WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBTC‘หมอลี่’หนุนกสทช.คุมบริการ 4 G หวั่นบอร์ดดีอีแทรกแซงประมูลคลื่น 

     แนวหน้า : คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดงานเสวนาในหัวข้อ “ประมูล 4G ใครได้ใครเสีย :รัฐ ผู้ประกอบการ ประชาชน” จัดโดยโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch)ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หรือ “หมอลี่”หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า สิ่งที่ห่วงการประมูล 4G ในส่วนการคุ้มครองผู้บริโภค คือ คุณภาพสัญญาณ ราคา และพื้นที่ให้บริการครอบคลุม เรื่องราคานายกรัฐมนตรีอยากให้มีการประกาศค่าบริการล่วงหน้า

    “จึงเสนอเป็นแนวทาง ให้กำหนดราคาแพ็กเกจพื้นฐานของ 4G กำหนดความเร็วขั้นต่ำไม่ต่ำกว่า 2 เมกะบิต หรือควรกำหนดราคาค่าบริการเป็น GB ว่าควรมีราคาขั้นต่ำเท่าไหร่ กำหนดราคาไปเลยว่ากี่กิ๊กเท่าไร หรือความเร็วไรราคาไม่เกินเท่าไร ไม่ต้องเสนอราคาเหมา รวมถึงการปัดเศษค่าบริการต้องคุ้มครองอย่างไร การกำหนดอัตราล่วงหน้าน่าจะเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ผู้ประกอบการจะได้รู้ว่าต้นทุนที่ประมูลมาจะขายอย่างไร”นายแพทย์ประวิทย์ กล่าว

     นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีความเสี่ยงว่าการประมูล 4G จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ โดยมีเงื่อนไข 2 ส่วน คือ รัฐวิสาหกิจที่ถือครองคลื่นความถี่เดิม (ทีโอที) มีความเห็นขัดแย้งในกรรมสิทธิ์การถือครองคลื่นซึ่งอาจนำไปสู่การฟ้องร้อง ขณะที่ ร่างพ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม หากมีการประกาศใช้รัฐบาลจะมีอำนาจในการกำกับดูแลกสทช. ซึ่งอาจทำให้การประมูลไม่เกิดขึ้น

หวั่นบอร์ดดีอีแทรกแซงประมูลคลื่น 4 จี

    ไทยโพสต์ : ท่าพระจันทร์ * "ทีดีอาร์ไอ" ชี้กรรมการดีอีไม่ควรมีอำนาจแทรกแซงประมูล 4จี แนะ กสทช.ควรกำหนดราคาตั้งต้นประมูลสูงกว่านี้ "หมอลี่" เสนอให้เพิ่มการคำนวณราคาแพ็กเกจให้เสร็จสิ้น

   นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวภายในเวทีเสวนาเรื่อง ประมูล 4จี ใครได้-ใครเสีย : รัฐ ผู้ประกอบการ ประชาชน? ว่า หากร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งกรรมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอี เสร็จสิ้นก่อนการประมูลคลื่นความถี่ที่จะเกิดขึ้นนั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการจัดการประมูลหากกรรมการดังกล่าวมีอำนาจใน การเข้ามาตัดสินใจในการจัดการประมูล ถ้ากรรมการมองว่าไม่สามารถจัดประมูลได้ เป็นไปได้ว่าการประมูลอาจไม่เกิดขึ้น ซึ่งรัฐบาลต้องมีความชัดเจนในเรื่องกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรรมการดีอี ทั้งนี้ อีกความเสี่ยงหนึ่งที่จะทำให้การประมูลไม่เกิดขึ้นคือ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องไปฟ้องร้องขออำนาจต่อศาล ให้ระงับการประมูล

   อีกทั้ง ตนมองว่า สำนักงานกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ควรทบทวนเรื่องการกำหนดราคาตั้งต้นการประมูล เนื่องจากราคาตั้งต้นที่ออกมานั้นเป็นราคาที่ยังไม่เหมาะสม ยังเป็นราคาที่ต่ำอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับการประมูล 3จี ที่ผ่านมา โดยสังเกตได้จากระยะเวลาของใบอนุญาตที่ไม่เท่ากัน คือ 15 ปี และ 19 ปี ซึ่งตนต้อง การให้ กสทช.เปิดเผยรายงานการประเมินราคาตั้งต้นของคลื่นออกมาให้รับทราบในสาธารณะ

   ด้าน นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ควรมีการกำ หนดราคาค่าบริการเป็นแพ็กเกจของคลื่นความถี่ไว้ให้เสร็จสิ้นและชัดเจนในร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ของการประมูลคลื่นที่จะเกิดขึ้น เพื่อความชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ซึ่งตนมองว่า ถ้าทำเป็นเงื่อนไขไว้ล่วงหน้า มีการประกาศชัดเจน การคัดค้านอาจจะน้อยลง.

        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!