- Details
- Category: กสทช.
- Published: Monday, 01 May 2017 09:10
- Hits: 4335
กสท.เล็งคุม'เฟซบุ๊ค-ยูทูบ'นัดประชุมหารือก่อนข้อสรุปสค.
แนวหน้า : พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์(กสท.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ Over The Top ได้บรรยาย เรื่อง "รู้จัก เข้าใจ ความเป็นไปของ OTT ในประเทศ ไทย" ว่า งานวิจัยการกำกับการดูแลการแข่งขันในกิจการโทรทัศน์แบบ OTT ของบริษัท ไทม์ คอนซัลติ้ง ระบุว่า OTT ย่อมาจาก Over The Top หมายถึง การแพร่ภาพและเสียงผ่านโครงข่ายอื่นที่ไม่ได้รับ อนุญาต จะเป็นการให้บริการด้วยเทคโนโลยีใด ก็ตาม หากเป็นไปเพื่อการให้บริการกับคนจำนวนมาก ถือเป็นบริการ OTT
ส่วนแนวทางการกำกับดูแลบริการธุรกิจ OTT ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยควรเป็นแบบประเทศไทย ต้องมีเวลาต่างจากประเทศอื่น แต่ไม่ออกนอกกรอบจนไร้สาระ ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่กระทบประโยชน์สาธารณะ กสทช. ยังบอกไม่ได้ว่าการกำกับดูแลจะเป็นอย่างไร จะกำกับผ่านระบบใบอนุญาตหรือไม่ จะออกระเบียบอย่างไร ตนยังบอกไม่ได้ เพราะอนุกรรมการยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน โดย 4-5 เดือนต่อจากนี้จะมีความชัดเจน
"ผมมั่นใจว่า ภายในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีความชัดเจนของการกำกับดูแลอย่างแน่นอน โดยกฎกติกาที่จะออกมาจะอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. กสท., พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 ส่วนการที่จะเป็นการควบคุมสื่อหรือไม่นั้น ผมขอให้ การออกอากาศของสื่อมวลชนที่ผ่าน Facebook live, You Tube ให้ดำเนินตามปกติ เนื่องจากยังไม่ได้กำหนดใดๆ หรือควบคุมอะไรทั้งสิ้น ยังสามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ"พันเอกนที กล่าว
ทั้งนี้ พันเอกนทีกล่าวว่า จากผลการวิจัย การให้บริการ OTT สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยพิจารณาจากรูปแบบการจัดเก็บรายได้คือ OTT ที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ เรียกเก็บค่าบริการ มุ่งหารายได้, OTT ที่ให้บริการแบบผสมโดยให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกที่จะชมฟรี หรือ ชมรายการพิเศษที่คิดค่าบริการ และ OTT ที่ให้ บริการฟรี
"วันนี้ ผมคิดว่า OTT ในประเทศไทยกำลังเติบโตเร็ว และกำลังจะสร้างผลกระทบกับสาธารณะ เราจึงต้องกำกับดูแล กระบวนการกำกับดูแลจะดูว่าเรื่องในเป็นอำนาจบอร์ด กสท. เรื่องใดเป็นอำนาจของบอร์ด กสทช.เบื้องต้น การประชุมอนุกรรมการ มีการพูดคุยกันหลายเรื่องและยังไม่มีข้อสรุปในองค์รวม คาดว่า ในเดือนพฤษภาคม จะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาพูดคุยทำความเข้าใจ ผมเชื่อว่าการกำกับดูแลจะทำให้ธุรกิจ OTT ดีขึ้น"พันเอกนที กล่าว
หนุนคุม'เฟซบุ๊ค-ยูทูบ' 'นที'ชี้นักวิชาการด้านสื่อ 30 คนหนุน
แนวหน้า : พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ในฐานะประธาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการ โทรทัศน์(กสท.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงาน กสทช.ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกับนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน ประมาณ 30 คน เกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแล OTT (Over The Top) หรือบริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ผ่านโครงข่าย อื่นที่ไม่ใช่โครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ โดยนักวิชาการต่างเห็นพ้องต้องกันว่าควร มีการเข้าไปกำกับดูแลเพื่อไม่ให้เกิดผล กระทบทางลบ ซึ่งได้มีการนำเสนอแนวทางการกำกับดังนี้
1.ควรสร้างความสมดุลเพื่อไม่ให้ กระทบต่อสิทธิเสรีภาพ 2.มีการกำกับดูแลโฆษณาที่ไม่เหมาะสม 3.เสนอแนะให้มีตัว ชี้วัดและหลักเกณฑ์ว่าบริการ OTT ใดที่มี อิทธิพลต่อสาธารณะในวงกว้าง 4.ควรกำกับผ่านแพลตฟอร์ม OTT ด้วยถึงจะมีประสิทธิภาพ เพื่อกลั่นกรองเนื้อหาให้เหมาะสม ก่อนถึงคนชม 5.เนื้อหาจากสื่อเดิมที่นำไปลงบน OTT ควรมีการกำกับแบบเดียวกัน กับการลงบนสื่อเดิม 6.ควรคำนึงถึงประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การขัดต่อศีลธรรมอันดี และประเด็นที่มีเนื้อหากระทบต่อเด็กและเยาวชนด้วย และ 7.ควรส่งเสริมหลักการ รู้เท่าทันสื่อให้ประชาชนแยกแยะข้อเท็จจริงกับความเห็นส่วนตัวได้
