WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BNTCนท ศกลรตนกสทช.รับทีวีดิจิตอลรอดแค่ 10 กว่าราย ยังไม่ประมูลใหม่หากมีคืนไลเซ่นส์

    พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยถึงแนวโน้มธุรกิจทีวีดิจิตอลยอมรับว่า ทั้ง 24 ช่องทีวีดิจิตอล ไม่สามารถประสบผลสำเร็จทั้งหมด โดยคาดว่าอย่างน้อยมี 10 ช่องสามารถอยู่รอดและเป็นช่องทีวีในใจผู้บริโภคได้ โดยต้องรอดูอีกระยะหนึ่ง เพราะมีหลายช่องที่กำลังต่อสู้เพื่อให้อยู่รอดได้ ขณะเดียวกัน กสทช.ต้องช่วยให้ผู้ประกอบการอยู่รอดได้

     ทั้งนี้ ผู้ประกอบการแต่ละรายมีความสามารถแตกต่างกันไป รวมทั้งสายป่านยาวสั้นไม่เหมือนกัน เท่าที่สังเกตุเห็นจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกที่เป็นรายเดิมที่ประกอบธุรกิจอยู่แล้ว มี 6 ช่อง คือ ช่อง 3 (มี 3 ช่อง), ช่อง 7, ช่อง 9 (มี 2 ช่อง) กลุ่มนี้ยังพอมีกำไรอยู่ แต่กำไรลดลงเพราะถูกชิงส่วนแบ่งจากรายใหม่ที่เข้ามา

    กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เคยเป็นผู้ผลิตคอนเท้นท์รายใหญ่ สามารถยึดครองส่วนแบ่งตลาดในทีวิดิจิตอลได้ มีประมาณ 5-7 ช่อง ได้แก่ บมจ.เวิร์คพ้อยท์ เอ็นเทอร์เมนท์ (WORK) บมจ.อาร์เอส (RS) บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GRAMMY) ทรูวิชั่นส์ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้คาดว่าจะเริ่มทำกำไรได้ภายในปีนี้

    กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่เป็นรายใหญ่เฉพาะทาง ส่วนใหญ่เคยเป็นผู้ผลิตรายการข่าวมาก่อน ได้แก่ เนชั่นทีวี  สปริงนิวส์ วอยซ์ทีวี และไบรท์ทีวี ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าลำบากที่สุด เพราะก่อนเข้ามาประมูลมีประสบการณ์เพียงรายการข่าวเท่านั้น

     ส่วนกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มทุนธุรกิจที่มีสายป่านยาว และบางรายก็เคยทำคอนเท้นน์มาก่อน ได้แก่ ไทยรัฐทีวี, นิวทีวี, อัมรินทร์ทีวี และ พีพีทีวี เป็นต้น

    "กลุ่มช่องเดิมถูกแบ่ง Market Share ออกไป ถ้าต้องการได้กลับมาเหมือนเดิมก็ต้องเพิ่มช่องเข้ามาอย่างช่อง 3 ทีมี ช่อง 3SD  ช่อง 3 Family ช่อง 3 HD  ส่วนช่อง 9 (MCOT) ได้ใหม่อีก 1 ช่อง (ช่องเด็ก) แต่ช่อง 7 เพิ่มช่องใหม่ไม่ได้ เค้กก็จะเล็กลง"พ.อ.นที กล่าว

    พ.อ.นที กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจทีวีดิจิตอลเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ อย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือ ไต้หวัน ก็เหลือ 7-8 ช่อง ซึ่งการที่ กสทช.เปิดประมูล 24 ช่องเป็นการเปิดโอกาสให้กับทุกราย แต่จากการกำหนดเวลาประมูลไว้ที่ 1 ชั่วโมง ทำให้ไม่ได้แข่งขันกันรุนแรงเหมือนการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคม

     "ปัญหาทีวีดิจิตอลเป็นเพราะมีซัพพลายมากถึง 4 เท่าตัว การเกิดมามากทำให้ช็อคตลาด แต่สุดท้ายระบบการแข่งขันจะคัดไปเอง  ทุกคนลองผิดลองถูก แต่ละช่องก็พยายามหาสไตล์ของตัวเอง อาทิ ไทยรัฐทีวี นำการถ่ายทอดฟุตบอลไทย , แกรมมี่ หันไปจับกลุ่มวัยรุ่น  เป็นต้น ซึ่งพยายามจับ nich Market"พ.อ.นที กล่าว

       ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัว เพราะมีต้นทุนค่าใบอนุญาต การลงทุนคอนเท้นท์ เป็นภาระแต่ละช่อง โดยจะรอดูว่ามีรายใดที่ไม่สามารถจ่านเงินค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 ที่จะถึงกำหนดในเดือน พ.ค.59 นี้บ้าง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หากผู้ประกอบการรายใดต้องการคืนใบอนุญาตก็ต้องยึดแบงก์การันตีตามหลักเกณฑ์ และยืนยันว่าภายใน 1 ปีจะยังไม่มีการเปิดประมูลรอบใหม่

    ด้านนายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท(MCOT) กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทยังไม่ตัดสินใจจะคืนใบอนุญาตทีวีดิจิตอลช่องเด็ก โดยจะขอรอดูข้อเสนอการแก้ไขปัญหาของ กสทช.ก่อน

