- Details
- Category: กสทช.
- Published: Monday, 17 December 2018 09:54
- Hits: 4630
กสทช.ปั้นทีมเตรียมประมูลคลื่น 700MHz
ไทยโพสต์ * กสทช.ตั้งคณะทำงานสองชุดเตรียมประมูลคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ดีแทคชี้ควรสร้างระบบนิเวศก่อนประมูล
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจ การกระจายเสียง กิจการโทร ทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช.ได้แต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการจัดประ มูลคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะ เฮิรตซ์ (MHz) จำนวน 2 คณะ เพื่อเตรียมการสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้าประกอบด้วย 1.คณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการ อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz และ 2.คณะทำ งานพิจารณาการประเมินมูลค่า คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 30 วัน
สำหรับ คณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มีอำนาจหน้าที่ศึกษาและจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 700 MHz รวมถึงจำนวนใบอนุญาตให้ ใช้คลื่นความถี่ วิธีการอนุญาต คุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต ราคาขั้นต่ำในการประมูล เงื่อนไขการชำระเงินค่าประ มูล กระบวนการอนุญาต สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนไขของผู้รับใบอนุญาต
ส่วนคณะทำงานพิจารณา การประเมินมูลค่าคลื่นความ ถี่ย่าน 700 MHz มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อผล การศึกษาการประเมินมูลค่า คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz เสนอแนะมูลค่าคลื่นความถี่ที่จะใช้เป็นราคาขั้นต่ำในการ อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่ เหมาะสมกับสภาพตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศ ไทย และดำเนินการอื่นตาม ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิ การ กสทช.
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ มีมติอนุมัติใบอนุญาต 900 MHz และ 1800 MHz แก่บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) โดยจะสิ้นสุดในปี 2576
ด้าน นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่ายังไม่ถึงเวลารีบนำคลื่น 700 MHz มาประมูล แต่ประเทศไทยควรมีการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมให้เกิดขึ้นก่อนที่จะก้าวสู่ยุค 5G อย่างในต่างประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี หรือแม้แต่ประเทศจีนนั้น ล้วนต้องมีการสร้างระบบนิเวศทางดิจิทัลเพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับเทค โนโลยี 5G ให้สมบูรณ์เสียก่อน ถึงมีการจัดประมูลคลื่น ดังนั้นประเทศไทยไม่จำเป็นต้องรีบประมูลคลื่น 700 MHz ในปีหน้า.
กสทช.ตั้งคณะทำงาน 2 ชุดจัดทำหลักเกณฑ์ประมูล-ประเมินมูลค่าคลื่น 700 MHz
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช. ได้แต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) จำนวน 2 คณะ เพื่อเตรียมการสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า ประกอบด้วย 1.คณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz และ 2.คณะทำงานพิจารณาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 30 วัน
สำหรับ คณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มีอำนาจหน้าที่ศึกษาและจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 700 MHz รวมถึงจำนวนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ วิธีการอนุญาต คุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต ราคาขั้นต่ำในการประมูล เงื่อนไขการชำระเงินค่าประมูล กระบวนการอนุญาต สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนของผู้รับใบอนุญาต และการออกแบบการประมูลที่เหมาะสม จัดทำแผนความถี่ จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต และดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ กสทช.
ส่วนคณะทำงานพิจารณาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz เสนอแนะมูลค่าคลื่นความถี่ที่จะใช้เป็นราคาขั้นต่ำในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่เหมาะสมกับสภาพตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทย และดำเนินการอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ กสทช.
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ มีมติอนุมัติใบอนุญาต 900 MHz และ 1800 MHz แก่บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) โดยจะสิ้นสุดในปี 2576
ด้านนางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่ายังไม่ถึงเวลารีบนำคลื่น 700 MHz มาประมูล แต่ประเทศไทยควรมีการสร้างระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมให้เกิดขึ้นก่อนที่จะก้าวสู่ยุค 5G อย่างในต่างประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี หรือแม้แต่ประเทศจีนนั้น ล้วนต้องมีการสร้างระบบนิเวศน์ทางดิจิทัลเพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับเทคโนโลยี 5G ให้สมบูรณ์เสียก่อน ถึงมีการจัดประมูลคลื่น ดังนั้นประเทศไทยไม่จำเป็นต้องรีบประมูลคลื่น 700 MHz ในปีหน้า
"เราคงยังไม่ให้คำตอบได้ว่าจะประมูลคลื่น 700 MHz ตามที่กสทช. กำหนดหรือไม่ DTAC จำเป็นต้องมีการวางแผนระยะยาว และต้องการรู้โรดแมพที่ชัดเจนว่าคลื่นใดจะถูกนำมาประมูลเมื่อไหร่ การที่ DTAC มีต้นทุนจากการประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz ทำให้ต้องวางแผนเรื่องการสร้างรายได้จากคลื่นที่ประมูลมา"
ปัจจุบัน DTAC มีคลื่น 2300 MHz ที่สามารถอัพเกรดให้บริการลักษณะ 5G ได้ ซึ่ง DTAC ได้เริ่มบุกเบิกเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับ 5G โดยอุปกรณ์เครือข่ายที่ติดตั้งในปัจจุบันมีความล้ำสมัยและพร้อมรองรับเทคโนโลยี 5G ทันที เพียงอัพเกรดซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์บางส่วนสำหรับใช้งานบนคลื่น 2300 MHz ที่ DTAC เป็นพันธมิตรกับบมจ. ทีโอที โดย DTAC เป็นรายแรกในไทยที่ใช้อุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบ Massive MIMO 64x64 ที่ทันสมัยที่สุดในโลกมาให้บริการเชิงพาณิชย์พร้อมใช้งานบนสมาร์ทโฟนได้จริง ซึ่งเป็นจุดเด่นที่มากับคลื่น 2300 MHz ที่ให้บริการ 4G LTE TDD โดยถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ปัญหาการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ที่จำกัดแต่มีปริมาณคนใช้งานหนาแน่นได้
อินโฟเควสท์