พ.อ.นทีกล่าวว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าว เป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นในมุมมองของนักวิชาการ ซึ่งก็มีความเห็นพ้องต้องกันจากนี้ ภายในสัปดาห์หน้าจะเชิญผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องมารับฟังความคิดเห็นด้วย
ส่วนแนวทางจะกำกับ OTT อิสระ ที่อยู่ต่างประเทศ เช่น เฟซบุ๊ค ยูทูบ ไลน์ทีวี อย่างไรนั้น ทางกสทช.ก็ต้องเชิญตัวแทนของเขามารับฟังความคิดเห็นก่อน เพราะต้องยอมรับว่าการใช้งานบนเฟซบุ๊คในไทยก็มี ปัญหาในการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม จึงต้องหาทางออกที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้หลายๆ ประเทศก็เริ่มตื่นตัว ทั้งนี้คาดว่าภายในไม่เกินต้นเดือนหน้าจะเริ่มมี หลักเกณฑ์ เบื้องต้นและผู้ประกอบการ OTT จะมีหลักเกณฑ์ที่ทุกรายต้องปฏิบัติตามไม่เกินเดือนสิงหาคมนี้
"เราปล่อยให้เป็นแบบนี้ไม่ได้ เพราะ ส่งผลกระทบต่อลูกหลานต่อประเทศความเห็น ของอาจารย์ก็สอดคล้องกัน เราต้องหาเส้นแบ่ง ระหว่างการส่งเสริม และการหาทางเอาสิ่งที่ไม่ดี ออกจากระบบให้ได้" พันเอกนที กล่าว
กสทช.เตรียมหารือผู้ให้บริการ OTT รวม Facebook-YouTube หลังเปิดรับฟังนักวิชาการ คาดเคาะแนวทางกำกับ ก.ค.
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) แถลงความคืบหน้าที่ กสทช.จะการกำหนดแนวทางกำกับดูแลธุรกิจที่ใช้กระบวนการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอื่นที่มิใช่โครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Over the Top (OTT)
พ.อ.นที เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ กสทช.ได้เชิญนักวิชาการสื่อสารมวลชนมาพบปะเพื่อหารือแลกเปลี่ยนความเห็น โดยนักวิชาการมีความเห็นควรมีการกำกับดูแล OTT ดังนี้
1.เสนอแนะให้มีการสร้างความสมดุลในการดูแลการประกอบกิจการ เพื่อมิให้กระทบต่อการสร้างสรรค์ และการเกิดขึ้นของการให้บริการกระจายเสีบงและโทรทัศน์ใหม่บน Platform OTT
2.เสนอแนะให้มีการกำกับดูแลโฆษณาที่ไม่เหมาะสมในบริการ OTT โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.เสนอแนะให้มีการกำหนดตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์ว่า บริการ OTT ใดที่มีอิทธิพลต่อสาธารณะในวงกว้าง
4.เสนอแนะให้มีการกำกับดูแลผ่าน Platform ที่ให้บริการ โดยให้ Platform มีหน้าที่เบื้องต้น ในการกลั่นกรองบริการให้เหมาะสมก่อนที่จะมีการเผยแพร่ไปยังผู้รับชม
5.เนื้อหาที่สำคัญบน OTT หรือเนื้อหาจากสื่อเดิม ต้องมีการกำกับดูแลในลักษณะเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเนื้อหาแบบเดียวกันนำเสนอบนสื่อเดิม แต่สามารถนำเสนอบนสื่อใหม่ได้
6.ควรคำนึงถึงประเด็นการละเมิดสิทธิ์ การขัดต่อศีลธรรมอันดี และประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน
7.เสนอแนะให้ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อแก่ประชาชน เพื่อให้สามารถแยกแยะระหว่างข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และความเห็นส่วนตัว
พ.อ.นที กล่าวว่า หลังจากนี้ ภายในเดือน พ.ค.นี้ ทาง กสท. จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการรายเดิม หรือวิทยุ ,โทรทัศน์ จากนั้นก็จะส่งหนังสือเชิญผู้ประกอบกิจการ OTT ได้แก่ ตัวแทนจาก Facebook , YouTube ,LIVE Instagram หรือสื่อต่างๆ ที่มีการเผยแพร่ในรูปแบบวิดิโอ
และในเดือน มิ.ย.60 กสท.ก็จะนำเสนอความคิดเห็นต่างๆ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท.เพื่อกำหนดแนวทาง หรือหลักการกำกับดูแล OTT ต่อไป คาดว่าจะสามารถสรุปและเริ่มนำไปสู่การปฏิบัติได้ภายในเดือน ก.ค.60
"หลักเกณฑ์ในการดูแลเนื้อหาที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ทั้ง Facebook และ YouTube คงต้องมีการพูดคุยกันต่อไปว่าควรจะมีแนวทางอย่างไร ทั้งนี้จากการพูดคุยเบื้องต้นทั้ง Facebook และ YouTube รับทราบถึงปัญหาเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อพูดคุยกับทุกกลุ่มแล้วปลายเดือน พ.ค.ถึงต้นเดือน มิ.ย.น่าจะเห็นรูปแบบที่เป็นไปได้ในการดูแล โดยเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะมีการนำเสนอแนวคิดในการดูแลในเดือนมิ.ย.ก่อนจะออกมาเป็นแนวทางในการดูแลประมาณเดือน ก.ค.60" พ.อ.นที กล่าว
อินโฟเควสท์