WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TDRIสมเกยรต ตงกจวานชยนักวิชาการ'ทีดีอาร์ไอ'ติงการสรรหา'กสทช.'ตามกม.ใหม่

      แนวหน้า : นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวปาฐกถกา เรื่อง "กฎหมาย กสทช. ฉบับใหม่กับการปฏิรูประบบวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคมไทย" ในการ ประชุมขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เรื่อง NBTC Policy Watch : 5 ปี กสทช. กับอนาคตการสื่อสารไทย ว่า ร่างพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมหรือกฎหมาย กสทช.ฉบับใหม่ยังมีสิ่งที่น่ากังวลอยู่บ้าง อาทิ ที่มาของกรรมการ กสทช.

      กล่าวคือมีการกำหนดว่าต้องมีอายุ 45-65 ปี, ถ้าเป็นข้าราชการพลเรือน หรือรัฐวิสาหกิจกต้องมีตำแหน่งระดับอธิบดีขึ้นไป, ถ้าเป็นข้าราชการทหารต้องดำรงตำแห่งพลโทขึ้นไป, ถ้าอยู่ในธุรกิจต้องมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่และมีทุน จดทะเบียน 1,000 ล้านบาท, ถ้าเป็นผู้ทำงานในกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคต้องมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 10 ปี

    "โดยรวมทำให้เห็นว่าวิธีการ เลือกไม่ได้กำหนดว่ากรรมการจะต้องมี กรรมการที่เป็นตัวแทนด้านใดแต่ ใช้วิธี การเลือกรวมกันทั้งหมด วิธีนี้อาจทำให้ได้ กรรมการหน้าตาหรือมีที่มาเหมือนกันทั้งหมดได้"

   สำหรับ ประเด็นผู้สรรหา กรรมการ กสทช. ส่วนใหญ่กรรมการสรรหามาจากฝั่งตุลาการเกือบทั้งหมดทำให้เหมือนจะเป็นตุลาการภิวัฒน์กลายๆ และเมื่อรวมกับตัวแทนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช)., กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ ทำให้มอง ไม่เห็นการเชื่อมโยงการสรรหากับภารกิจในการกำกับกิจการโทรคมนาคมและกิจการ กระจายเสียง ดูเหมือนเป็นการเลือกคนที่น่าเชื่อถือในสายตาผู้ร่างกฎหมายที่จะเลือกคนเข้าไปทำงาน

   ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า ที่มาของ คณะกรรมการสรรหากสทช.นั้น เข้าใจว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการ ร่างรัฐธรรมนูญ ต้องการสร้างธรรมาภิบาลให้ กสทช. เนื่องจากที่ผ่านมา กสทช. มีปัญหาเรื่องการใช้จ่ายเงิน ดังนั้นหากได้ผู้คัดสรรที่มีวัยวุฒิ และคุณวุฒิจาก หน่วยงานดังกล่าวมาคัดสรร ก็จะได้ กรรมการกสทช.ที่ทำงานโดยปราศจากปัญหาดังกล่าว

     อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ เป็นการร่างโดยอดีตรมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) นายพรชัย รุจิประภา ในสมัยที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ยังดำรงตำแหน่งเป็น รองนายกรัฐมนตรี โดยกสทช.ยังไม่ได้ลงความเห็นเพิ่มเติม โดยภายในสัปดาห์หน้า ตนเองจะเข้าไปชี้แจงกับกรรมาธิการที่สนช.ตั้งขึ้น ทั้งนี้คาดว่าพ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่จะเสร็จ ภายในเดือนส.ค.นี้

สับเละร่างพ.ร.บ.กสทช.ใหม่ทีดีอาร์ไอชี้5จุดด้อยเลวร้ายปิดกั้นประมูล-เปิดวิ่งเต้น

    ไทยโพสต์ : พญาไท * ประธานทีดีอาร์ไอ ชี้ร่าง พ.ร.บ. กสทช.ฉบับใหม่ ยังไม่เหมาะสม แจงจุดด้อย 5 จุด ปิดกั้น จำกัดเสรีภาพ ไม่มีการประมูล และก่อให้เกิดการวิ่งเต้น ฐากร ระบุขอเบิกจ่ายแบบตรวจสอบได้

   นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนา ประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวภายในงานสัมมนา " NBTC Policy Watch : 5 ปี กสทช.กับอนาคตการสื่อสารไทย ว่า ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมฉบับใหม่ มีข้อที่ต้องจับตาสังเกต คือ 1.คุณสมบัติของผู้เข้ามาเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่เขียนค่อนข้างปิดกั้น ทั้งในแง่อายุ และคุณสมบัติของผู้ทำงาน ซึ่งเห็นว่าเป็นการปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน รวมถึงไม่ได้ระบุว่า กรรมการจะต้องมาจากภาคส่วนไหน ซึ่งก็เป็นไปได้ว่า กรรมการ กสทช.อาจจะเป็นทหารทั้งหมดเลยก็ได้

      ส่วนประเด็นที่ 2 คือ กรรมการสรรหา กสทช. ส่วนใหญ่กรรม การสรรหามาจากฝั่งตุลาการเกือบทั้งหมด ซึ่งไม่เห็นความเชื่อมโยงของกรรมการว่าจะมีความเข้าใจในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคมหรือไม่

      ในประเด็นที่ 3 ระบบตรวจสอบ กสทช. ก็ให้ความหวังกับราชการเกิน โดยร่างใหม่ระบุให้ สตง.ตรวจสอบ จึงถือว่าเป็นการเกาไม่ ถูกจุดที่จะให้ กสทช.มีธรรมาภิบาล มากขึ้น ส่วนส่วนประเด็นที่ 4 เรื่องกฎกติกา การแข่งขัน ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ อาจทำให้ไม่เห็นการประมูลในประเทศไทยอีกต่อไปเลยก็เป็นได้ เพราะกฎหมายเน้นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและสาธารณะชนเป็นหลัก ไม่ใช่เม็ดเงิน โดยเฉพาะในด้านกิจการกระจายเสียง กฎหมายห้ามประมูล ส่วนด้านโทรคมนาคม แม้จะระบุว่าให้ใช้วิธีประมูล แต่ก็เปิดช่องให้คลื่นที่มีจำนวนไม่จำกัด ไม่ต้องประมูล โดยให้อำนาจ กสทช. ตัดสินใจว่าคลื่นใดควรประมูล

   สำหรับ ประเด็นที่ 5 การบริการอย่างทั่วถึง ร่างกฎหมายใหม่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ไปทำบริการสาธารณะให้ทั่วถึง แล้วรัฐจะจ่ายเงินให้รัฐวิสาหกิจ ตรงนี้อาจขัดกับหลักเกณฑ์การแข่งขัน

      "สรุปแล้ว ถ้ากฎหมายเช่น นี้ผ่านสภานิติบัญญัติ จะเกิดปัญหา คือมรดกเก่าที่มีปัญหาจะไม่ได้แก้ไข เลย, การแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมจะคงอยู่และเพิ่มมากขึ้น, เสรีภาพของสื่อและประชาชนจะถูกลิดรอนไป เพราะเห็นความสำคัญกับความมั่นคงความกว่าเสรีภาพ เห็นความสำคัญของการแข่งขันมากกว่าการคุ้มครองผู้บริโภค, ระบบธรรมาภิบาลจะเสียไป หน่วยงานตุลาการจะถูกลากมาอยู่กับวงการที่มีการแข่งขันวิ่งเต้นมากและทำให้เกิดการวิ่งเต้นเกิดขึ้น" นายสมเกียรติกล่าว

       ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า ที่มาของคณะกรรมการสรรหา กสทช.นั้น เข้าใจว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องการสร้างธรรมาภิบาลให้ กสทช. เนื่องจากที่ผ่านมา กสทช.มีปัญหาเรื่องการใช้จ่ายเงิน อย่างไรก็ดีภายในสัปดาห์หน้า ตนเองจะเข้าไปชี้แจงกับกรรมมาธิการศึกษา ที่ สนช.ตั้งขึ้นโดยสิ่งที่จะเสนอคือ การให้การบริหารจัดการรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัดสรรและกำกับดูแลของ กสทช.ทั้งนี้ ตนมองว่า ควรนำรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งหมด นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเมื่อต้องการใช้เงินก็ให้ทำการเบิกจ่ายจากรัฐ ในรูปแบบเดียวกันกับงบประมาณทั่วไป เพื่อจะได้ตัดข้อสงสัยเรื่องความไม่โปร่งใสที่หลายฝ่ายเป็นกังวล อีกทั้งจะช่วยทำให้ กสทช.มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!