WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBTCกสทช.คาดพ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่คลอดในปีนี้ ชี้หักเงิน 25% จากการประมูลคลื่นความถี่เข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ

   สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) แถลงเปิดร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ กับอนาคตสำนักงาน กสทช. โดยมี พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการ กสทช. เป็นผู้ให้ข้อมูล กสทช.คาด พ.ร.บ.กสทช. ฉบับใหม่คาดคลอดภายในปีนี้  จากปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสนช.วาระ 2 โดยเนื้อหาที่มีการเปลียนแปลงสาระสำคัญที่มีผลต่อกสทช.โดยตรง คือ ที่มาและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกสทช. โดยมีสาระสำคัญดังนี้

     กสทช.คาด ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ใหม่จะประกาศบังคับใช้ได้ภายในปีนี้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระที่ 2 ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อพิจารณาร่างในรายมาตรา ซึ่งเดิมต้องแล้วเสร็จภายใน 60 วัน คือ ภายในวันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่ได้มีการขยายเวลาออกไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งได้มีการพิจารณาไปกว่าครึ่งแล้ว โดยหากผ่านวาระ 2 แล้วกระบวนการต่อไปจะเสนอให้สภาฯพิจารณา และหลังจากนั้นรอลงราชกิจจานุเบกษา โดยเนื้อหาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสำคัญและมีผลต่อกสทช.โดยตรง คือ ที่มาและอำนาจของคณะกรรมการกสทช. รวมถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)

    ในส่วนของอำนาจของกสทช.ที่เปลี่ยนแปลง เช่น มอบหมายให้สำนักงานกสทช.เป็นผู้อนุญาตแทน กสทช.เฉพาะการอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคม และกสทช.สามารถเรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ากลับมาจัดสรรได้ก่อนระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องมีการกำหนดวิธีทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ที่ถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ในแต่ละกรณีด้วย ต่างจากพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2535 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้กำหนดเรื่องการเรียกคืนคลื่นความถี่ก่อนจะหมดอายุสัญญาสัมปทานดังกล่าว และพ.ร.บ.ใหม่ได้เพิ่มในเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ของกิจการโทรคมนาคมว่าสามารถไม่ต้องประมูลได้หากคลื่นความถี่มีไม่จำกัด และคลื่นความถี่สามารไปใช้ร่วมกับกิจการอื่นได้ และขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกสทช.ที่กำหนดไว้จากเดิมนั้นที่ต้องใช้วิธีการประมูลเท่านั้น ขณะเดียวกันการดำเนินงานของกสทช.ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายใหม่จะต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่กสทช.ยังมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ

     นอกจากนี้ ได้มีการยกร่างพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกำหนดให้นำเงินที่เกี่ยวข้องกับกสทช. 2 ส่วน คือ 1.เงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ ให้กสทช.นำส่งรายได้เข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกองทุน DE จำนวน 25% ที่เหลือให้นำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน จากเดิมจะเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน 100% และเงินที่ได้จากการประมูลทีวีดิจิตอลเข้ากองทุน DE 25% ที่เหลือนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน จากเดิมที่เข้ากองทุนกสทช.100% และ 2. รายได้ประจำของสำนักงานกสทช.ที่มาจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และผลประโยชน์อื่นๆ จากเดิมเข้าเป็นรายได้ประจำของกสทช.100% ต้องนำส่งกองทุน DE จำนวน 25% ส่วนที่เหลือจึงเป็นรายได้ของกสทช.

     สำหรับที่มาของกสทช.ชุดใหม่จะเหลือ 7 คน จากเดิมที่มี 11 คน โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ได้แก่ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม วิศวกรรม กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และคุ้มครองผู้บริโภค โดยจะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น เช่น จะต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป ตำแหน่งทางวิชาการสูงกว่ารองศาสตราจารย์ขึ้นไปไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือเคยเป็นนายทหารหรือตำรวจที่มียศตั้งแต่พลโท พลอากาศโท พลเรือโท หรือพลตำรวจโทขึ้นไป หรือเคยเป็นผู้บริหารมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทมหาชนที่มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท หรือมีประสบการณ์ทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยจะต้องมีอายุ 45-65 ปี จากเดิมที่กำหนดมีอายุ 35-70 ปี

     "คาด พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่น่าจะประกาศบังคับใช้ได้ภายในปีนี้ เพราะปัจจุบันอยู่ในการพิจารณาของสนช.วาระ 2 ซึ่งมีการพิจารณาไปแล้วมากกว่าครึ่ง สาระสำคัญของพ.ร.บ.ใหม่ที่มีผลกสทช.โดยตรง คือที่มาของกสทช.ที่ลดจำนวนจาก 11 คนเหลือ 7 คน และต้องมีคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้น โดยต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป ตำแหน่งทางวิชาการสูงกว่ารองศาสตราจารย์ขึ้นไปไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือเคยเป็นนายทหารหรือตำรวจที่มียศตั้งแต่พลโท พลอากาศโท พลเรือโท หรือพลตำรวจโทขึ้นไป หรือเคยเป็นผู้บริหารมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทมหาชนที่มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท

     หรือมีประสบการณ์ทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ซึ่งมีผู้มองว่าคุณสมบัติสูงเกินไปหรือไม่ แต่ส่วนตัวมองว่าเรื่องดังกล่าวอาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ส่วนการให้อำนาจกสทช.เรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ากลับมาจัดสรรก่อนระยะเวลากำหนดนั้น ปัจจุบันมีคลื่นของหน่วยงานหลายองค์กร เช่น ทีโอที อสมท. หน่วยงานราชการ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพราะไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าแต่ละองค์กรใช้มีประสิทธิภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการยึดคืนจะต้องมีการจ่ายค่าชดเชยเพื่อให้ผู้ที่มีคลื่นดังกล่าวยอมให้คืนคลื่นกับกสทช." พล.อ.ต.ธนพันธุ์ กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!