WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กสทช.ย้ำคลื่น 4 จีต้องประมูลเท่านั้น

   ไทยโพสต์  กรุงโซล * กสทช.แจง สนช. เหตุโดนขอลดค่าธรรมเนียม-เปลี่ยนวิธีประมูล 4 จี ย้ำแก้วิธีการไม่ได้จะผิดกฎหมาย

    นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขา ธิการคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจ การโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เชิญสำนักงาน กสทช. เข้าไปทำการชี้แจงกระบวนการต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการประมูล 4 จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะ เฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทาง กสทช.มีแผนจะดำเนินการจัดประมูลภายในปี 2558

   โดยในการชี้แจง ทางประธาน สนช.ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการประมูล 4 จี ใน 2 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต 4 จี จากเดิมที่กำหนดให้มาจากการประมูลเท่านั้น เป็น การพิจารณาให้ใบอนุญาตตามความเหมาะสมแก่ผู้ประกอบการ ที่สามารถทำประโยชน์ให้ประชา ชนได้มากกว่า (บิวตี้คอนเทสต์) และประเด็นการให้ลดในส่วนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจาก 2% จากรายได้รวมต่อปี เหลือ 1% จากรายได้รวมต่อปี

     อย่างไรก็ตาม จากข้อสงสัยดังกล่าว ได้ชี้แจงไปยังประธาน สนช. แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศไทยติดขัดในข้อกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำ กับการประกอบกิจการวิทยุกระ จายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่กำหนดให้การจัดสรรใบอนุญาต ต้องดำเนินการด้วยวิธีการประมูลเท่านั้น อีกทั้งหากไม่ใช้วิธีประมูลก็อาจโดนข้อครหาจากสังคมได้ เพราะหลักการประมูลของประเทศไทย สังคมมักให้ความสำคัญกับจำนวนเงินที่ส่งเข้ารัฐเป็นหลัก

    ส่วนประเด็นความเป็นไป ได้ในการลดค่าธรรมเนียมจาก 2% จากรายได้รวมต่อปี เป็น 1% จากรายได้รวมต่อปี ได้ชี้แจงไปว่า กสทช.สามารถดำเนินการได้ แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่าหากลดค่า ธรรมเนียมลงแล้ว ผู้ประกอบการที่ถือครองใบอนุญาต จะลดค่าบริการให้ถูกลงจริงหรือไม่ เช่นเดียวกับเมื่อครั้งประมูล 3 จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องลดราคาค่าบริการในตลาดลง 15% แต่ท้ายสุดทางผู้ประกอบการก็จัดทำแพ็กเกจที่เน้นการเพิ่มบริการ หรือสิทธิประโยชน์บางสิ่งให้ แทน จนผ่านเกณฑ์จาก กสทช. แต่ประชาชนไม่รู้สึกถึงราคาที่ลดลงนายฐากรกล่าวด้วยว่า ในเรื่องของราคาค่าใช้บริการ 3 จี ล่าสุด ได้สั่งการให้นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม ให้ไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว พร้อมทั้งตรวจสอบราคา แพ็กเกจทั้งหมดในตลาดว่าได้ดำ เนินการตามข้อกำหนด  กสทช. ว่าลดลง 15% จริงหรือไม่.

กสทช.แจงสนช.เหตุโดนขอลด ค่าธรรมเนียม-เปลี่ยนวิธีประมูล 4 จี

      แนวหน้า : นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้เชิญสำนักงาน กสทช. เข้าไปทำการชี้แจงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทางการ กสทช. มีแผนจะดำเนินการจัดประมูลภายในปี2558 โดยในการชี้แจง ทางประธาน สนช.ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการประมูล 4จี ใน 2 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต 4จี จากเดิมที่กำหนดให้มาจากการประมูลเท่านั้น เป็นการพิจารณาให้ใบอนุญาตตามความเหมาะสมแก่ผู้ประกอบการที่สามารถทำประโยชน์ให้ประชาชนได้มากกว่า(บิวตี้ คอนเทสต์) และประเด็นการให้ลดในส่วนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจาก 2%จากรายได้รวมต่อปี เหลือ 1% จากรายได้รวมต่อปี

    อย่างไรก็ตาม จากข้อสงสัยดังกล่าว ได้ชี้แจงยังประธาน สนช. แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศไทยติดขัดในข้อกฏหมาย ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่กำหนดให้การจัดสรรใบอนุญาต ต้องดำเนินการด้วยวิธีการประมูลเท่านั้น อีกทั้งหากไม่ใช้วิธีประมูลก็อาจโดนข้อครหาจากสังคมได้ เพราะหลักการประมูลของประเทศไทยสังคมมักให้ความสำคัญกับจำนวนเงินที่ส่งเข้ารัฐเป็นหลัก ส่วนประเด็น ความเป็นไปได้ในการลดค่าธรรมเนียมจาก 2% จากรายได้รวมต่อปี เป็น 1%จากรายได้รวมต่อปี ได้ชี้แจงไปว่า กสทช. สามารถดำเนินการได้ แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่า หากลดค่าธรรมเนียมลงแล้ว ผู้ประกอบการที่ถือครองใบอนุญาต จะลดค่าบริการให้ถูกลงจริงหรือไม่ เช่นเดียวกับเมื่อครั้งประมูล 3จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์  ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องลดราคาค่าบริการในตลาดลง 15% แต่ท้ายสุดทางผู้ประกอบการก็จัดทำแพคเกจที่เน้นการเพิ่มบริการ หรือสิทธิประโยชน์บางสิ่งให้แทน จนผ่านเกณฑ์จาก กสทช. แต่ประชาชนไม่รู้สึกถึงราคาที่ลดลง

