WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BNTCฐากร ตณฑสทธ'กสทช'ผ่านร่างฯคลื่น 900 MHz ลุยรับฟังความคิดเห็นภายใน 45 วัน

      แนวหน้า : นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด กสทช.เมื่อวันที่  22 ก.ค. 58 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็น ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 895915 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) / 940 -960 MHz และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่นอที่สากล (International Mobile Telecommunication - IMT) ย่านความถี่ 895915 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)/ 940 -960 MHz โดยจะนำไปประกาศลงเวบไซต์วันที่ 23 ก.ค.58 เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อไป โดยจะใช้ระยะเวลาประชาพิจารณ์ราว 45 วัน

     "ความเห็นส่วนตัวผมอยากให้ประมูลในวันเดียวกันคือวันที่ 11 พ.ย.เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน ซึ่งจะต้องรอรับฟังความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ร่างหลักเกณฑ์ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz กำหนดจะเปิดประมูลต่อเนื่องกันไปจากการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz โดยกำหนดให้มีการประมูลคลี่นความถี่จำนวน 2 ใบอนุญาต ใบละ 10 MHz โดยกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 11,260 ล้านบาท ต่อใบ คิดคำนวณจาก 70% ของมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง โดยหากมีผู้เข้าร่วมประมูลผ่านคุณสมบัติน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาตที่เปิดให้ประมูล ราคาตั้งต้นจะเป็นราคาที่คำนวณจากมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง ซึ่งจะเพิ่มราคาตั้งต้นเป็น 16,080 ล้านบาทต่อใบ

     สำหรับ ร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว ยังกำหนดให้ผู้ชนะการประมูลต้องติดตั้งโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ภายใน 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต และยังได้กำหนดเพดานการถือครองคลื่นความถี่ได้ไม่เกิน 60 MHz รวมถึงกำหนดเงื่อนไขในมาตราการเพื่อผู้บริโภค สังคม และความมั่นคงของประเทศ โดยให้ผู้ชนะการประมูลต้องปฏิบัติตามโฆษณายืนยัน มาตรฐาคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมของตน กำหนดอัตราค่าบริการว่า ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีบริการที่เป็นทำอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล

      ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุยาต สัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรทัศน์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 ที่มีการแก้ไขปรับปรุง โดยเงื่อนไขที่ปรับปรุงเพิ่มเติมรายได้จากการให้บริการเมื่อหักค่าใช้จ่ายที่เป็นตุ้นทุน เช่น ค่าเช่าโครงข่าย กับบริษัท กสท โทรคมนาคม และค่าบริหารจัดการ เป็นต้นจะต้องจัดส่งรายได้ไม่น้อยกว่า 30% หรือไม่น้อยกว่าอัตราสัญญาสัมปทมนเดิมที่ผู้ประกอบการเคยจ่ายให้เจ้าของสัมปทมน เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วต้องไม่น้อยกว่าที่จะต้องนำส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดิน

    นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับผลการศึกษาของคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการนำคลื่นความถี่ย่าน  2600 MHz  เพื่อใช้สำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่ปัจจุบันอยู่ในการถือครอง ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ซึ่งการเสนอผลการศึกษาของคณะทำงาน และคณะอนุกรรมการที่ศึกษาเรื่องดังกล่าว มีความเห็นไม่ตรงกัน มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป โดยมี 2 ประเด็นที่มีความเห็นต่างคือ 1.คลื่นความถี่ยังคงเป็นสิทธิของ อสมท.ตามสัญญาสัมปทาน 2. คลื่นดังกล่าวจะต้องนำมาให้กสทช.เพื่อจัดสรรใหม่ โดยที่ประชุมให้นำวาระดังกล่าวกลับไปศึกษารายละเอียดอีกครั้งและนำเข้าที่ประชุมกสทช.ในวันที่ 19 สิงหาคม 2558 เพื่อพิจารณาอีกครั้ง

กสทช. แย้มคนไทยได้ใช้ 4G ต้นปีหน้า

      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เผยโรดแมปประมูล 4G ทำให้คนไทยใช้งานได้เร็วขึ้น คาดภายในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 59

     นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เผยถึงเดินหน้าจัดประมูลระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ ว่า โรดแมปการประมูลครั้งนี้จะทำให้คนไทยได้ใช้บริการเร็วขึ้น ภายในเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2559 ซึ่งจะช่วยให้เกิดเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจไทย 2.7 แสนล้านบาท ภายในปี 2559 ด้วย

    สำหรับ การประมูล 4G จะประมูลพร้อมกัน 4 ใบอนุญาต แบ่งเป็นคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 เมกะเฮิรตซ์ ราคาตั้งต้นประมูล 13,920 ล้านบาท จากเดิมใบอนุญาตละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ โดยได้คลื่นของบริษัท กสท โทรคมนาคม มาเติมอีก 5 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 เมกะเฮิรตซ์ ราคาตั้งต้นประมูล 11,260 ล้านบาท โดยคลื่น 1800 มีอายุใบอนุญาต 19 ปี ส่วนคลื่น 900 มีอายุใบอนุญาต 15 ปี

    นอกจากนี้ การประมูลยังกำหนดให้มีการเคาะราคาครั้งแรกเพิ่มขึ้นครั้งละ 5% เพื่อป้องกันปัญหาจากครั้งก่อนที่ไม่มีการเคาะราคา รวมทั้งกำหนดด้วยว่าหากมีผู้ประมูลเท่ากับจำนวนใบอนุญาต จะปรับราคาตั้งต้นเป็นราคาเต็ม 100% โดยคลื่น 1800 จะอยู่ที่ 19,890 ล้านบาท และคลื่น 900 อยู่ที่ 16,080 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาการฮั้วราคา และได้ราคาที่ไม่เหมาะสมกับมูลค่าของคลื่น ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศ

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!