WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กสทช.เอาจริงเชือด 2 ช่องดิจิตอล โฆษณาอาหาร-ยาผิดกฏหมาย

     แนวหน้า : นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิเสรีภาพประชาชน เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของอาหารและยา โดยสำนักงาน กสทช. ยังคงพบการโฆษณาอาหารและยาผิดกฎหมาย ไม่เว้นแม้แต่ในฟรีทีวีช่องดัง ล่าสุดมีคำสั่งให้ระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Miracle Perfect Slim ในรายการ ตกมันส์บันเทิง ทางช่อง 9 อสทม. และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโอไวท์ (O Vite)ทางช่อง 8 ดิจิตอล แล้ว

     "เมื่อเราตรวจพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จะประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อพิจารณาตามกฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแล ซึ่ง อย. ชี้ชัดมาแล้วว่าทั้ง 2 ช่องนี้มีการโฆษณาผิดกฎหมาย เมื่อ สำนักงาน กสทช. มีคำสั่งระงับโฆษณาแล้วหากฝ่าฝืนจะปรับวันละ 20,000  บาท  ถัดจากนั้นจะมีการออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งปรับได้สูงสุดถึง 5 ล้านบาท ที่ร้ายแรงที่สุดคือ การพักใช้ เพิกถอน ใบอนุญาต และหากช่องใดกระทำผิดซ้ำซากก็จะส่งผลต่อการพิจารณาต่อใบอนุญาตด้วย" นางสาวสุภิญญา กล่าว

          นอกจากฟรีทีวีแล้วยังมีทีวีดาวเทียมอีก 11 ช่องรายการ ที่มีการโฆษณาอาหารและยาผิดกฎหมาย ได้แก่ Zabb Channel, Happy Home TV ,CHIC CLUB CHANNEL, NHANG Channel, Asian Film, Mystery Channel, Nice Channel ,UMM TV, AJP, MV Bangkok Channel และมงคล แชนแนล ซึ่งความผิดส่วนใหญ่จะเป็นการโฆษณาอาหารและยาโดยไม่ได้รับอนุญาต โฆษณายาโดยแสดงสรรพคุณยาอันตราย เช่น สเปรย์น้ำสมุนไพรรักษาปวดประจำเดือน หรือไมเกรนได้ มีการลดแลกแจกแถม โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ลดน้ำหนัก รับประทานแล้วขาวใส เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งโฆษณาเหล่านี้ล้วนหลอกลวง เกินจริง เอาเปรียบผู้บริโภค หากหลงเชื่อซื้อหามาบริโภคนอกจากจะเสียทรัพย์แล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเสียโอกาสในการรักษาโรคอย่างถูกต้องด้วย ที่สำคัญคือช่องทีวีดาวเทียมเหล่านี้เคยลงนามในข้อตกลงเรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และรับทราบแนวปฏิบัติเรื่องการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จาก สำนักงาน กสทช .แล้ว จากนี้คือการเดินหน้า ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ เมื่อยังทำผิดก็ต้องลงโทษ" น.ส.สุภิญญา กล่าว

    สำหรับ ปัญหาการโฆษณาอาหารและยา ทางสื่อวิทยุกระจายเสียงนั้น มีข้อมูลผลการเฝ้าระวังสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางคลื่นวิทยุในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน 2557ในโครงการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 10 จังหวัด และ สำนักงาน กสทช. ว่ายังคงพบการโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมายในทั้ง 10จังหวัดที่มีการเฝ้าระวัง โดยมีการโฆษณาอาหารและยาโอ้อวดเกินจริง ในลักษณะเดียวกับที่พบทางโทรทัศน์

     จากการเฝ้าระวัง 3 ครั้งๆ ละ 1 สัปดาห์ ทางสื่อวิทยุ 33 คลื่นใน 10จังหวัด ซึ่งเป็นคลื่นหลัก จำนวน 31 คลื่น เป็นคลื่น FM 27 คลื่น และ คลื่น AM4 คลื่น พบว่า 88% มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย โดย พบผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้นจำนวน 103 รายการ แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 54รายการ ผลิตภัณฑ์ยา 35รายการ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 13 รายการ และโฆษณาสถานพยาบาล 1 รายการ ขณะนี้ อย. ได้พิจารณาแล้วพบว่ามีผิดกฎหมายจริง 4 สถานีในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่  สถานีวิทยุทหารอากาศ 20 สถานีวิทยุ สวพ.ขอนแก่น สถานีวิทยุเบสท์เรดิโอ และสถานีวิทยุสุขภาพดีมีสุข  และทาง สำนักงาน กสทช. ก็ได้มีคำสั่งระงับโฆษณาแล้ว จากนั้นจะมีการดำเนินการในลักษณะเดียวกับโทรทัศน์ต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!