    ทั้งนี้ กสทช. ได้จัดตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาทีวีดิจิตอล ซึ่งได้ประชุมมา 3 ครั้งแล้ว ได้สรุปปัญหา 10 ข้อเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ กสทช. เพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขต่อไป โดยแนวทางแก้ไขปัญหา 10 ข้อได้แก่ แนวทางการคืนใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอล, การขยายเวลาหรือเลื่อนจ่ายเงินค่าประมูล งวดที่ 3 ออกไปก่อน , การแจกคูปองเพิ่มเติมเป็น 22 ล้านครัวเรือน , การขยายอายุใบอนุญาต, การจัดลำดับการเรียงเลขช่องเหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม, การจัดเก็บเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ต่ำกว่า 2% , การจัดทำระบบวัดเรทติ้งทีวี, ทำการประชาสัมพันธ์รับชมทีวีดิจิตอล , พักใช้ใบอนุญาตหรือเลิกประกอบกิจการ และ เยียวยาผู้ประกอบกิจการ

                อินโฟเควสท์

กสทช.รับจะมีทีวีดิจิทัลรอดแค่ 10 กว่าราย มอง WORK- RS - GRAMMY- TRUE จะเริ่มทำกำไรในปีนี้ แต่หวั่นกลุ่มช่องข่าวแย่เหตุเป็นช่องเฉพาะทาง

    พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย ว่าแนวโน้มธุรกิจทีวีดิจิทัลไม่สามารถประสบผลสำเร็จทั้งหมด โดยคาดว่ามีอย่างน้อย 10 ช่อง จาก 24 ช่อง สามารถอยู่รอดและครองใจผู้บริโภคได้ แต่ต้องรอดูอีกระยะหนึ่ง เพราะมีหลายช่องที่กำลังต่อสู้เพื่อให้อยู่รอดได้ ขณะเดียวกัน กสทช.ต้องช่วยให้ผู้ประกอบการอยู่รอด

   ทั้งนี้ ผู้ประกอบการแต่ละรายมีความสามารถแตกต่างกันไป รวมทั้งสายป่านยาวสั้นไม่เหมือนกัน เท่า ที่สังเกตุเห็นจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกที่เป็นรายเดิมที่ประกอบธุรกิจอยู่แล้ว มี 6 ช่อง คือ ช่อง 3 (มี 3 ช่อง), ช่อง 7, ช่อง 9 (มี 2 ช่อง) กลุ่มนี้ยังพอมีกำไรอยู่ แต่กำไรลดลง เพราะถูกชิงส่วนแบ่งจากรายใหม่ที่เข้ามา

 กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เคยเป็นผู้ผลิตคอนเท้นท์รายใหญ่ สามารถยึดครองส่วนแบ่งตลาดในทีวิดิจิทัลได้ มีประมาณ 5-7 ช่อง ได้แก่ บมจ.เวิร์คพ้อยท์ เอ็นเทอร์เมนท์ (WORK) บมจ.อาร์เอส (RS) บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GRAMMY) ทรูวิชั่นส์ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้คาดว่าจะเริ่มทำกำไรได้ภายในปีนี้

    กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่เป็นรายใหญ่เฉพาะทาง ส่วนใหญ่เคยเป็นผู้ผลิตรายการข่าวมาก่อน ได้แก่ เนชั่น ทีวี สปริงนิวส์ วอยซ์ทีวี และไบรท์ทีวี ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าลำบากที่สุด เพราะก่อนเข้ามาประมูลมี ประสบการณ์เพียงรายการข่าวเท่านั้น

    ส่วนกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มทุนธุรกิจที่มีสายป่านยาว และบางรายก็เคยทำคอนเท้นน์มาก่อน ได้แก่ ไทยรัฐ ทีวี, นิวทีวี, อัมรินทร์ทีวี และ พีพีทีวี เป็นต้น

   การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจทีวีดิจิทัลเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นในหลาย ประเทศ อย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือ ไต้หวัน ก็เหลือ 7-8 ช่อง ซึ่งการที่ กสทช.เปิดประมูล 24 ช่องเป็น การเปิดโอกาสให้กับทุกราย แต่จากการกำหนดเวลาประมูลไว้ที่ 1 ชั่วโมง ทำให้ไม่ได้แข่งขันกัน รุนแรงเหมือนการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคม ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัว เพราะมีต้นทุนค่าใบอนุญาต การลงทุนคอนเท้นท์ เป็นภาระ แต่ละช่อง โดยจะรอดูว่ามีรายใดที่ไม่สามารถจ่านเงินค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 ที่จะถึงกำหนดในเดือน พ.ค.59 นี้บ้าง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หากผู้ประกอบการรายใดต้องการคืนใบอนุญาตก็ต้องยึดแบงก์ การันตีตามหลัก เกณฑ์ และยืนยันว่าภายใน 1 ปีจะยังไม่มีการเปิดประมูลรอบใหม่

     "ปัญหาทีวีดิจิทัลเป็นเพราะมีซัพพลายมากถึง 4 เท่าตัว การเกิดมามากทำให้ช็อคตลาด แต่สุดท้าย ระบบการแข่งขันจะคัดไปเอง ทุกคนลองผิดลองถูก แต่ละช่องก็พยายามหาสไตล์ของตัวเอง อาทิ ไทยรัฐทีวี นำการถ่ายทอดฟุตบอลไทย , แกรมมี่ หันไปจับกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งพยายามจับ nich Market"พ.อ.นที กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!