- Details
- Category: กสทช.
- Published: Friday, 06 June 2014 00:09
- Hits: 3603
ผลพวงการประมูล 3จี องค์กรตรวจสอบควรจะกลายเป็นองค์กรกำกับดูแลเสียเอง
บ้านเมือง : เพื่อเอาคนบริสุทธิ์เข้าคุก แต่ปล่อยคนชั่วลอยนวล โดยทิ้งให้ประชาชนเผชิญชะตากรรมเองหรือไม่
ข้อกล่าวหาที่ร้องเรียน กทค. ต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ที่ว่า กทค.ฮั้วกับผู้ประกอบการในการออกแบบการประมูลจนทำให้ชาติเสียหาย เพราะไม่มีการแข่งขัน เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงขณะนี้ ความเป็นจริงก็เริ่มปรากฏ ซึ่งชี้ ให้เห็นชัดเจนว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวขัดต่อความเป็นจริง
จะเห็นว่า ขณะนี้มีการแข่งขันกันระหว่าง ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายที่ได้รับใบอนุญาตอย่างมาก ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในบริการที่หลากหลายราคาเฉลี่ยที่ถูกลง ฯลฯ
ประเทศชาติได้รับประโยชน์เนื่องจากคลื่นที่เดิมไม่มีการใช้ถูกนำมาจัดสรรเป็นผลสำเร็จ ประเทศชาติมีรายได้จากค่าประมูล ค่าลงทุนโครงข่ายจำนวนมหาศาล ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ภาษีที่เก็บได้ จากธุรกิจที่เติบโต การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นฯลฯ
ข้อกล่าวหายังไม่สามารถหาพยานหลักฐาน มาพิสูจน์ได้ว่ามีการฮั้วระหว่าง กทค. และ ผู้ประกอบการจนทำให้ กทค.ไปออกแบบการประมูลเพื่อเอื้อผู้ประกอบการกลุ่มนี้
คงจะไม่ผิด ถ้าจะกล่าวว่า การออกแบบการประมูลเป็นดุลพินิจตามกฎหมายที่ กสทช.โดย กทค. ดูข้อมูลจากทุกๆ ที่แล้วจึงเลือก มาออกแบบการประมูลเพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งก็ได้ผล เพราะทำให้จัดประมูลสำเร็จ กทค.เห็นว่าถ้าใช้วิธีของนักวิชาการขาประจำและกรรมการบางรายจะมีความเสี่ยงสูง ประมูลอาจจะล่ม เพราะราคาตั้งต้นที่ กทค.กำหนดนั้นสูงอยู่แล้วหากไปกำหนดให้สูงอีกโดยไม่มีหลักวิชาการรองรับย่อมจะสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้การประมูลล้มเหลว
กทค.จึงใช้ดุลพินิจที่จะไม่เลือกหรือไม่เชื่อตามความเห็นของนักวิชาการรายนั้นและกรรมการบางราย แต่เลือกเดินตามแนวทางที่ กทค.เห็นว่าเหมาะสมที่สุด
การที่ กทค.ใช้ดุลพินิจเลือกเดินในแนวทางที่ กทค.เห็นว่าเหมาะสมที่สุดในการออกแบบการประมูล โดยใช้แนวทางแตกต่างจากนักวิชาการ ขาประจำนั้นจะถือว่าเราฮั้วหรือทุจริตออกแบบ การประมูลอันมีโทษทางอาญาร้ายแรงได้อย่างไร
กทค.ในฐานะองค์กรชำนาญพิเศษย่อมมีสิทธิ และความรับผิดชอบที่จะคิดต่าง เห็นต่างและเลือกแนวทางที่เห็นว่าดีที่สุดเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
เพราะนี่เป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้ กสทช.และกทค.ทำ โดยให้อำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา ตลอดจนรายละเอียดที่ กสทช. เห็นว่าเหมาะสมในการออกแบบกติกาในการประมูล ฉะนั้นการที่จะดูว่ากติกานี้เหมาะสมหรือไม่ จะทำให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม หรือไม่ ย่อมอยู่ภายใต้ดุลพินิจของ กสทช. ซึ่งเป็นองค์การชำนาญพิเศษ
โดยจะไปนำเอามาตรฐานในกรณีประมูลสิ่งของแบบ e-auction มาวัดหรือมาใช้ไม่ได้ เพราะการประมูลคลื่นและประมูลสิ่งของมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 จึงไม่ได้บัญญัติให้ กสทช. เอาระเบียบเรื่อง e-auction ในกรณีจัดซื้อจัดจ้างหรือประมูลทั่วๆ ไปมาใช้ แต่บัญญัติไว้ชัดเจนให้ กสทช.ออกแบบหลักเกณฑ์ในการประมูลคลื่นเอง
ปัญหาคือใครจะเป็นผู้ชี้ว่ากติกานี้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมหรือไม่ จะวัดอย่างไร ช่วงไหน? ใครจะตัดสิน? ควรจะเป็นใครดีระหว่างนักวิชาการ, กสทช. โดย กทค., หรือ ป.ป.ช.?
