WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBCTน.พ.ประวทย ลสถาพรวงศา copyกสทช.จี้'แบงก์-ค่ายมือถือ'ล้อมคอก ป้องกันโจรกรรมออนไลน์ ห่วงแฮกข้อมูลลายนิ้วมือ

   แนวหน้า : นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หรือ 'หมอลี่'หนึ่งในกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ(กสทช.) เขียนบทความเรื่อง "เรื่องขโมยเงินออนไลน์ อันตรายผ่านมือถือ" โดยระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวมิจฉาชีพขโมยเงินเกือบล้านบาทออกจากบัญชีธนาคารของร้านขายอุปกรณ์ประดับยนต์ โดยการหลอกขอสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของร้าน แล้วไปติดต่อขอออกซิมการ์ดมือถือเลขหมายของเจ้าของร้าน เพื่อใช้มือถือไปสวมรอยขอรหัส เข้าระบบ "อินเตอร์เนตแบงกิ้ง" หรือธนาคาร ออนไลน์ของเจ้าของร้านอีกต่อหนึ่ง แล้วโอนเงินเกือบล้านบาทออกไปในเวลาอันรวดเร็ว เป็นข่าวที่สะเทือนขวัญและสร้างความกังวลแก่ผู้ใช้ระบบธนาคารออนไลน์ หรือผู้ที่กำลังจะขอใช้บริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ทั้งนี้ หากเราเปิดบริการอินเตอร์เนตแบงกิ้ง ก็ควรตรวจสอบยอดเงินในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ หากมีการเคลื่อนไหวของบัญชีผิดปกติ ก็จะรู้ปัญหาและแก้ไขได้โดยเร็ว อย่างไรก็ตาม จุดที่ควรมีการปรับปรุง เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ได้แก่ การกำหนด Security Standard ของโครงข่ายบริการและมีกระบวนการ Security Audit ทั้งของ ฝั่งธนาคารและฝั่งค่ายมือถือ เพื่อปิดช่องโหว่ ของระบบบริการ นอกจากนี้ ควรการปรับปรุง ขั้นตอนการออกซิมใหม่ และการขอรหัสผ่านอินเตอร์เนตแบงกิ้งใหม่ให้รัดกุมยิ่งขึ้น

    "จะเห็นได้ว่ากรณีที่เป็นข่าว บางแง่มุม อาจเกิดจากการรู้ไม่เท่าทันของผู้บริโภค แต่หากธนาคารและค่ายมือถือมีระบบที่รัดกุม กรณีนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นกัน เราจึงควรหามาตรการ จัดการปัญหาเชิงระบบด้วย ซึ่งกรณีนี้ได้ชี้ให้เห็นช่องโหว่ของระบบบริการได้เป็นอย่างดี"

    อย่างไรก็ตาม การกำหนดมาตรการใหม่ ควรจะมีการหารือร่วมกันจากทุกฝ่าย เพื่อประเมินความเป็นไปได้และภาระในการดำเนินการ เช่น กรณีการใช้ลายนิ้วมือในการลงทะเบียนซิมและขอซิมใหม่นั้น หากผู้ให้บริการไม่มีระบบตรวจสอบลายนิ้วมือออนไลน์ตามสาขาต่างๆ ก็ไม่สามารถป้องกัน ปัญหาการสวมรอยได้อยู่ดี แต่หากจะมีระบบ ตรวจสอบลายนิ้วมือออนไลน์ก็ต้องคำนึงถึงต้นทุน ในการวางระบบให้ทั่วถึงด้วย และหากเกิดการแฮกฐานข้อมูลลายนิ้วมือจะแก้ไขอย่างไร

    นายแพทย์ประวิทย์ กล่าวว่า แม้ในต่างประเทศก็พัฒนาเทคโนโลยี Biometrics ต่างๆ มาทดแทนลายนิ้วมือ เช่น Finger Vein Recognition แต่ขบวนการมิจฉาชีพ ก็ยังสามารถเจาะระบบความปลอดภัยของลายนิ้วมือได้แล้ว ดังนั้นจึงต้องมีการหารือเกี่ยวกับข้อเสนอต่างๆ อย่างรอบคอบ ไม่เต้น ไปตามกระแส

    ทั้งนี้ ลายนิ้วมือที่จัดเก็บทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือว่ายิ่งสะดวกต่อการนำไปก่อเหตุต่างๆ ซึ่งอันตรายมากกว่าเกิดการ แฮกเลขบัตรเครดิต แฮกรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งกรณีบัตรเครดิตเราสามารถออกเลขบัตรเครดิต หรือรหัสผ่านใหม่ได้ แต่กรณีลายนิ้วมือ คนเราไม่สามารถออกลายนิ้วมือใหม่ได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!