WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBCTฐากร ตณฑสทธ3กสทช.ชี้ 5 Gไม่เกิดมูลค่าศก.หาย 2.3 ล้านล้าน

     ไทยโพสต์ * กสทช.เร่งผลักดัน 5G เกิดในไทย ชี้หากช้า ประเทศจะสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 2.3 ล้านล้านบาท ฟากทีดีอาร์ไอ แนะเปิดช่องให้รายใหม่เกิด

      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขา ธิการคณะกรรมการกิจการกระ จายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจ การโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยในงานสัมมนา "ทำอย่างไรให้ 5 จี เทคโนโลยีพลิกโลก เกิดขึ้นได้" ว่า ถ้าไทยไม่สามารถดำเนินการ 5G ได้สำเร็จ ผลที่เกิดขึ้น คือ จะกระทบภาคการผลิตและอุตสาห กรรม ภาพรวมประเทศจะสูญเสียมูลค่าเศรษฐกิจสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท ในปี 2563 คิดเป็น 20% ของจีดีพีประเทศ หรือ 77% ของงบประมาณประเทศ แต่หากเฉพาะภาคอุตสาหกรรมจะเสียหาย 7 แสนล้านบาท คิดเป็น 10-30% จะกระทบจีดีพีภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งกระทบกับ Smart City หรือเมืองอัฉริยะ เพราะ 5G จะเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตของประชาชนสะดวกขึ้น ทั้งการเรียน ทำงาน ท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

       "ที่ผ่านมาเทคโนโลยี 3G ในไทยเกิดขึ้นล้าหลัง 4 ปี ดังนั้นปัญหาเรื่องดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีก กสทช.พยายามหาแนวทางที่จะทำให้เทคโนโลยี 5G เกิดขึ้นให้ได้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ประเทศไทยล้าหลัง เพราะคาดการณ์ว่าเทคโน โลยีนี้จะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2563 นับจากวันนี้เหลือราว 790 วัน อยากให้ทุกคนสนับสนุน กสทช." นายฐากรกล่าว

       นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รอง เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างการดำเนินการ เพื่อรองรับ 5G อย่างเต็มที่ 1.การ จัดสรร หรือการกำหนดคลื่นความ ถี่ (Spectrum) ที่จะนำคลื่นความถี่ที่จะประมูลในอนาคตภายในปี 2563 อาทิ คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 90 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะ เฮิรตซ์ จำนวน 180 เมกะเฮิรตซ์ เป็นต้น

     ด้าน นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการในกิจการโทรคมนาคมในไทย มีรายใหญ่ 3 ราย และของรัฐวิสาห กิจ 2 ราย แต่ไม่ยอมเข้าร่วมแข่งขัน รวมเป็น 3.2 ราย ซึ่งนโยบายรอง รับ 5G ที่ดีนั้น รัฐบาลควรเปิดเสรี ผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดผู้ประ กอบการรายใหม่ ถ้าเกิดการแข่งขัน เป็นธรรม ราคาสมเหตุสมผล จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย.

เลขาฯ กสทช. เร่งผลักดัน 5G เกิดขึ้นเร็วที่สุด คาดเห็นต.ค.63 ห่วงล่าช้าทำประเทศเสียหาย 2.3 ล้านลบ.

     นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในงานสัมมนา "ทำอย่างไรให้ 5 จี เทคโนโลยีพลิกโลก เกิดขึ้นได้"ว่า ถ้าไทยไม่สามารถดำเนินการ 5G ได้สำเร็จ ผลที่เกิดขึ้น คือ จะกระทบภาคการผลิตและอุตสาหกรรม ภาพรวมประเทศจะสูญเสียมูลค่าเศรษฐกิจสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาทในปี 2573 คิดเป็น 20%ของจีดีพีประเทศ หรือ 77% ของงบประมาณประเทศ แต่หากเฉพาะภาคอุตสาหกรรมจะเสียหาย 7 แสนล้านบาท-1.6 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10-30% จะกระทบจีดีพีภาคอุตสาหกรรม

       อีกทั้ง กระทบกับ Smart City หรือเมืองอัฉริยะ เพราะ 5G จะเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตของประชาชนสะดวกขึ้น ทั้งการเรียน ทำงาน ท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน

       นอกจากนี้ ยังกระทบกระทบเรื่องของ Smart Hospital หรือโรงพยาบาลอัจฉริยะ เพราะไทยกำลังเข้าสู่สังคมอีก 25 ปี ไทยจะมีผู้สูงอายุมากถึง 20 ล้านคน ซึ่ง5G จะเข้ามาช่วยในการรักษาพยาบาลมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวก จะมีการผ่าตัดที่บ้าน ช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลของภาครัฐคิดเป็น 1.1 หมื่นล้านบาทต่อปี

        "ที่ผ่านมาเทคโนโลยี 3G ในไทยเกิดขึ้นล้าหลัง 4 ปี ดังนั้นปัญหาเรื่องดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีก กสทช.พยายามหาแนวทางที่จะทำให้เทคโนโลยี 5G เกิดขึ้นให้ได้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ประเทศไทยล้าหลัง เพราะคาดการณ์ว่าเทคโนโลยีนี้จะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2563 นับจากวันนี้เหลือราว 790 วัน อยากให้ทุกคนสนับสนุน กสทช."

       ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนคลื่นความถี่ 420 เมกะเฮิร์ต (MHz) เมื่อมี 5G จะต้องมีคลื่นความถี่มากขึ้นแน่นอน ประการต่อมา คือ โครงสร้างพื้นฐาน มีความสำคัญมาก เพราะมีผลต่อการส่งข้อมูล และการเชื่อมต่อต่างๆ ถึงกัน ดังนั้นจึงหวังว่าผู้ดำเนินการทั้ง 3 ค่าย คือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น (TRUE) จะเข้าร่วมประมูล เพื่อสร้างถนนที่มีช่องทางจราจรเพิ่มขึ้นและไม่ทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!