- Details
- Category: กสทช.
- Published: Wednesday, 28 June 2017 06:59
- Hits: 3720
กสทช.เผย ผู้ผลิตคอนเทนต์บน Youtube พร้อมเข้าระบบ OTT ร่วมสร้างเนื้อหาที่ดี
พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ Over The Top กล่าวว่า คณะอนุกรรมการโอทีทีได้เชิญกลุ่มผู้ผลิตคอนเทนต์บน Youtube หรือ Youtuber เข้าร่วมประชุม เพื่อชี้แจงขอบเขต ขั้นตอน และแนวทางการให้บริการโอทีทีในประเทศไทย โดยผู้ผลิตคอนเทนต์กลุ่มนี้เป็นผู้ผลิตเนื้อหารายการคุณภาพที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ติดตามจำนวนมาก จนสามารถสร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่ Youtube ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ Over The Top
การประชุมของคณะอนุกรรมการโอทีทีในครั้งนี้มีผู้ผลิตคอนเทนต์บน Youtube จำนวน 44 ราย เข้าร่วมประชุม ได้แก่ Dek Jew Chill Out, My Mate Nate, TackleMinecraft, Bie The Ska, Spicydisc, RAP IS NOW, TeamGarryMovieThai, TOPLINE Music Official, OKyouLIKEs, 108Life, Jannine Weigel และ GDH 559 รวมไปถึงผู้ดูแลช่องรายการของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เช่น ช่อง 3 ช่อง 7 ไทยรัฐทีวี ช่องวัน เวิร์คพอยท์ และแกรมมี่ เป็นต้น
“Youtube ถือได้ว่าเป็นโครงข่ายโอทีทีที่เป็นศูนย์รวมของผู้ผลิตคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ มีคุณภาพ และมีมูลค่าการโฆษณาสูง ซึ่งผู้ผลิตคอนเทนต์บน Youtube ที่คณะอนุกรรมการได้เชิญมาวันนี้ยืนยันที่จะแจ้งเป็นผู้ให้บริการและพร้อมที่จะร่วมมือกับ กสทช. การประชุมในวันนี้เสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเพื่อให้โอทีทีเป็นบริการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้ผลิตคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ และมีคุณภาพ ภายใต้กรอบกฎหมายของประเทศไทย” พันเอก ดร. นที กล่าว
วิกฤติรอบใหม่อาจเกิดขึ้นแล้วโดยที่เราไม่รู้ตัว
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
ครบรอบ 20 ปีวิกฤติต้มยำกุ้ง...ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยไหม?
เมื่อ 20 ปีก่อน ในวันที่ 2 ก.ค. 2540 เราต้องยอมจำนนต่อการโจมตีค่าเงิน ทางธปท. ต้องปล่อยเงินบาทให้อ่อนค่าตามกลไกตลาดจากเดิมที่ตรึงค่าเงินไว้ที่ราว 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เงินสำรองระหว่างประเทศถูกใช้ในการปกป้องค่าเงิน แต่จะโทษธปท. ฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะทั้งธนาคารพาณิชย์และนักลงทุนต่างก็มีส่วนในการปล่อยให้ระบบการเงินมีปัญหา ทั้งจากการประเมินสินทรัพย์และความเสี่ยงที่ไม่สอดรับกับปัจจัยพื้นฐาน และความโลภที่บังตา
อย่าว่าแต่เมืองไทยเลย แม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งระดับโลกก็ไม่อาจทำนายวิกฤติการเงินในสหรัฐ ในยุโรป หรืออีกหลายประเทศได้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ต่อให้ในปัจจุบันเราจะมีข้อมูล มีแบบจำลองที่ซับซ้อน และมีผู้เชี่ยวชาญมาเฝ้าระวังมากมาย แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า วิกฤติการเงินจะไม่เกิดขึ้นอีก
อย่าถามนักเศรษฐศาสตร์เลยครับว่าวิกฤติการเงินหรือวิกฤติเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อไหร่และด้วยสาเหตุอะไร ผมว่าเสียเวลาเปล่า เพราะพวกเราไม่เคยทำนายได้ถูกหรอกครับ
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย