WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BNTClogoกสทช. เผยผลการยื่นเสนอราคารอบ 23 มีผู้เคาะเพิ่มราคาใบที่ 1 จำนวน 1 ราย ราคาเพิ่มเป็น 23,076 ลบ. ส่วนใบที่ 2 คงราคา 24,270 ลบ.                                          

    กสทช.เปิดประมูล 1800 MHz เคาะราคา 10.00 น.คาดรู้ผลไม่เกิน 18.00 น.

    คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ยืนยันเปิดประมูล 4G คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต ใบละ 15 MHz ตามกำหนดในวันนี้ ซึ่งจะเริ่มการเคาะราคาตั้งแต่เวลา 10.00 น.วันนี้ โดยตัวแทนเอกชนทั้ง 4 รายที่เข้าร่วมประมูลเดินทางมาพร้อมแล้ว ประกอบด้วย บริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด, บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด เช้าเพื่อลงทะเบียนและจับสลากเลือกห้องประมูลแล้ว

      พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.ในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) คาดว่า การประมูลวันนี้น่าจะเสร็จสิ้นในช่วง 15.00-16.00 น.และคาดว่าราคาประมูลจะถึงราคาเต็มที่ราคา 19,890 ล้านบาท เพราะคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เป็นคลื่นหลักในการทำระบบ 4G ของทั่วโลก อย่างไรก็ดี บางรายที่ขาดคลื่นก็ย่อมต้องการคลื่นชุดนี้ แต่ก็มีบางรายที่ยังมีคลื่นที่มากพอ ทั้งนี้ คาดว่า กทค.จะประกาศผู้ชนะการประมูลครั้งนี้ได้ไม่เกิน 18.00 น.ของวันนี้

     ประธาน กทค. กล่าวว่าในการประมูลรอบแรกผู้เข้าร่วมการประมูลทุกรายจะต้องเสนอราคาในชุดคลื่นความถี่ชุดใดชุดหนึ่งที่ราคา 16,708  ล้านบาทจากราคาเริ่มต้นที่ 15,912 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นครั้งละ 5% คิดเป็นเงินที่เพิ่มขึ้นครั้งละ 796 ล้านบาท เมื่อถึงราคา 19,890 ล้านบาท การเสนอราคาจะปรับเป็นเสนอราคาครั้งละ 2.5% ของราคาขั้นต่ำ 15,912 ล้านบาทคิดเป็นเงินที่เพิ่มขึ้นครั้งละ 398  ล้านบาท

     ทั้งนี้ การประมูลแต่ละรอบผู้เข้าประมูลจะมีเวลา 15 นาทีในการเสนอราคา และจะประกาศผลการประมูลของรอบนั้นๆ ภายใน 5 นาที รวมใช้เวลาแต่ละรอบประมาณ 20 นาที ซึ่งใน 1 ชั่วโมงจะมีการเสนอราคา 3 รอบ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประมูลมีสิทธิไม่เสนอราคา(Waiver)ได้ 3  ครั้งตลอดระยะเวลาการประมูลโดยสามารถใช้สิทธิได้ 2 วิธีคือ แจ้งการใช้สิทธิ  หรือ ไม่เสนอราคาตามระยะเวลาที่กำหนด

      ประธาน กทค. กล่าวว่า การประมูลแต่ละล็อต หรือแต่ละชุดคลื่นความถี่จะสิ้นสุดในรอบการประมูลช่วงสุดท้ายเมื่อไม่มีผู้เข้าร่วมการประมูลรายใดเสนอราคาอีก และเมื่อการประมูลทุกล็อตสิ้นสุดลงจะถือว่าสิ้นสุดขั้นตอนการประมูลคลื่นความถี่ โดยภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นจะมีการประกาศผลการประมูลภายใน 7 วัน ซึ่ง กสทช.จะออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3

     ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. คาดว่าการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ในวันนี้จะมีการแข่งขันดุเดือด แต่การเคาะราคาจะต้องคำนึงถึงจุดคุ้มทุนของแต่ละบริษัท เพราะในเงื่อนไขการประมูลกำหนดค่าบริการจะต้องต่ำกว่าบริการ 3G ซึ่งปัจจุบันค่าเฉลี่ยประมาณ 69 - 72 สตางค์ต่อนาทีสำหรับบริการประเภทเสียง และ 26 สตางค์ต่อเมกะไบท์สำหรับบริการอินเตอร์เน็ต. นอกจากนี้การเคาะราคาแต่ละครั้งก็มีผลต่อราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง4 ราย เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

   ส่วนกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.กสท โทรคมนาคม ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อวานนี้นั้น ประธาน กทค. กล่าวว่า ขณะนี้ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาแต่ยังไม่มีคำสั่งใด ๆ ซึ่งมั่นใจว่าศาลคงจะพิจารณาว่า สหภาพฯ กสท.ไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง และมั่นใจว่าศาลปกครองจะไม่มีระงับการประมูลในวันนี้

