สามารถทำได้ ส่วนอีก 2 ข้อที่เสนอมา ตอนนี้ยังบอกรายละเอียดการช่วยเหลือไม่ได้ เพราะเป็นความลับที่ต้องส่งให้ คสช.พิจารณาก่อน

     "สำนักงาน กสทช.สามารถให้ความเห็นและช่วยเหลือได้ตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถทำได้เท่านั้น บางส่วนที่สมาคมดิจิตอลทีวีฯ เสนอมานั้น นอกเหนือการตัดสินใจ ซึ่งผู้ประกอบการก็คงต้องรอการตัดสินใจของ คสช.ว่าจะใช้ ม.44 ในการปลดล็อกปมนี้ลงหรือไม่" เลขาธิการ กสทช.กล่าว

        นายฐากร กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ คสช.ได้ส่งหนังสือมาที่สำนักงานขอความเห็นชอบของคณะกรรมการ กสทช.เพื่อประกอบการ พิจารณาที่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) ได้ยื่นหนังสือมาขอให้แบ่งการชำระเงินค่าใบอนุญาตคลื่น 900MHz ในงวดสุดท้ายที่ต้องจ่ายในปี 2562 แบ่งย่อยออกเป็น 5 งวด ซึ่งในวันที่ 27 ธ.ค.2560 นี้ จะนำเข้าเป็นวาระการประชุมคณะกรรมการ กสทช.เพื่อลงความคิดเห็น โดยคาดว่าจะสามารถสรุปให้แล้วเสร็จและตอบกลับ คสช.ได้ภายในก่อนสิ้นปีนี้.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!