ควรจะให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ออกแบบการประมูลและเป็นองค์กรชำนาญพิเศษ เพื่อให้เขามีโอกาสใช้ดุลพินิจในกรอบที่เขาเห็นว่าเหมาะสมตามประสบการณ์ ความรู้ และความชำนาญพิเศษของเขา หรือจะให้องค์กรตรวจสอบเข้ามาใช้ดุลพินิจแทนองค์กรชำนาญพิเศษดังกล่าวแทนเลย ถ้าคำตอบคือให้องค์กรตรวจสอบใช้ดุลพินิจแทน ถ้าเป็นเช่นนี้จะมัวเสียเวลามีองค์การชำนาญพิเศษแต่ละสาขาให้สิ้นเปลืองทำไม ก็ให้องค์กรตรวจสอบทำหน้าที่แทนให้หมด และทิ้งให้ประชาชนเผชิญชะตากรรมเอาเอง
เหตุใดอนุกรรมการในองค์กรตรวจสอบบางคนจึงเลือกที่จะเชื่อนักวิชาการขาประจำ หรือบอร์ด กสทช.บางรายโดยไม่รับฟังข้อมูลให้รอบด้านในหลายมิติ
เหตุใดอนุกรรมการในองค์กรตรวจสอบจึงเลือกที่จะไม่เชื่อ กสทช.ตลอดจน กทค.ส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดและรอบคอบจากในประเทศ ต่างประเทศ และระหว่างประเทศ
เหตุใดอนุกรรมการเหล่านั้นจึงละเลยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ละเลยที่ไม่ฟังข้อคิดเห็นและ ข้อแนะนำจากไอทียู ซึ่งเป็นองค์กรชำนาญพิเศษของโลกเพียงหนึ่งเดียวที่กำหนดระบบคลื่นความถี่ของทุกประเทศในโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและไอทียูยังได้ศึกษาประเมิน การจัดประมูลคลื่น 3 จี ของกสทช. แล้ว การันตีว่าถูกต้อง ตามมาตรฐานสากลโดยไม่ได้มีมลทินใดๆ อย่างที่มีผู้กล่าวหา
เหตุใดอนุกรรมการนั้นจึงปิดกั้นไม่รับรู้พัฒนาการต่างๆ ข้อมูลต่างๆ ตลอดจนแนวปฏิบัติในการประมูลคลื่นความถี่ทั่วโลกเพื่อนำมาเปรียบเทียบว่าการจัดประมูลคลื่น 3 จี ของไทยไม่ได้ขี้ริ้วขี้เหร่แถมยังอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก
เหตุใดจึงไปเชื่อข้อมูลของนักวิชาการเฉพาะราย ซึ่งไม่มีหลักฐานหรือทฤษฎีที่น่าเชื่อถือว่าข้อมูลของบุคคลผู้นี้ถูกต้องและไม่ปรากฎว่าบุคคลผู้นี้มีความรอบรู้หรือมีประสบการณ์ในการประมูลคลื่นความถี่ใดๆ มาเลย นอกเสียจากการไปแนะนำให้นำความเชื่อของตนไปใช้ในการจัดประมูล 3 จี ในอดีตก่อนยุค กสทช. ซึ่งผลก็คือการประมูล 3 จี ในครั้งนั้นล้มเหลว
เหตุใดจึงไปเชื่อตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมาธิการของ ส.ว. กลุ่มที่นำเรื่องมาร้อง ปปช.โดยที่ใช้เวลาสอบสวนเพียง 2 วันทำการ แล้วสรุปเรื่องว่า กทค.กระทำความผิดที่ร้ายแรง โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ กทค.ชี้แจงก่อนเลย
เรื่องนี้น่าจะมีเงื่อนงำ หรือความไม่ชอบมาพากลและผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการรีบเร่งในการนำเรื่องมาร้องเรียน การให้ข่าวซึ่งเหมือนมีการตั้งธงไว้ล่วงหน้า การไม่ยอมเรียกผู้ถูกร้องคือกทค. ไปชี้แจงในช่วงที่มีการสอบสวน การปล่อยข่าวผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯเฉพาะในด้านลบในช่วงที่กสทช. โดย กทค. กำลังเดินหน้าจัดประมูลคลื่น 1800 เพื่อจงใจดิสเครดิตผู้จัดการประมูล และอาจมองว่าเพื่อกดดันให้เกิดสูญญากาศเพื่อไม่ให้มีการประมูลคลื่น 1800 และ 900 และถึงขนาดเพื่อจะล้มองค์กร เนื่องจากไม่ได้ประโยชน์ตามที่หวังไว้
