WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBCTเศรษฐพงค มะลสวรรณเศรษฐพงค์ เปิดแผนโรดแมป 'กทค.'ดันไทยขึ้น'เบอร์1'ไอซีทีอาเซียน

    หลังจากเสร็จสิ้นประมูล 4G คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มีแม่ทัพใหญ่ "พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" เป็นรอง ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธาน กทค.จะเปิดแผนการดำเนินงานในปี 2559 ว่ามีอะไรบ้าง

     โดย พันเอกเศรษฐพงค์ บอกว่า โรดแมป กทค. มี 4 องค์ประกอบ มีเป้าหมายที่จะผลักดัน ให้ประเทศมีระดับการพัฒนาด้านไอซีที ที่สูงขึ้นเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ภายในปี 2563 คือ

การเข้าถึงบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง

       "ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป กทค. ต้องมุ่งเน้นการดำเนินโครงการ USO เพื่อประชาชนในพื้นที่ชนบทให้สามารถเข้าถึงบริการอินเตอร์เนตความเร็วสูง (Broadband Internet)ได้มากขึ้นเนื่องจากผลการรายงานของ ITU (สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ) ใน Measuring the Information Society Report 2015 ระบุว่า ประเทศไทยยังมีการให้บริการ Fixed Broadband ที่อยู่ในระดับที่ต่ำมากเนื่องจากประชาชนยังเข้าถึงได้จำนวนไม่มากพอ และหากเราสามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงการบริการดังกล่าวเพิ่มขึ้นก็จะทำให้มีผลต่อลำดับการพัฒนาด้าน ICT ของไทยสูงขึ้นได้และจะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ที่ 1 ในการพัฒนาด้าน ICT ในภูมิภาค ASEAN ภายในปี 2563

ด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภค

      "เนื่องจากการประมูลคลื่นความถี่ 4G ในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 900 MHz สิ้นสุดลงด้วยความสำเร็จ และจะทำให้มีการวางโครงข่าย และให้บริการระบบดังกล่าวตั้งแต่ต้นเดือนม.ค.2559 ซึ่งกทค.จะต้องดำเนินการ ติดตามตรวจสอบให้ราคา และคุณภาพการให้บริการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยราคาการให้บริการ 4G จะต้องถูกกว่า 3G ที่กำหนดไว้"

แผนการประมูลคลื่นความถี่

      "การประมูลคลื่น ความถี่ 4G ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีการใช้เม็ดเงินในลงทุนไปเป็นจำนวนเงิน ที่สูงมาก ดังนั้น กทค. จึงต้องสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) และนักลงทุนว่าในอนาคตจะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการประมูลบนคลื่นย่านใดและเมื่อใดเพื่อให้อุตสาหกรรมเกิดความแน่นอนในการวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างชัดเจนซึ่งจะเป็นผลดีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและจะยังผลให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน"

การให้บริการทาง การเงินอย่างทั่วถึง

     "การวางติดตั้งโครงข่าย 4G และ 3G ทำให้ประชากรมากกว่า 90% ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้รวมทั้งสามารถเข้าถึงบริการต่างๆที่มีอยู่บนระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่การให้บริการที่จะมีผลกระทบในการพัฒนาประเทศครั้งใหญ่ที่ยังไม่เคยมีการดำเนินการอย่างจริงจังมาก่อนคือการให้บริการทางการเงินอย่างทั่วถึง (Financial Inclusion) ซึ่งจะเป็นปัจจัยผลักดันให้ เกิดการขยายตัวของธุรกิจส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการด้าน การเงิน การธนาคารด้วยความรวดเร็วและปลอดภัย ซึ่ง กสทช. จะต้องสร้างความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และ ITU ซึ่งในขณะนี้ได้เริ่มมีการดำเนินการเพื่อหารือแล้วเพื่อวางแผนงานและทิศทางต่อไปแล้ว

ความร่วมมือในระดับนานาชาติภูมิภาค

    "กทค. จะต้องแสวงหาความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับ ITU, APT, ASEAN, GSMA และองค์กร ระหว่างประเทศอื่นๆ ในทุกมิติเพื่อ จะขับเคลื่อนการกำกับดูแลให้มีความ ทันสมัยสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ไปทั้งในด้านเทคโนโลยีที่มีการหลอมรวมกันและการเปลี่ยนแปลงในการใช้งานคลื่นความถี่ในอนาคต เช่น คลื่นความถี่ในย่าน Digital Dividend 700 MHz เป็นต้น เพื่อนำมาใช้งาน ในบริการอินเตอร์เนตบนมือถือที่มีความต้องการในกิจการโทรคมนาคม โดย กทค. คาดว่าประเทศไทยจะมีปริมาณการใช้งานด้านอินเตอร์เนตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในปี 2020 ถึง 600%"

      "ดังนั้น อนาคตอันใกล้การ เปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประเทศไทย จะเข้าสู่ "สังคมโมบายดิจิทัล" อย่างเต็ม รูปแบบนั้นเข้าใกล้ความเป็นจริง เข้าทุกที โดยในปีนี้ 2558 ที่ผ่านมา GSMA  ได้รายงานว่า มีการเชื่อมต่อผู้คน รวมทั้ง สิ่งต่างๆ จำนวนมหาศาลบนโลกสู่ Cyber space ผ่านระบบ 2G/3G/4G ที่มี subscriber จำนวน ถึง 7.5 พันล้าน แล้ว และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และ คาดว่า ในปี 2020 จะมีจำนานถึง 9 พันล้านราย"

      จากรายงานของ GSMA พบว่า ในปี 2558 ยอดผู้ใช้บริการ  (subscrier) บนระบบ 4G ทั่วโลก มีจำนวนประมาณ 700 ล้าน และจะมีการก้าวกระโดดถึงกว่า 1.3 พันล้านในปีหน้า (2559)

     "รายงานของ ITU ก็สอดคล้อง กับ GSMA Mobile Economy Report ที่วิเคราะห์ว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่มีการเติบโตในด้านขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน ICT  ที่โดดเด่นหลังจากมีการประมูล คลื่น 3G คลื่น 2100 MHz และหาก ประสบความสำเร็จในการประมูล คลื่น 4G คลื่น 1800 MHz ก็จะ ทำให้ประเทศไทยมีลำดับก้าวกระโดดขึ้นไปอีกครั้งหนึ่ง"

แนวหน้า : น้ำฝน บำรุงศิลป์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!