    นายฐากร กล่าวว่า ในเรื่องของราคาค่าใช้บริการ 3จี ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. และกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ด้านคุ้มครองผู้ประโภค ได้ทำรายงานมาเสนอยัง เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า พบผู้ประกอบการบางราย ไม่ดำเนินการลดราคา 3 จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ให้ถูกลง 15% ตามข้อกำหนด ล่าสุด จึงได้สั่งการให้ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม ให้ไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว พร้อมทั้งตรวจสอบราคาแพ็คเกจทั้งหมดในตลาดว่าได้ดำเนินการตามข้อกำหนด กสทช. ว่าลดลง 15% จริงหรือไม่

กสทช.ตรวจแพคเกจก่อนประมูล 4 จี

   มติชนออนไลน์ :กันค่ายมือถือเบี้ยวไม่ลดค่าโทร.ตามเกณฑ์ หวั่นซ้ำรอยเดิมแจกไลเซนส์แต่ราคาไม่ลง

   กสทช.แจง สนช.ลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 4จี จาก 2% เหลือ 1% ต่อปีทำได้ แต่ไม่การันตีผู้ประกอบการลดค่าบริการให้ถูกลงจริงหรือไม่ ชี้ประสบการณ์ประมูล 3จี กำหนดให้ลดราคา 15% แต่สุดท้ายทำแค่แพคเกจเพิ่มบริการ ประชาชนยังไม่รู้สึกถึงราคาที่ลดลง พร้อมสั่งตรวจแพคเกจในตลาดทั้งหมด

    นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เชิญสำนักงาน กสทช.เข้าไปชี้แจงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทาง กสทช.มีแผนจะดำเนินการจัดประมูลภายในปี 2558 โดยในการชี้แจงทางประธาน สนช.ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการประมูล 4จี ใน 2 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาต 4จี จากเดิมที่กำหนดให้มาจากการประมูลเท่านั้น เป็นการพิจารณาให้ใบอนุญาตตามความเหมาะสมแก่ผู้ประกอบการที่สามารถทำประโยชน์ให้ประชาชนได้มากกว่า (บิวตี้คอนเทสต์) และประเด็นการให้ลดในส่วนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจาก 2% จากรายได้รวมต่อปี เหลือ 1% จากรายได้รวมต่อปี

    นายฐากร กล่าวว่า จากข้อสงสัยดังกล่าวได้ชี้แจงไปยังประธาน สนช.แล้วว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดสรรใบอนุญาตคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศไทยติดขัดในข้อกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่กำหนดให้การจัดสรรใบอนุญาตต้องดำเนินการด้วยวิธีการประมูลเท่านั้น อีกทั้งหากไม่ใช้วิธีประมูลก็อาจโดนข้อครหาจากสังคมได้ เพราะหลักการประมูลของประเทศไทยสังคมมักให้ความสำคัญกับจำนวนเงินที่ส่งเข้ารัฐเป็นหลัก ส่วนประเด็นความเป็นไปได้ในการลดค่าธรรมเนียมจาก 2% จากรายได้รวมต่อปี เป็น 1% จากรายได้รวมต่อปี ได้ชี้แจงไปว่า กสทช.สามารถดำเนินการได้ แต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าหากลดค่าธรรมเนียมลงแล้ว ผู้ประกอบการที่ถือครองใบอนุญาตจะลดค่าบริการให้ถูกลงจริงหรือไม่ เช่นเดียวกับเมื่อครั้งประมูล 3จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องลดราคาค่าบริการในตลาดลง 15% แต่ท้ายสุดทางผู้ประกอบการก็จัดทำแพคเกจที่เน้นการเพิ่มบริการ หรือสิทธิประโยชน์บางสิ่งให้แทน จนผ่านเกณฑ์จาก กสทช. แต่ประชาชนไม่รู้สึกถึงราคาที่ลดลง

    นายฐากร กล่าวว่า ในเรื่องราคาค่าใช้บริการ 3จี ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ได้ทำรายงานมาเสนอยังเลขาธิการ กสทช. ระบุว่า พบผู้ประกอบการบางรายไม่ดำเนินการลดราคา 3จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ให้ถูกลง 15% ตามข้อกำหนด ล่าสุดจึงได้สั่งการให้นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช.ด้านกิจการโทรคมนาคม ไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมทั้งตรวจสอบราคาแพคเกจทั้งหมดในตลาดว่าได้ดำเนินการตามข้อกำหนดของ กสทช.หรือไม่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!