WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBCTฐากร ตณฑสทธกสทช.เผย ADVANC ชนะประมูล 900 MHz ที่ราคา 75,654 ลบ.รอเสนอบอร์ดกทค.รับรองผล

    สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ในเครือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) เป็นผู้ชนะประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz เป็นการชั่วคราวหลังเคาะยืนยันราคาเริ่มต้นประมูลที่ 75,654 ล้านบาทในครั้งแรก และไม่มีผู้แข่งราคา เนื่องจากเป็นผู้เข้าประมูลเพียงรายเดียว

       ทั้งนี้  กสทช.จะนำผลการประมูลดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณารับรองผลการประมูลอย่างเป็นทางการต่อไป

       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า ขั้นตอนการประมูลวันนี้ผู้เข้าประมูลจะเคาะยืนยันราคาตั้งต้น 75,654 ล้านบาทหนึ่งครั้งจะถือว่าเป็นผู้ชนะการประมูล จากนั้นจะมีการประชุมของคณะกรรมการธรรมาภิบาลการประมูลคลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมย่าน 900 MHz และมีการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เพื่อรับรองผลการประมูลในบ่ายวันนี้

กสทช. ยันพร้อมจัดประมูลคลื่น 900 MHz วันที่ 27 พ.ค.นี้ ย้ำทุกอย่างรอบคอบ-ถูกต้องตามกฏหมาย

       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. มีความพร้อมเต็มที่สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 พ.ค. 2559 โดยในวันนี้ (25 พ.ค. 2559) สำนักงานได้มีการจัดจัดการประชุมชี้แจงกระบวนการประมูลและการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) สำหรับผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมการประมูล ซึ่งได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลได้ทำความรู้จักซอฟท์แวร์ที่จะใช้ในการประมูล รวมถึงกฎการประมูล

      สำหรับ การจัดประมูลรอบสาธิตในวันนี้ สำนักงาน กสทช. ได้เปิดอาคารหอประชุมชั้น 1 และห้องประชุมชั้น 4 อาคารอำนวยการ เป็นสถานที่จัดการประชุมชี้แจงกระบวนการประมูลและการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) สำหรับผู้เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz สำหรับในช่วงแรกจะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับสถานที่จัดการประมูล กำหนดการวันประมูล การปฏิบัติตนในวันประมูล และกฎการประมูล จากนั้นจะอธิบายซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมูลให้ผู้เข้าร่วมการประมูลได้รับทราบ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ทดลองใช้ซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในการประมูล เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลเกิดความคุ้นเคยกับกฎ และโปรแกรมในการประมูล สำหรับซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมูลครั้งนี้ออกแบบตามกฎการประมูลที่ กสทช. กำหนด และมีการแสดงผลต่าง ๆ ให้ผู้เข้าร่วมประมูลรับทราบผลการประมูลของตัวเอง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการประมูลในรอบต่อไป

       นายฐากร กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ได้พาสื่อมวลชนเยี่ยมชมห้องประมูลที่ใช้ชั้น 3 ของอาคารอำนวยการ โดยภายในห้องประมูลได้แบ่งโซนเคาะราคาประมูล โซนรับประทานอาหาร และโซนพักผ่อน ภายในโซนเคาะราคาประมูล สำนักงาน กสทช. ได้จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายสำหรับการประมูลที่ติดตั้งโปรแกรมการประมูล จำนวน 2 เครื่อง เป็นเครื่องใช้งานจริงหนึ่งเครื่องและเครื่องสำรองหนึ่งเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้ผู้แทนผู้เข้าร่วมการประมูลใช้ในการวางแผนการประมูล จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งแต่ละเครื่องจะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows โปรแกรม Microsoft Office และ Acrobat Reader พร้อม Printer จำนวน 1 เครื่อง

    สำหรับ สิ่งของและอุปกรณ์ที่อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมประมูลนำเข้าห้องประมูลได้คือ ของใช้ส่วนตัว ยารักษาโรคและอุปกรณ์ทางการแพทย์ แผ่นบันทึก CD DVD ที่บันทึกข้อมูลหรือสื่อมัลติมีเดีย เอกสารหรือหนังสือตามความเหมาะสม สิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว รวมทั้งเครื่องมือสื่อสารและคอมพิวเตอร์ใด ๆ ไม่อนุญาตให้นำเข้าห้องประมูล

      ทั้งนี้ ระหว่างการประมูลจะจัดผู้ประสานงานผู้เข้าร่วมการประมูลไว้ 4 คน รวมทั้งมีการติดตั้ง CCTV บริเวณพื้นที่ห้องประมูลด้วย และจะมีการติดตั้งหน้าจอแสดงผลจาก CCTV ที่ติดตั้งบริเวณพื้นที่ห้องประมูลที่ห้องรับรองชั้น 4 อาคารอำนวยการ สำหรับห้องควบคุมการประมูลจะอยู่ที่ห้องประชุมชั้น 4 อาคารอำนวยการ และได้จัดอาคารหอประชุมชั้น 1 เป็นห้องสื่อมวลชนสำหรับสังเกตการณ์ประมูล โดยจะจัดให้มีจอมอนิเตอร์แสดง Observer Screen จากซอฟต์แวร์การประมูล ซึ่งจะแสดงราคาประมูลในแต่ละล็อต แต่จะไม่แสดงว่าใครคือผู้เสนอราคา และได้จัดเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่ออำนวยความสะดวกไว้ด้วย ซึ่งสำนักงานได้มีการเตรียมเครื่องไฟฟ้าสำรองกรณีไฟฟ้าดับ หรือขัดข้อง และการรักษาความปลอดภัยสำหรับการประมูลไว้แล้ว