เรื่องนี้จึงไม่ปกติแน่ๆ ใครได้หรือเสียประโยชน์คงคาดเดาได้ไม่ยาก บอร์ด ป ป ช.ควรจะได้รับทราบถึงความผิดปกตินี้และควรเปิดรับฟังข้อมูลในทุกๆ ด้าน อย่างครบถ้วนและเป็นธรรม รวมทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองในเวลานี้น่าจะให้มีการติดตามตรวจสอบเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดก่อนจะสายเกินแก้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเอาผู้บริสุทธิ์
เข้าคุก แต่ปล่อยคนชั่วลอยนวล จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของชาติและประโยชน์ของประชาชนชาวไทย
ผลพวงจากการประมูล 3 จี ประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์ แต่เหตุใดจึงเกิดขบวนการเอาคนบริสุทธิ์เข้าคุก : หรือนี่คือความท้าทายที่ปปช.ต้องค้นหาคำตอบ
ไทยโพสต์ : ข้อกล่าวหาที่ร้องเรียน กทค. ต่อ ปปช. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ที่ว่า กทค.ฮั้วกับผู้ประกอบการในการออกแบบการประมูลจนทำให้ชาติเสียหาย เพราะไม่มีการแข่งขัน เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงขณะนี้ ความเป็นจริงก็เริ่มปรากฏ ซึ่งชี้ให้เห็นชัดเจนว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวขัดต่อความเป็นจริง
จะเห็นว่าขณะนี้มีการแข่งขันกันระหว่างผู้ประกอบการทั้ง 3 รายที่ได้รับใบอนุญาตอย่างมากทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในบริการที่หลากหลายราคาเฉลี่ยที่ถูกลง ฯลฯ
ประเทศชาติได้รับประโยชน์เนื่องจากคลื่นที่เดิมไม่มีการใช้ถูกนำมาจัดสรรเป็นผลสำเร็จประเทศชาติมีรายได้จากค่าประมูล ค่าลงทุนโครงข่ายจำนวนมหาศาล ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ภาษีที่เก็บได้จากธุรกิจที่เติบโต การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ
ข้อกล่าวหา ยังไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ามีการฮั้วระหว่าง กทค. และผู้ประกอบการจนทำให้ กทค.ไปออกแบบการประมูลเพื่อเอื้อผู้ประกอบการกลุ่มนี้
คงจะไม่ผิด ถ้าจะกล่าวว่า การออกแบบการประมูลเป็นดุลพินิจตามกฎหมายที่ กสทช.โดยกทค. ดูข้อมูลจากทุกๆที่แล้วจึงเลือกมาออกแบบการประมูลเพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งก็ได้ผล เพราะทำให้จัดประมูลสำเร็จ กทค.เห็นว่าถ้าใช้วิธีของนักวิชาการขาประจำและกรรมการบางรายจะมีความเสี่ยงสูง ประมูลอาจจะล่ม เพราะราคาตั้งต้นที่ กทค.กำหนดนั้นสูงอยู่แล้วหากไปกำหนดให้สูงอีกโดยไม่มีหลักวิชาการรองรับย่อมจะสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้การประมูลล้มเหลว
กทค.จึงใช้ดุลพินิจที่จะไม่เลือกหรือไม่เชื่อตามความเห็นของนักวิชาการรายนั้นและกรรมการบางราย แต่เลือกเดินตามแนวทางที่กทค.เห็นว่าเหมาะสมที่สุด
การที่ กทค. ใช้ดุลพินิจเลือกเดินในแนวทางที่ กทค.เห็นว่าเหมาะสมที่สุดในการออกแบบการประมูล โดยใช้แนวทางแตกต่างจากนักวิชาการขาประจำนั้นจะถือว่าเราฮั้วหรือทุจริตออกแบบการประมูลอันมีโทษทางอาญาร้ายแรงได้อย่างไร
กทค.ในฐานะองค์กรชำนาญพิเศษย่อมมีสิทธิ และความรับผิดชอบที่จะคิดต่าง เห็นต่างและเลือกแนวทางที่เห็นว่าดีที่สุดเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
เพราะนี่เป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้กสทช.และกทค.ทำ โดยให้อำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา ตลอดจนรายละเอียดที่กสทช. เห็นว่าเหมาะสมในการออกแบบกติกาในการประมูล ฉะนั้นการที่จะดูว่ากติกานี้เหมาะสมหรือไม่ จะทำให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมหรือไม่ ย่อมอยู่ภายใต้ดุลพินิจของกสทช. ซึ่งเป็นองค์การชำนาญพิเศษ
โดยจะไปนำเอามาตรฐานในกรณีประมูลสิ่งของแบบ e-auction มาวัดหรือมาใช้ไม่ได้ เพราะการประมูลคลื่นและประมูลสิ่งของมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 จึงไม่ได้บัญญัติให้กสทช. เอาระเบียบเรื่อง eauction ในกรณีจัดซื้อจัดจ้างหรือประมูลทั่วๆไปมาใช้ แต่บัญญัติไว้ชัดเจนให้กสทช.ออกแบบหลักเกณฑ์ในการประมูลคลื่นเอง
ปัญหา คือใครจะเป็นผู้ชี้ว่ากติกานี้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมหรือไม่ จะวัดอย่างไร ช่วงไหน?ใครจะตัดสิน? ควรจะเป็นใครดีระหว่างนักวิชาการ , กสทช. โดยกทค. , หรือปปช.?
ควรจะให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ออกแบบการประมูลและเป็นองค์กรชำนาญพิเศษ เพื่อให้เขามีโอกาสใช้ดุลพินิจในกรอบที่เขาเห็นว่าเหมาะสมตามประสบการณ์ ความรู้ และความชำนาญพิเศษ ของเขา หรือจะให้องค์กรตรวจสอบ เข้ามาใช้ดุลพินิจแทนองค์กรชำนาญพิเศษดังกล่าวแทนเลย ถ้าคำตอบคือให้องค์กรตรวจสอบใช้ดุลพินิจแทน ถ้าเป็นเช่นนี้จะมัวเสียเวลามีองค์การชำนาญพิเศษแต่ละสาขาให้สิ้นเปลืองทำไม ก็ให้องค์กรตรวจสอบทำหน้าที่แทนให้หมด และทิ้งให้ประชาชนเผชิญชะตากรรมเอาเอง
เหตุใดอนุกรรมการในองค์กรตรวจสอบบางคนจึงเลือกที่จะเชื่อนักวิชาการขาประจำ หรือบอร์ดกสทช.บางรายโดยไม่รับฟังข้อมูลให้รอบด้านในหลายมิติ
เหตุใดอนุกรรมการในองค์กรตรวจสอบจึงเลือกที่จะไม่เชื่อกสทช.ตลอดจนกทค.ส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลต่างๆอย่างละเอียดและรอบคอบจากในประเทศ ต่างประเทศ และระหว่างประเทศ
เหตุใดอนุกรรมการเหล่านั้นจึงละเลยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ละเลยที่ไม่ฟังข้อคิดเห็นและข้อแนะนำจากไอทียู ซึ่งเป็นองค์กรชำนาญพิเศษของโลกเพียงหนึ่งเดียวที่กำหนดระบบคลื่นความถี่ของทุกประเทศในโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและไอทียูยังได้ศึกษาประเมิน การจัดประมูลคลื่น 3 จี ของกสทช. แล้ว การันตีว่าถูกต้อง ตามมาตรฐานสากลโดยไม่ได้มีมลทินใดๆอย่างที่มีผู้กล่าวหา
เหตุใดอนุกรรมการนั้นจึงปิดกั้นไม่รับรู้พัฒนาการต่างๆข้อมูลต่างๆ ตลอดจนแนวปฏิบัติในการประมูลคลื่นความถี่ทั่วโลกเพื่อนำมาเปรียบเทียบว่าการจัดประมูลคลื่น 3 จี ของไทยไม่ได้ขี้ริ้วขี้เหร่แถมยังอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก
เหตุใดจึงไปเชื่อข้อมูลของนักวิชาการการเฉพาะราย ซึ่งไม่มีหลักฐานหรือทฤษฎีที่น่าเชื่อถือว่าข้อมูลของบุคคลผู้นี้ถูกต้องและไม่ปรากฎว่าบุคคลผู้นี้มีความรอบรู้หรือมีประสบการณ์ในการประมูลคลื่นความถี่ใดๆ มาเลย นอกเสียจากการไปแนะนำให้นำความเชื่อของตนไปใช้ในการจัดประมูล 3 จี ในอดีตก่อนยุคกสทช. ซึ่งผลก็คือการประมูล 3 จี ในครั้งนั้นล้มเหลว
เหตุใดจึงไปเชื่อตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมาธิการของสว. กลุ่มที่นำเรื่องมาร้องปปช.โดยที่ใช้เวลาสอบสวนเพียง 2 วันทำการ แล้วสรุปเรื่องว่า กทค. กระทำความผิดที่ร้ายแรง โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ กทค.ชี้แจงก่อนเลย
เรื่องนี้น่าจะมีเงื่อนงำ หรือความไม่ชอบมาพากล และผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการรีบเร่งในการนำเรื่องมาร้องเรียน การให้ข่าวซึ่งเหมือนมีการตั้งธงไว้ล่วงหน้า การไม่ยอมเรียกผู้ถูกร้องคือกทค. ไปชี้แจงในช่วงที่มีการสอบสวน การปล่อยข่าวผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯเฉพาะในด้านลบในช่วงที่กสทช.
โดย กทค. กำลังเดินหน้าจัดประมูลคลื่น 1800 เพื่อจงใจดิสเครดิตผู้จัดการประมูล และอาจมองว่าเพื่อกดดันให้เกิดสูญญากาศเพื่อไม่ให้มีการประมูลคลื่น 1800 และ 900 และถึงขนาดเพื่อจะล้มองค์กร เนื่องจากไม่ได้ประโยชน์ตามที่หวังไว้
เรื่องนี้จึงไม่ปกติแน่ๆ ใครได้หรือเสียประโยชน์คงคาดเดาได้ไม่ยาก บอร์ดปปช.ควรจะได้รับทราบถึงความผิดปกตินี้และควรเปิดรับฟังข้อมูลในทุกๆด้าน อย่างครบถ้วนและเป็นธรรม รวมทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองในเวลานี้น่าจะให้มีการติดตามตรวจสอบเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดก่อนจะสายเกินแก้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเอาผู้บริสุทธิ์เข้าคุก แต่ปล่อยคนชั่วลอยนวล จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อการพัฒนาระบบโทรคมนาคมขอ งชาติและประโยชน์ของประชาชนชาวไทย