- Details
- Category: กสทช.
- Published: Saturday, 08 August 2015 12:37
- Hits: 3061
'อุ๋ย'ลั่นไม่มีเลื่อนประมูล 4จีไอซีทีถกบริหารคลื่นป้องกันกระทบทีโอที-กสทฯขีดเส้นตายก่อนสิ้นปี
ไทยโพสต์ : คลองเตย * หม่อมอุ๋ยยืนยันประมูล 4จี ตามกรอบเดิม ไม่เชื่อทีโอที-กสทฯ จะล้มประมูล 4จี งานสื่อสารแห่งชาติวันแรกคึกคัก ส่วนดีแทคโชว์เหนือบริการวอยซ์โอเวอร์ไวไฟ-แอลทีอี
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวภายในพิธีเปิดงานวันสื่อ สารแห่งชาติ หรือ NET 2015 ว่า แผนการประมูลคลื่นความถี่ 4จี ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจ การโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้ดำเนินการจัดการประมูล ซึ่งการดำเนินทุกอย่างยังคงดำ เนินงานไปตามแผนเดิม เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิ ตอล และมั่นใจว่ากระบวนการประมูลจะไม่มีการฟ้องร้องจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรใดๆ
"ไม่เชื่อว่า บมจ.ทีโอที กับ บมจ.กสทฯ จะฟ้องเรียกร้องสิทธิ์ในความถี่ที่เกิดขึ้นหลังสัมปทาน เพราะเรื่องนี้เป็นไปตามกฎหมาย กสทช. และอยู่ในแผนของรัฐบาลที่อนุมัติกรอบการประมูลไปแล้ว ดังนั้นจึงมั่นใจว่าไม่น่าจะมีเหตุการณ์อะไรมาขัดขวางกระ บวนการ" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า หลังจากได้หารือกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรแล้ว เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมูลคลื่น 4จี นั้น กรณีการรับคืนคลื่น 1800 จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ จาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ไม่มีการใช้งาน แม้จะต้องผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) และนำเรื่องเข้าคณะกรรมการร่วมทุนฯ แต่มั่นใจว่ากระบวนการทุกอย่างจะเสร็จทันตามกำหนด และได้ คลื่นมาประมูลครบเป็น 30 เมกะเฮิรตซ์
พร้อมกันนี้ กสทช.ได้ประสานไปยัง นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะหารือกันในสัปดาห์หน้าเกี่ยวกับภาพรวมของการบริหาร และจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งหมด ตั้งแต่ย่าน 470-2600 เมกะเฮิรตซ์ และร่วมหาทางออกให้กับรัฐ วิสาหกิจในสังกัดเกี่ยวกับการนำคลื่นไปสร้างรายได้ในอนาคต แต่ในกรอบของการหารือทั้งหมดจะต้องไม่กระทบของกรอบการประมูล ทั้งบมจ.ทีโอที และ บมจ.กสทฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟ้องร้องของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรท.) ของทั้ง 2 องค์กร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในงานวันสื่อสารแห่งชาติ วันแรกค่อนข้างคึกคักมีผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการจำนวนมาก โดยงานมีระหว่างวันที่ 6-9 ส.ค.58 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้ชื่องาน'NBTC EXPO THAILAND 2015 (NET 2015)' ในแนวคิด 'Future Trend in Digital World' โดยมีโซนการแสดงนิทรรศการ ได้แก่ 1.เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นนิทรรศการที่นำเสนอนโยบายและโครงการริเริ่มของหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นสังคมเศรษฐกิจดิจิตอล 2.ชุมชนดิจิตอล ที่ฉายภาพเทคโนโลยีโลกอนาคตและชีวิตสมัยใหม่ 3.โลกเคลื่อนที่ งานแสดงสินค้านวัตกรรมโทรศัพท์มือถือ และย่านความถี่ระบบ 4จี และ 5จี ในอนาคต 4.บันเทิงล้ำ ยุคนำเสนอสินค้านวัตกรรมความ บันเทิงในยุคดิจิตอลและอุปกรณ์ต่างๆ และ 5.ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์
นอกจากนี้ มีผู้ประกอบการ เข้าร่วมจัดแสดงเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ ช่องทีวีดิจิตอลโมโน 29, เครือช่อง 3, ช่อง 7HD, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เป็นต้น โดยดีแทค ได้ชูไฮไลต์นวัตกรรมต่อยอดดีแทค 4จี ด้วยโวเต ( VoLTE : voice over LTE) และโวไวไฟ (VoWiFi : voice over WiFi) ต่อยอดบริการเสียงด้วยคุณภาพสูงสุด ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมยุคเครือข่าย 4จี ที่จะมาแทนที่การโทรแบบเดิมด้วย 3จี และ 2จี ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า.
'หม่อมอุ๋ย'เผยรบ.ขีดเส้นตายก่อนสิ้นปี ลุยพัฒนาบรอดแบนด์แห่งชาติ
แนวหน้า : ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวภายในงานปาฐกถาเรื่องดิจิตอล อิโคโนมี กับการพัฒนาประเทศไทย ในโอกาสเป็นประธานเปิดงานวันสื่อสารแห่งชาติ NET 2015 ว่า ประเทศไทยมีความพยายามใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาเศรษฐกิจ เราทำได้ดีในด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ขณะที่บางด้านยังไม่มีทิศทางที่แน่ชัด รัฐบาลพยายามกำหนดนโยบายเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความชัดเจน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมารองรับ ความต้องการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลพยายามกำหนดนโยบายที่ชัดเจนโดยการออกกฎหมายจัดตั้องคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมายที่แน่ชัดในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนา
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะดึงผู้ทรงคุณวุฒิที่เก่งที่สุดเพื่อเข้ามาเป็นกรรมการเพื่อเสนอแนวคิดในการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร รวมถึงการออกมาตรการส่งเสริมการค้าการลงทุนเพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโยลีดิจิตอลเพื่อสังคม เมื่อพิจารณาถึงความขาดแคลน ได้เตรียมการพัฒนา 5 คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอล, การสร้างมั่นคงปลอดภัยและความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรม ,การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการให้บริการ, การส่งเสริมและสนับสนุนดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจ และการสร้างสังคมดิจิตอลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้
กรรมการเตรียมงานเพื่อเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเตรียมงานก่อนที่กฎหมายตั้งคณะกรรมการจะผ่านจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) งานที่เตรียมไว้ล่วงหน้าคือ National Boardband Data center International Gateway โครงสร้างการสอนทางไกลให้โรงเรียนชายขอบ, โครงการการเรียนการสอนออนไลน์ 15,000 โรงเรียน, การออกกำหมายรองรับระบบดิจิตอล 6 ฉบับ และการเตรียมการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์บางส่วน
"การทำโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์จะเอาสินทรัพย์ที่มีอยู่มารวมกัน เพื่อวางโครงสร้างพื้นฐาน โดยอยู่ระหว่างการคัดเลือกที่ปรึกษาในการวางโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะมาออกแบบและวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งหมดจะพยายามทำให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้ โดยบริษัทที่จะเข้ามาดูแลจะมีการจัดตั้งบริษัทเข้ามาดูแล" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว