- Details
- Category: กสทช.
- Published: Wednesday, 05 August 2015 09:02
- Hits: 3735
กสทช.รับลูกนายกฯเข้มเงื่อนไข 4G ค่าบริการไม่สูงจนเกินไป ต้องเข้าถึงคนพื้นที่ชนบท
แนวหน้า : ที่โรมแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล พลาซา เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2558 สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้งานจัดประชุมรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) จากผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไปร่างประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 1800 MHz หรือ 4G
พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่าเงื่อนไขของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบชัดเจนในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค อีกทั้งต้องมีมาตรการและเงื่อนไขที่จะต้องควบคุมการคิดอัตราค่าบริการที่เป็นธรรม และมีราคาถูกลง ที่จะทำให้ประชาชนทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
ส่วนอัตราค่าบริการนั้น นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา มีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง และกำชับให้มุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น กทค. จะทำการระบุเงื่อนไขการคุ้มครองผู้บริโภค และประโยชน์ของประชาชนให้ชัดเจน ซึ่งหากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ในครั้งนี้สำเร็จเรียบร้อย ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
ขณะเดียวกัน จะทำให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายโทรคมนาคม และเกิดการจ้างงานมากขึ้นทั้งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยตรง และในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะเป็นการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของรัฐบาลอย่างชัดเจน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ กล่าวว่า กรอบเวลาการประมูล 4G สำหรับคลื่น 1800 MHz กำหนดตายตัวแล้วในวันที่ 11 พ.ย. 2558 นี้ ส่วนการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ขณะนี้ยังไม่ได้สรุปอย่างชัดเจนว่าจะประมูลในวันเดียวกันกับการประมูลคลื่น 1800 MHz หรือไม่ โดยจะรอให้การประชาพิจารณ์คลื่น 900 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 30 ส.ค.นี้ ให้แล้วเสร็จก่อน
นางสาวกนกพร คุณชัยเจริญกุล ตัวแทนจาก บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากเทียบประเทศในแถบอาเซียนด้วยกันอย่างสิงคโปร์ซึ่งมีการจัดการประมูลคลื่น 1800 MHz ไปเมื่อปี 2553 โดยให้อายุใบอนุญาต 13 ปี คิดอัตราราคาตั้งต้นไว้ที่ 465 ล้านบาทต่อ 2.5 MHz ซึ่งเมื่อหากคำนวณราคาต่อหน่วยต่อราคาตั้งต้นที่กสทช.กำหนดไว้พบว่า ราคาของประเทศไทยสูงกว่าที่สิงคโปร์ถึง 7.6 เท่า
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน ว่า ในวันที่ 6-8 ส.ค. 2558 ที่เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน จะมีการหารือถึงความคืบหน้าการสำรวจ และออกแบบ ซึ่งฝ่ายไทยจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการวางระบบราง และการวางรูปแบบสถานีแต่ละแห่ง ซึ่งจะมีการศึกษาดูงานเส้นทางรถไฟที่เมืองเฉิงตู
ทั้งนี้ จะได้ข้อสรุปเรื่องระบบราง,สถานี, ผลสรุปการศึกษา และรูปแบบการลงทุนที่เป็นรูปแบบความร่วมมือการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของโครงการทางจีนจะเป็นผู้ออกแบบ จัดหาระบบ และก่อสร้าง หลังจากวันที่ 8 ส.ค.นี้ รวมถึงจะมีการหารือรูปแบบการลงทุนที่ก่อนหน้านี้ทางจีนได้มีการเสนออัตราดอกเบี้ย 4% แต่ไทยขอเสนอดอกเบี้ยให้เหลือ 2%
รมว.คมนาคมกล่าวว่า ตัวแทนรัฐบาลจีนจะเดินทางมาไทยในวันที่ 29 ส.ค.นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับร่างข้อตกลงด้านอื่น และหารือเพื่อเตรียมพร้อมในการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงภายหลังการสำรวจและการออกแบบแล้วเสร็จ โดยมีข้อตกลงว่าจะมีการประเมินมูลค่าโครงการ และการตั้งคณะกรรมการ
ที่ปรึกษาสองฝ่ายโดยจะมีคนกลางในการรับผิดชอบก่อนจะออกมาเป็นสัญญา โดยหากสัญญาแล้วเสร็จจะสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ในช่วง ต.ค.ปีนี้ โดยตามแผนโครงการทางคู่ ตอนที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย และตอนที่ 3 ช่วงแก่งคอย-โคราช ได้ในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งวางแผนไว้ว่าจะมีสถานีเชียงรากน้อย ส่วนตอนที่ 3 เป็นสถานีปากช่อง เป็นสถานีปฐมฤกษ์ในการก่อสร้าง ทั้งนี้ หลังจากการหารือจะมีการชี้แจงอีกครั้ง
ค่ายมือถือโอดราคาคลื่น 1800 แพง
ไทยโพสต์ : วิภาวดีฯ * ประชาพิจารณ์คลื่น 1800 เวที กทม.ผู้ประกอบการโอดราคาตั้งต้นประมูลแพง ภาคประชาชนแนะ กสทช.ควรกำหนดอัตราค่าใช้บริการก่อนมีประมูล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ วันที่ 3 ส.ค.58 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเรื่องหลักเกณฑ์และวิธี การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในส่วนภาคกลางที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเวทีที่ 2 โดยประเด็นสำคัญที่หารือ ประกอบไปด้วย 1.ขนาดของคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล 2.วิธีการอนุญาต ความเหมาะสมของการใช้วิธีการประมูล 3.ราคา ขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่ตั้งไว้ที่ 13,920 ล้านบาท กรณีมีผู้ประมูลมากกว่าใบอนุญาต และ 19,890 ล้านบาท กรณีน้อยกว่า
นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานรัฐ กิจสัมพันธ์ ของดีแทค เปิดเผย ว่า การกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก ขณะที่สภาพเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังแย่ ส่วนประเด็นที่กำหนดให้มีผู้เข้าร่วมประมูลเท่ากับหรือน้อยกว่า ดีแทคมีข้อเสนอให้ กสทช.ควรจะกลับไปใช้ราคาเริ่มต้นที่คิดจากมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง 70% ไม่ว่าจะมีผู้เข้าประมูลเท่าไร
สำหรับ ประเด็นการจัดชุด คลื่นความถี่จำนวน 2 ใบ ที่มีขนาด 2x15 เมกะเฮิรตซ์นั้น จากสภาพปัจจุบันข้อเท็จจริงคือ ผู้แข่งขันจะมีเพียงผู้ประกอบการเอกชน 3 ราย หากต้องการให้เกิดการแข่งขัน ควรยืดหยุ่นเป็นใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 6 ใบ รวม เป็นจำนวน 30 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะมีผู้ประกอบการชนะการประมูลเพียง 2 ราย หรือมากกว่าได้
ส่วน นางสาวกนกพร คุณชัยเจริญกุล ตัวแทนจาก บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากเปรียบเทียบประเทศในแถบอาเซียนด้วยกันอย่างสิงคโปร์ ซึ่งมีการจัดการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไปเมื่อปี 2553 โดยให้อายุใบอนุญาต 13 ปี คิดอัตราราคาตั้งต้นไว้ที่ 465 ล้านบาทต่อ 2.5 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อคำนวณราคาต่อหน่วยต่อราคาตั้งต้นที่ กสทช.กำหนดไว้ พบว่าราคาของประเทศไทยสูงกว่าถึง 7.6 เท่า ในขณะที่จีดีพีของสิงคโปร์ สูงกว่าไทยถึง 6 เท่า ซึ่งการตั้งราคาดังกล่าวถือว่าสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัดเจน.
'ทีดีอาร์ไอ'หวั่นฮั้วประมูลคลื่น 4จี
ไทยโพสต์ : แจ้งวัฒนะ * ทีดีอาร์ไอ แนะกสทช. ไม่ควรประมูลคลื่น 1800- 900 วันเดียวกัน หวั่นเปิดฮั้วประ มูล
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือที ดีอาร์ไอ กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติ ให้นำร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการ โทรคมนาคมย่าน 1800 เมกะ เฮิรตซ์ หรือไอเอ็ม ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะนั้น ทีดีอาร์ไอ ได้ศึกษาร่างประกาศดังกล่าวแล้วเห็นว่ามี 3 ประเด็นหลักที่ไม่เห็นด้วย และ กสทช.ควรดำเนินการแก้ไข ได้แก่ 1.การกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลที่ 13,920 ล้านบาทต่อใบอนุญาต มีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ขณะที่ประเด็นที่ 2 คือ กสทช. จัดให้มีการเสนอราคาการ ประมูลพร้อมกันทั้ง 2 ย่านความ ถี่ในวันที่ 11 พ.ย.58 นี้ โดยแบ่งเป็นคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ในช่วงเช้า และคลื่นความถี่ 900 เมกะ เฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ในช่วงบ่าย โดยทั้ง 2 ย่านความถี่ดังกล่าวเมื่อนำมารวมกันแล้วจะมี จำนวนใบอนุญาตทั้งสิ้น 4 ใบอนุญาต ในกรณีนี้หากมีผู้เข้าประ มูลเพียง 3 ราย หรือมีรายที่ 4 แต่รายที่ 4 ไม่ได้เข้มแข็งด้านการเงินพอที่จะสู้กับรายอื่นๆ การประมูลลักษณะนี้ก็จะเข้าข่ายเป็นช่องให้เกิดการสมยอมราคา หรือฮั้วประมูล ระหว่างผู้ประกอบการได้
สำหรับ ประเด็นที่ 3 กสทช.กำหนดให้ผู้ที่ชนะการประมูลต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของการเข้าถึงของประชากรในประเทศ ภายใน 4 ปี และหลังจากนั้นจะไม่มีการบังคับเพิ่มเติม ถือว่าต่ำเกินไป
นอกจากนี้ อยากให้ กสทช.เร่งดำเนินการเจรจากับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทั้ง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหา ชน) เพื่อความชัดเจนในเรื่องสิทธิการใช้งานคลื่นความถี่ และหาทางออกร่วมกันในการที่ กสทช.นำคลื่นความถี่ของทั้ง 2 หน่วยงานหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานมาประมูล.