- Details
- Category: กสทช.
- Published: Sunday, 08 February 2015 17:20
- Hits: 3187
‘กฤษฎีกา’ส่งพรบ.ดิจิตอล 10 ฉบับเข้าครม. รับลูกนายกฯตัดข้อลิดรอนสิทธิ์แล้ว
แนวหน้า : 'สิทธิชัย'ที่ปรึกษาหม่อมอุ๋ย การันตี พ.ร.บ.เศรษฐกิจดิจิตอล แก้ข้อลิดรอนสิทธิ์แล้ว เตรียมเสนอครม.-สนช.
นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล) และอดีตรมว.เทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) กล่าวในงานสัมมนา Capital Market Research Forum ครั้งที่ 1/2558 หัวข้อ 'ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในแนวคิดเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)' จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอลประมาณ 10 ฉบับ ขณะนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ในระหว่างปรับแก้ข้อที่ลิดรอนสิทธิ์ของประชาชน ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี จะตรวจสอบเนื้อหาในอินเตอร์เนตที่เป็นข้อความ รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องมีหมายศาลทุกครั้ง
“การร่างกฎหมายมีความเร่งรีบพอสมควร จึงทำให้ข้าราชการบางส่วนใส่เนื้อหาที่ละเมิดสิทธิประชาชน นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้ปรับแก้ทุกข้อที่ลิดรอนสิทธิ์ทั้งหมดทั้งจากที่ได้รับการร้องเรียน และเจ้าหน้าที่ตรวจพบเอง และหากเจ้าพนักงานจะตรวจสอบข้อความส่วนบุคคลในระบบอินเตอร์เนต จะต้องมีหมายศาลกำกับทุกครั้ง ยืนยันว่าเราไม่ได้เผด็จการ และกฎหมายใหม่ต้องเป็นสากลเพื่อรับการลงทุนจากต่างประเทศ” นายสิทธิชัย กล่าว
พร้อมคาดว่า ภายในสัปดาห์นี้คาดว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะพิจารณา พ.ร.บ.คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล และพ.ร.บ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ได้แล้วเสร็จ พร้อมส่งให้แก่ 5 ณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา และจะเสนอต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายได้ภายใน 2 สัปดาห์ สำหรับรายละเอียดพ.ร.บ.คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลนั้น ได้ระบุให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อความต่อเนื่องของนโยบาย และระบุโทษของหน่วยงานที่ไม่ดำเนินการช่วยเหลือตามคำสั่งของคณะกรรมการให้มีโทษร้ายแรง
ด้าน นายวรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า รัฐควรคำนึงถึงความมั่นคงทางข้อมูลของประเทศ โดยควรออกโปรแกรมสนทนาในโซเชียลที่เป็นของคนไทย และควรพัฒนาช่องทางการส่งอี-เมลของรัฐ ป้องกันการแอบดูข้อมูลจากเจ้าของเครือข่ายที่เป็นชาวต่างชาติ ควรให้ความสำคัญเรื่องความต่อเนื่องของนโยบายและสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลที่หายไปเมื่อใช้อินเตอร์เนต
ขณะที่ นายอริยะ พนมยงค์ ผู้จัดการกูเกิ้ล ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีกลุ่มคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความสามารถด้านไอทีและผู้พัฒนาแอพรวมทั้งโปรแกรมต่างๆ อยู่มาก รวมทั้งมีบริษัทต่างชาติที่พร้อมให้การสนับสนุนทั้งเงินทุน องค์ความรู้ และต้องการร่วมทุน นอกจากนี้ มองว่าการทำให้เศรษฐกิจดิจิตอลมีประโยชน์สูงสุด ควรเสาะหาและให้การสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยที่มีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมและแอพพลิเคชั่นต่าง ได้เข้าถึงช่องทางการขาย หากขายได้เท่ากับว่าเอสเอ็มอีรายนั้นมีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลกทันที
เร่งแก้ข้อกม.รอนสิทธิ์ก่อนลุยศก.ดิจิตอล
ไทยโพสต์ : ตลาดหลักทรัพย์ฯ * เศรษฐกิจดิจิตอลเริ่มเห็นรูปร่าง กฤษฎีกาเร่งแก้ข้อกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิ์ประชาชนตามคำสั่งบิ๊กตู่
นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ที่ปรึก ษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และอดีต รมว.กระทรวงเทคโนโลยี และสารสนเทศ (ไอซีที) เปิดเผยใน งานสัมมนา Capital Market Research Forum ครั้งที่ 1/2558 หัวข้อ "ขับ เคลื่อนเศรษฐกิจไทย ในแนวคิดเศรษฐ กิจดิจิตอล" จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอลประ มาณ 10 ฉบับ ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างปรับแก้ข้อที่ลิด รอนสิทธิ์ประชาชน ตามคำสั่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
"การร่างกฎหมายมีความเร่งรีบพอสมควร จึงทำให้ข้าราชการบางส่วนใส่เนื้อหาที่ละเมิดสิทธิประชาชน นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้ปรับแก้ทุกข้อที่ลิดรอนสิทธิ์ทั้งหมด ทั้งจากที่ได้รับการร้องเรียน และเจ้าหน้าที่ตรวจพบเอง และหากเจ้าพนักงานจะตรวจสอบข้อความส่วนบุคคลในระบบอินเทอร์เน็ต จะต้องมีหมายศาลกำกับทุกครั้ง ยืนยันว่าเราไม่ได้เผด็จการ และกฎหมายใหม่ต้องเป็นสากล เพื่อรับการลงทุนจากต่างประเทศ" นายสิทธิชัยกล่าว
คาดว่า ภายในสัปดาห์นี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาจะพิจารณา พ.ร.บ.คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล และ พ.ร.บ.ปรับปรุง กระ ทรวง ทบวง กรม พ.ศ.... แล้วเสร็จ พร้อมส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา และจะเสนอต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายได้ภายใน 2 สัปดาห์
สำหรับ รายละเอียด พ.ร.บ. คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล ได้ระบุให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อความต่อเนื่องของนโยบาย และระบุโทษของหน่วยงานที่ไม่ดำเนินการช่วยเหลือตามคำสั่งของคณะกรรมการให้มีโทษร้ายแรงทางวินัย ซึ่งอาจตีความได้ว่า ผิดตามโทษทางอาญามาตรา 157 และมีแนวคิดที่จะลดขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทเอกชนที่จะทำธุรกิจที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจดิจิตอลให้รวดเร็วขึ้นด้วย
นายวรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการบริหาร สำนัก งานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์ การมหาชน) และอธิการบดีมหา วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต กล่าวว่า รัฐ ควรคำนึงถึงความมั่นคงทางข้อ มูลของประเทศ โดยควรออกโปร แกรมสนทนาในโซเซียลที่เป็นของ คนไทย และควรพัฒนาช่องทาง การส่งอีเมลของรัฐ ป้องกันการแอบดูข้อมูลจากเจ้าของเครือข่ายที่เป็นชาวต่างชาติ ควรให้ความสำ คัญเรื่องความต่อเนื่องของนโย บายและสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่หายไปเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต.