WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

10626 BTFPกทปส. ผนึก นักวิชาการสื่อ ผุด 3 หลักคิดติดอาวุธคนไทยรู้เท่าทันสื่อ เข้าถึง-เข้าใจ-เข้าร่วม

          ท่ามกลางความรุดหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร และความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการสื่อสารในปัจจุบัน เป็นผลให้ผู้คนทุกช่วงวัย สามารถเลือกค้นหา หรือเข้าถึงคลังข้อมูลขนาดใหญ่ หรือบิ๊กเดต้า (Big Data) ได้ตามความสนใจ ทั้งในสื่อออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ช่องทางต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด แต่ทั้งนี้ ก็ยังไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ในบางบริบททางสังคม สื่อ’ ยังมีอิทธิพลต่อการรับรู้ การแสดงออกทางความคิดและพฤติกรรมของผู้คนเป็นอย่างมาก ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ที่อาจจะทำให้เกิดการคล้อยตามได้ง่าย โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ผ่านการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyber Bullying) ซึ่งปรากฎในรูปแบบล้อเลียนให้รู้สึกอับอาย ใช้คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) หรือกระทั่งข่าวปลอม (Fake news) ซึ่งที่ผ่านมา พบคนไทยตกเป็นเหยื่อของ Cyber Bullying สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก (ที่มา: กรมสุขภาพจิต

          ดังนั้น กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จึงจับมือ นักวิชาการสื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดอบรมเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ในเยาวชนในโครงการส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ ของประชาชนฅนทันสื่อระดับภูมิภาคการถ่ายทอดองค์ความรู้ และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือ กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) ด้านการรู้เท่าทันสื่อวิทยุและโทรทัศน์ แก่สถาบันการศึกษาในระดับมัธยมและอุดมศึกษาทั่วประเทศ เพื่อร่วมผลักดันการรู้เท่าทันสื่อของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตามแผนยุทธศาสตร์ของ สำนักงาน กสทช

10626 Khontansue          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุปราณี วัฒนสิน นักวิชาการสื่อ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หัวหน้าโครงการฅนทันสื่อเปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ ของประชาชนฅนทันสื่อได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก กทปส. ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด การสร้างการรู้เท่าทันสื่อ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ใน 3 หลักคิดสำคัญ ดังนี้

          1. เข้าถึง การรู้จัก/เข้าถึงสื่อในช่องทางที่หลากหลาย ทั้งสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ที่ครอบคลุมสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อใหม่ (New Media) อย่างสื่อสังคมออนไลน์ รู้จักโครงสร้างสื่อ ภูมิทัศน์สื่อในยุคสื่อหลอมรวม และการกำกับและดูแลสื่อของไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมถึง รู้สิทธิ รู้กฎ และหลักจรรยาบรรณของสื่อมวลชน

          2. เข้าใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) ได้อย่างมีระบบ ทั้งการคิดเป็น ที่คิดแบบมีวิจารณญาณ หรือคิดเชิงวิพากษ์ การเปิดใจกว้างในการเห็นต่าง มองเห็น เข้าใจ และเคารพความแตกต่างซึ่งกันและกัน การคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม และการเท่าทันสื่อ มีความสามารถในการวิเคราะห์และใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ของเนื้อข่าวหรือข้อมูล ที่ปรากฏในสื่อรูปแบบต่างๆ อย่างแท้จริง ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม หรือการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์

          3. เข้าร่วม การมีส่วนร่วมกับสื่อ ในฐานะพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Active Citizen) ด้วยการไม่เพิกเฉยต่อข้อมูลที่บิดเบือนหรือผิดไปจากความจริง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่เน้นสร้างการเรียนรู้อย่างอิสระ กำหนดประเด็นและทักษะสำคัญ แต่ไม่กำหนดกรอบการคิด การรู้เท่าทันสื่อ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนมีทักษะในการใช้วิจารณญาณ

          สำหรับกิจกรรมการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ในช่วงเวลา 12 เดือน ดังนี้ ระยะที่ 1 คัดเลือกแกนนำ การจัดอบรมหรือถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สถานศึกษา ระดับมัธยมและอุดมศึกษา จำนวน 36 แห่ง พร้อมคัดเลือกแกนนำ (รุ่นที่ 1) ที่มีความรู้ความเข้าใจ ถึงทักษะสำคัญด้านการรู้เท่าสื่อจำนวน 6 คน ผ่านการศึกษากรณีตัวอย่างเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดเท่าทันในทุกบริบทสังคม อาทิเท่าทันบริโภคนิยมการไม่หลงเชื่อโฆษณาหลอกลวงเกินจริงเท่าทันการเมืองการเปิดรับความเห็นต่างอย่างรอบด้าน เพื่อตกตะกอนทางความคิดก่อนตัดสินใจเชื่อหรือแสดงออกเท่าทันตนเองและสังคมโดยต้องอาศัยทักษะความสามารถในการ ใช้สื่ออย่างรู้ตัว” และใช้สื่ออย่างตื่นตัว

          ระยะที่ 2 ขยายเครือข่ายเท่าทันสื่อ การขยายผลทักษะความรู้ด้านการเท่าทันสื่อแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ใกล้เคียงสถานศึกษา จำนวน 100 คน ผ่านการลงพื้นที่สำรวจปัญหาของชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงสถานศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โรงเรียนราชวินิตมัธยม โรงเรียนพระโขนงวิทยาลัย พร้อมจัดทำแผนการสื่อสารให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย โดยตั้งเป้าเกิดเครือข่ายเท่าทันสื่อรวม 3,600 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งนี้การดำเนินการในระยะดังกล่าว กำหนดจัดขึ้นในเดือน ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุปราณี กล่าวทิ้งท้าย

NBTCนิพนธ์2        ด้าน นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการ กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) กล่าวเสริมว่า การเข้าถึงสื่อและสารสนเทศ นับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมืองและสิทธิมนุษยชน ในสังคมประชาธิปไตยที่พลเมืองอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย ทั้งด้านความคิด พฤติกรรม และการศึกษา ดังนั้น การเข้าถึง เข้าใจ เท่าทัน และใช้สื่อ สารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อประการหนึ่ง ที่สนับสนุนให้ประชาชนในฐานะผู้รับสารมีสิทธิเลือกใช้สื่อได้ตามความเหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว อย่างไรก็ดี กทปส. ยังคงมุ่งส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายอัจฉริยะ พร้อมสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนางานวิจัย รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม อันก่อให้เกิดประโชยน์แก่สาธารณชน อย่างต่อเนื่อง

        สอบถามข้อมูลและติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมได้ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โทรศัพท์ 089 144 1819 หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/khontansue หรือติดต่อ กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-554-8113, 02-554-8114 หรือติดตามความเคลื่อนไหวของ กทปส. ได้ที่ www.facebook.com/BTFPNEWS และ https://btfp.nbtc.go.th

 

#กทปส #กองทุนกสทช #BTFP #รู้เท่าทันสื่อ #สิทธิขั้นพื้นฐาน #JCCOTH

 

A10626

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!