   ด้านนายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากศาลปกครองเมื่อคืนวานว่า ศาลปกครองรับคำร้องไว้พิจารณาหมายเลขคดีดำ 1964/2558 ส่วนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวศาลจะมีคำสั่งภายหลัง แต่คำร้องไต่สวนฉุกเฉินให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz นั้น ศาลได้ยกคำร้องเนื่องจากยังไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนผู้ฟ้องฝ่ายเดียว

                        อินโฟเควสท์ 

ประมูล 4G ณ ชม.ที่สาม เคาะใบแรก 19,096 ลบ.-ใบสอง 21,086 ลบ.แล้ว

    ผู้สื่อข่าวรายงานการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ในชั่วโมงแรก (10.00-11.00 น.) มีการเคาะราคา 3 รอบ ปรากฎว่า ชุดที่ 1 ราคาประมูลอยู่ที่ 17,504 ล้านบาท โดยมีผู้แข่งขันอยู่เพียงรายเดียว เริ่มเคาะราคารอบแรก 16,708 ล้านบาทที่ทุกรายต้องเคาะราคาและรอบ 2 เคาะเพิ่มเป็น 17,504 ล้านบาท ส่วนรอบ 3 ยืนราคาเดิม

     ส่วนชุดที่ 2 ราคาประมูลชั่วโมงแรก ราคาประมูลขึ้นมาที่ 18,300 ล้านบาท โดยชุดที่ 2 มีเอกชนเข้าร่วมเคาะราคา 3 รายตั้งแต่รอบแรกเคาะที่ราคา 16,708 ล้านบาท รอบที่ 2 มีผู้แข่งราคา 2 ราย เคาะราคาที่ 17,504 ล้านบาท ส่วนอีกราย อาจจะใช้สิทธิไม่เสนอราคา(Waiver) หรืออาจจะเป็นผู้ชนะชั่วคราวในรอบที่แล้วและใช้สิทธิยืนราคาเดิม และรอบ 3 ได้มีผู้เข้าแข่งราคา 2 ราย ที่ราคา 18,300 ล้านบาท ระหว่างนี้รอการประมูลรอบที่ 4 โดยชุดที่ 2 ราคาเคาะขึ้นไปที่ 19,096 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 1 ยังยืนราคาเดิม

   สำหรับ การประมูลในชั่วโมงที่สอง (11.00-12.00น.) มีการเคาะราคา 3 รอบ ปรากฎว่า ชุดที่ 1 ราคาประมูลอยู่ที่ 19,096 ล้านบาท โดยมีผู้แข่งขัน 1 รายย้ายจากชุดที่ 2 มาแข่งขันในชุดที่ 1 และไต่ราคาจาก 17,504 ล้านบาท ในรอบที่ 4 และเพิ่มเป็น 18,300 ล้านบาท ในรอบที่ 5 ส่วนรอบที่ 6 ไม่มีผู้ประมูล ทำให้ราคายืนอยู่ที่ 18,300 ล้านบาท

    ส่วนชุดที่ 2 ยังมีการแข่งขันสู้ราคาแบบไม่ถอย โดยมีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาไต่ขึ้นมาในรอบที่ 4 เป็น 19,892 ล้านบาท แต่รอบที่ 5 กลับมามีผู้แข่งขัน 3 ราย และแข่งราคาขึ้นมาที่ 19,892 ล้านบาท และรอบที่ 6 เพิ่มมาเป็น 20,290 ล้านบาทซึ่งมากกว่าราคาเต็มของคลื่นที่ 19,892 ล้านบาท

   นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า การประมูลราคาในชุดที่ 2 เห็นว่ามีการแข่งขันสูง เพราะเป็นช่วงคลื่นความถี่ 1800 MHz เป็นชุดที่อยู่ติดกับคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 61 ทำให้ผู้ประกอบการสนใจประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ชุดที่ 2 มากกว่าชุดที่ 1 จึงประเมินว่าผู้ประกอบการที่เข้ามาแข่งขันในชุดที่ 2 คือผู้ประกอบการรายเดิม คือ ดีแทค, ทรูมูฟ และดีพีซี (บริษัทลูกของเอไอเอส) เพราะ 3 รายเดิมเตรียมประมูลคลื่น 1800 MHz อีกในอนาคต ส่วนชุดที่ 1 น่าจะเป็นกลุ่ม บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS)

    สำหรับ การประมูลในชั่วโมงที่สาม (12.00น.-13.00น.) เริ่มเห็นการแข่งขันราคาในชุดที่ 1 โดยราคาประมูลสิ้นชั่วโมงที่สาม อยู่ที่ 19,096 ล้านบาท จากสิ้นชั่วโมงที่สอง ราคายืนที่ 18,300 ล้านบาท

      ส่วนชุดที่ 2 ยังคงการแข่งขันดุเดือด โดยราคาไต่ขึ้นมาในรอบที่ 7 เป็น 20,688 ล้านบาท รอบที่ 8 ปรับขึ้นมาเป็น 21,086 ล้านบาท หรือคิดเป็นราคา 106% โดยมีราคาเต็มของคลื่นที่ 19,892 ล้านบาท แต่ในรอบที่ 9 ไม่มีการแข่งขัน ราคาจึงยืนที่เดิม

             อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!