WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AACกทปส

กทปส. ประกาศใช้หลักเกณฑ์ขอรับทุนฉบับใหม่ขยายให้ภาคธุรกิจ SMEs และกลุ่ม Startup หวังเพิ่มศักยภาพด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคม วิทยุ โทรทัศน์ของประเทศ ในกรอบวงเงิน 300 ล้านบาท

     กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. หน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.) ได้จัดทำแผนแม่บทของ กทปส. ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 ปี ให้สอดคล้องรับกับทิศทางการขับเคลื่อนประเทศภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0 โดยเตรียมจัดสรรเงินกองทุนฯ ประจำปี 2561 ประเภทที่ 1จำนวน 300 ล้านบาท โดยปีนี้ได้เปิดโอกาสให้กับกลุ่มวิสาหกิจ เช่น ผู้ประกอบ SMEs วิสาหกิจเริ่มต้น หรือ กลุ่ม Startup หวังให้เกิดเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ พร้อมทั้งเดินหน้าด้านอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ของประเทศ

       นายนิพนธ์ จงวิชิต รักษาการผู้จัดการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. กล่าวว่า จากการให้ทุนสนับสนุนในแต่ละปีที่ผ่านมามุ่งเน้นที่ภาครัฐ ภาคการศึกษา และหน่วยงานไม่แสวงหากำไร ซึ่งในปี 2560 กทปส. ได้มีมติจากที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ให้มีการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการขอรับทุนสนับสนุน โดยได้ออกประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ปี 2560 (ฉบับใหม่) ให้เกิดกระบวนการขอรับทุนสนับสนุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีการคล่องตัวมากขึ้น โดยประกาศหลักเกณฑ์ฉบับใหม่นั้น มีการปรับเปลี่ยนลักษณะของทุนประเภทต่างๆ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กับ ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ขนาดกลางขนาดย่อม และธุรกิจ Startup ให้สามารถยื่นขอรับทุนสนับสนุนได้ หวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านการพัฒนาด้านโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ของประเทศในอนาคต ซึ่งในอนาคตเศรษฐกิจของประเทศต้องเดินหน้าขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และต้องให้ความสำคัญต่อสังคม ประโยชน์ต่อสาธารณะเป็นสำคัญอีกด้วย

       นายนิพนธ์ กล่าวอีกว่าในการเปิดให้ทุนสนับสนุนประจำปี 2561 ทาง กทปส. ได้มีการชี้แจงต่อกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และกลุ่มผู้ประกอบ SMEs วิสาหกิจเริ่มต้น หรือ กลุ่ม Startup ถึงกระบวนการและแนวทางในการยื่นขอรับการสนับสนุน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ประชาชน และประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งในปี 2561 ที่กำลังจะมาถึง กทปส. ได้วางแผนที่จะจัดสรรทุนประเภทที่ 1 จำนวน 300 ล้านบาท และทุนประเภทที่ 2 จำนวน 670 ล้านบาท โดยจะเปิดให้ยื่นสำหรับทุนประเภทที่ 1 ได้นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 ถึง เดือนมกราคม 2561 โดยผู้ที่สนใจขอรับทุนสามารถโทรสอบถามได้ที่ 02 554 8117 และ 02 554 8140 หรือสามารถเข้าศึกษาข้อมูลได้ที่ https://btfp.nbtc.go.th ซึ่งปีนี้ ได้แบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

        กลุ่มที่ 1 ด้านการดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม อย่างทั่วถึงส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชน

        กลุ่มที่ 2  ด้านการส่งเสริม/สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรคมนาคม

        กลุ่มที่ 3 ด้านการส่งเสริม/สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

       กลุ่มที่ 4 ด้านการสนับสนุน/ส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรคมนาคม

      “การขยายให้ทุนสนับสนุนให้กับกลุ่มผู้ประกอบ SMEs วิสาหกิจเริ่มต้น หรือ กลุ่ม Startup ถือเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจที่ต้องการให้ภาคอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์เกิดการพัฒนา พร้อมทั้งต้องการวางรากฐานที่มั่นคงของประเทศ เพราะการวิจัย บุคลากร นักพัฒนาถือเป็นกลไกสำคัญ จะเกิดการเดินหน้าที่มั่นคง อีกทั้งผลงานจากการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ที่ได้จากทุนสนับสนุนฯ สามารถก่อให้เกิดเม็ดเงินรายได้กลับสู่ประเทศหากได้รับการต่อยอด ส่งเสริมสนับสนุนจากทุกภาคส่วนอีกด้วย” นายนิพนธ์ กล่าวสรุป

เกี่ยวกับบริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด

          บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด จำหน่ายรถบรรทุก Scania คันแรกได้ถูกนำเข้ามาในปีพ.ศ.2529 โดยบริษัท โฟฟร้อนท์ (ประเทศไทย) จำกัด  จากนั้นในปี พ.ศ. 2543 Scania CV AB ประเทศสวีเดนได้เข้ามาลงทุนและจัดตั้งบริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ลงทุนสร้างโรงงานประกอบในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยแบ่งสายการประกอบรถบรรทุกและรถโดยสารออกจากกัน และในปี 2552 ได้สร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่เป็นทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการที่ครบวงจร ณ  จังหวัดสมุทรปราการ ริมถนนบางนา-ตราด กม.19

        สแกนเนีย คือองค์กรระดับโลกที่มุ่งเน้นสร้างระบบขนส่งอย่างยั่งยืน โดยมีการจัดจำหน่ายและให้บริการรถบรรทุกและรถบัสในประเทศต่าง ๆ กว่า  100 ประเทศ ฐานการผลิตของสแกนเนีย ตั้งอยู่ในยุโรป อเมริกาใต้ และเอเชีย ซึ่งสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการในภาคอุตสาหกรรมขนส่ง ด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง อาทิ รถบรรทุก รถบัสโดยสาร เครื่องยนต์ภาคอุตสาหกรรม เครื่องยนต์เรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ รวมถึงบริการที่ครอบคลุมทั้งด้านการเงินสินเชื่อเช่าซื้อ ประกันภัยรถ บริการอะไหล่ บริการซ่อมบำรุงรักษา บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน บริการฝึกอบรมคนขับ ปัจจุบันมีศูนย์สาขาที่ครอบคลุม 10 จังหวัดในประเทศไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!