    “สำนักงาน กสทช. พร้อมเต็มที่สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เราดำเนินการทุกอย่างด้วยความรอบคอบ ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้การประมูลครั้งนี้ประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยคำนึงถึงประของประชาชนและรัฐเป็นที่ตั้ง” นายฐากร กล่าว

กสทช. ซักซ้อมประมูล 900 MHz รอบใหม่ คาดจบใน 20 นาที - สรุปเรียกค่าเสียหาย JAS เข้าบอร์ด กทค.1 มิ.ย. นี้

    นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. มีความพร้อมเต็มที่สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในวันที่ 27 พ.ค.59 โดยในวันนี้ได้จัดประชุมชี้แจงกระบวนการประมูลและการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) สำหรับผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมการประมูล คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด(AWN) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลได้ทำความรู้จักซอฟท์แวร์ที่จะใช้ในการประมูล รวมถึงกฎการประมูล

    ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการจัดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz รอบสองนี้สำนักงาน กสทช.คาดว่าจะใช้งบราว 7 ล้านบาทเศษ ปรับลดลงจากครั้งแรกที่ประเมินการใช้งบที่ 18 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นงบ การจัดซื้อซอฟท์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา นอกนั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายจัดเตรียมสถานที่

    นายฐากร กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายการจัดประมูลครั้งใหม่นี้จะเรียกเก็บจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ทิ้งใบอนุญาตที่ประมูลได้ในครั้งก่อน จึงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

  ส่วนผู้เข้าประมูล คือ AWN จะส่งรายชื่อตัวแทนที่จะเข้าร่วมประมูลภายในเย็นวันนี้ ภายใต้ข้อกำหนด จำนวนผู้เข้าห้องประมูลไม่เกิน 10 คน โดยคาดว่า AWN น่าจะส่งตัวแทนร่วมประมูลไม่เกิน 3 คน

  ทั้งนี้ ในวันประมูลจะเริ่มเคาะราคากันตั้งแต่เวลา 9.30 น.โดยจะเป็นการเคาะราคาครั้งแรกเพื่อยืนยัน ราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท และคาดว่าคงจะไม่มีการเคาะราคาครั้งต่อไป จึงคาดว่าใช่เวลา ประมูลไม่เกิน 20 นาที จากนั้นจะสรุปชื่อผู้ชนะประมูล และในช่วงบ่ายวันเดียวกันจะนำเสนอให้คณะ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ประชุมเพื่อรับรองผลการประมูล

    หลังจาก คณะกรรมการ กทค.รับรองผลประมูลแล้วจะให้เวลา 90 วัน คือภาย ในวันที่ 24 ส.ค.เพื่อให้ AWN นำเงินชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกจำนวน 8,040 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) วงเงินรวม 75,654 ล้านบาทมามอบให้กับ กสทช. จากนั้น จะออกใบอนุญาตได้ภายในไม่เกิน 2 วัน โดย กสทช.คาดว่า AWN จะนำเงินมาชำระได้ก่อนวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการ เยียวยาผู้ใช้บริการคลื่น 900 MHz เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซิมดับ โดยผู้ใช้บริการคลื่น 900 MHz ใน ระบบ 2G ของเอไอเอสมีอยู่ประมาณ 4 แสนเลขหมาย

    สำหรับ การดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายจากแจสโมบายฯ นั้น นายฐากร กล่าวว่า คณะทำงานพิจารณาความรับผิดกรณีแจสโมบายฯไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข การดำเนินการก่อนรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่ย่าน 900 MHz ได้ประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวานนี้และได้ข้อสรุปผลประชุมแล้ว ซึ่งได้เร่งรัดการจัดส่งผลประชุมมายังเลขาธิการ กสทช. เพื่อพิจารณาว่ามีความเห็นต่างกับคณะทำงานหรือไม่ รวมทั้งเลขาธิการต้องมีความเห็นเพิ่มเติม เพราะมีหลายประเด็นที่มีเสียงก้ำกึ่ง ก่อนจะนำส่งผลการ ประชุมและความเห็นของเลขาธิการ กสทช.ต่อคณะกรมการ กทค.ในการประชุมวันที่ 1 มิ.ย. นี้

    นายฐากร ปฏิเสธที่จะตอบว่าจะมีการเรียกเก็บค่าเสียหายกับแจสโมบายฯ จำนวน 130-150 ล้านบาทตามที่เป็นข่าวหรือไม่ แต่ย้ำว่าการเรียกเก็บค่าเสียหายจะต้องเป็นไปตามกฎหมายแพ่ง และประกาศของ กสทช. หาก แจส โมบายฯ ไม่ยอมรับก็ต้องต่อสู้ในชั้นศาลต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!