WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เฉือนเนื้อเข็นทีวีดิจิตอล ลดค่าต๋ง 4% วัดใจช่อง 3 ออก‘คู่ขนาน’

   แนวหน้า : เฉือนเนื้อเข็นทีวีดิจิตอล ลดค่าต๋ง 4% วัดใจช่อง 3 ออก‘คู่ขนาน’ กสท.นัดถก 23 กย.รับ-ไม่รับ บี้สอบต่อสถานะนิติบุคคล ขู่ฟันถึงขั้นถอนใบอนุญาต

    ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) มีการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อพิจารณาแนวทางสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล

    โดย พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กสท.เปิดเผยหลังการประชุมว่า ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยตนพร้อมด้วย พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ และพ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและกองทุนเพื่อวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ยูเอสโอ) ร้อยละ 4 ให้กับช่องที่มีการออกอากาศคู่ขนาน เป็นระยะเวลา 5 ปี ส่วนผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลรายใหม่ 24 ช่อง ร้อยละ 2 เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี

     นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติขยายระยะเวลาการนำส่งเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ งวดที่ 2 ออกไปอีก 1 ปี เพื่อลดภาระกับผู้ประกอบการที่จะต้องจ่ายในสัดส่วน30% ของเงินตั้งต้นการประมูล และอีก 10% ของส่วนเกินเงินประมูล คิดเป็นเงินจำนวน 8,124.20 ล้านบาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 สำหรับผู้ประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจ

     อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความรอบคอบ กสท. ต้องส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฏหมายช่วยพิจารณาเรื่องนี้ว่าขัดกับหลักกฎหมายหรือไม่ก่อน

     ด้าน นายธวัชชัย กล่าวว่า แนวทางการคิดลดค่าธรรมเนียมเป็นระยะเวลา 5 ปีดังกล่าว เป็นการประมาณการจากการยุติระบบอนาล็อก และการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน บริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ที่จะสิ้นสัญญาในปี 2568 ซึ่งจากเหตุผลการลดหย่อนดังกล่าว น่าจะเป็นแรงจูงใจที่จะทำให้ช่อง 3 มาออกคู่ขนานในระบบทีวีดิจิตอลได้

     ขณะที่ น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า วันที่ 23 กันยายน จะเชิญช่อง 3 มาหารือและสอบถามว่า ตกลงกับข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่ รวมทั้งเพื่อตรวจสอบความเป็นผู้มีอำนาจควบคุมเดียวกันตาม ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ.2556

     ทั้งนี้หาก บริษัทบางกอกเอนเตอร์เมนท์ จำกัด ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานประกอบการโทรทัศน์ช่อง 3 จาก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จำกัด ผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลทั้ง 3 ช่อง เป็นมีผู้มีอำนาจควบคุมเดียวกัน คือ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยตระกูลมาลีนนท์ นั่นหมายความว่า ช่อง 3 สามารถนำคอนเทนท์ (เนื้อหา) อนาล็อกมาออกอากาศในระบบดิจิตอลโดยไม่ผิดกฎหมาย

    “แต่หากช่อง 3 ยืนยันว่าต่างนิติบุคคลกัน ก็จะส่งผลต่อใบอนุญาตผู้ประกอบการรายเดิมของช่อง 3 ซึ่งออกโดยอำนาจตามบทเฉพาะกาล ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งจะต้องส่งให้คณะอนุกรรมการสัญญาสัมปทานไปตรวจสอบต่อไป” น.ส.สุภิญญา กล่าว

    ขณะที่มีรายงานข่าวแจ้งว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นแนวทางที่เสนอโดย พล.ท.พีระพงษ์ นายธวัชชัย และ น.ส.สุภิญญา

กสท.มีมติลดค่าธรรมเนียม 4% นัดช่อง 3 เจรจาความเป็นเจ้าของ

     ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการประชุมบอร์ด กสท.โดยได้พิจารณาวาระที่ 4 18 เรื่องแนวทางการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล โดยมีบอร์ด กสท.ร่วมประชุมได้แก่ 1.พ.อ.นที ศุกลรัตน์ 2.พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ 3.นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ 4.น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ 5.พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า

   โดย พ.อ.นที เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด กสท.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล โดยการลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ จำนวน 2% และค่าธรรมเนียมรายปีเพื่อเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกินการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) จำนวน 2% ให้กับผู้ประกอบการที่ออกอากาศคู่ขนาน และผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลทั้งหมด 24 ช่อง โดยมีระยะเวลาในการลดหย่อนเป็นเวลา 5 ปี

   "กสทช.สามารถทำเพื่อให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลเจริญเติบโต และสามารถเปลี่ยนผ่านระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอลได้อย่างสมบูรณ์ โดยมติดังกล่าว เพื่อความรอบครอบ กสท.จึงต้องส่งให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฏหมาย ช่วยดูเรื่องการลดหย่อนให้เป็นไปตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง" พ.อ.นที กล่าว

   อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้มีมติขยายระยะเวลาการนำส่งเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ งวดที่ 2 ออกไปอีก 1 ปี จำนวน งวดที่ 2 ที่จะต้องจ่ายในสัดส่วน 30% ของเงินตั้งต้นการประมูล และอีก 10% ของส่วนเกินเงินประมูล คิดเป็นเงินจำนวน 8,124.20 ล้านบาท ในเดือน ก.พ.58 สำหรับผู้ประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจ

   รายงานข่าวแจ้งว่า แนวทางดังกล่าว เป็นแนวทางที่ พล.ท.พีระพงษ์ , นายธวัชชัย , น.ส.สุภิญญา ทั้ง 3 ท่าน เป็นผู้เสนอแนวทาง

    ด้าน นายธวัชชัย กล่าวว่า แนวทางการคิดลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวในการลดอัตราค่าธรรมเนียม เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยประมาณการจากยุติระบบอนาล็อก และการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ที่จะสิ้นสัญญาในปี 2568

    "เหตุผลการลดหย่อนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นแรงจูงใจ ที่จะทำให้ช่อง 3 มาออกคู่ขนานในระบบทีวีดิจิตอล"

    ขณะที่ น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า ในวันที่ 23 ก.ย.จะเชิญ ช่อง 3 เข้ามาหารือและสอบถามว่าตกลงกับข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่ ขณะเดียวกันเพื่อตรวจสอบความเป็นผู้มีอำนาจควบคุมเดียวกันตามประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ.2556

    อย่างไรก็ตาม หากบริษัท บางกอกเอนเตอร์เมนท์ จำกัด ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานประกอบการโทรทัศน์จากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และบริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จำกัด ผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลทั้ง 3 ช่อง เป็นมีผู้มีอำนาจควบคุมเดียวกัน โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยตระกูลมาลีนนท์ นั่นหมายความว่า ช่อง 3 สามารถนำคอนเทนท์ (เนื้อหา) อนาล็อกมาออกอากาศในระบบดิจิตอลโดยไม่ผิดกฎหมาย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!