- Details
- Category: กสทช.
- Published: Saturday, 06 September 2014 22:39
- Hits: 3726
กสทช.เร่งเคลียร์ปมคลื่น 700 4 ชาติอาเซียนกดดันหวังให้โยกใช้ด้านโทรคมนาคม
ไทยโพสต์ : พหลโยธิน *กสทช.สั่งประชาพิจารณ์คลื่นย่าน 310-510 เมกะเฮิรตซ์ 7-8 ต.ค.นี้ หวังเคลียร์ปัญหาคลื่น 700
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระ จายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงานและคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.จะจัดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะ หรือ ประชาพิจารณ์ เกี่ยวกับร่างการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ หรือ รี-ฟาร์มมิ่ง ในย่าน 310-510 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 7-8 ต.ค.57 นี้ โดยปัจจุบันย่านดังกล่าวยังไม่ได้มีการใช้งานแต่อย่างใด ซึ่งความคิดเห็นของบอร์ด กสทช.ต้องการจะนำคลื่นความถี่ออกมาจัดสรรและใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการร่นคลื่นจากย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่ายังเป็นปัญหาระหว่างด้านกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุกระจายเสียง ว่าคลื่นย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ จะใช้สำหรับกิจการใดกันแน่
ทั้งนี้ ย่านความถี่ 700 เมกะ เฮิรตซ์ ขณะนี้มี 4 ประเทศในอาเซียน คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย ได้ตั้งคณะ กรรมการพิเศษขึ้นเพื่อร่วมกันกดดันให้ กสทช.ของไทยปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม จากเดิมที่แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กำหนดให้คลื่นนี้ใช้ในกิจการโทรทัศน์ และปัจจุบันให้บริการสำหรับดิจิตอลทีวี ซึ่งการประสานงานเรื่องคลื่นความถี่ระหว่างประเทศถือเป็นเรื่องจำเป็น
สำหรับ มาเลเซียและอินโด นีเซียถือเป็น 2 ประเทศหลัก ที่ประเทศอื่นๆ ต้องอิงการใช้คลื่นความถี่ตาม และปัจจุบันมาเลเซียได้เปลี่ยนการใช้งานคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ จากกิจการโทรทัศน์ไปเป็นโทรคมนาคมและพัฒนาเป็นโมบายบรอดแบนด์ และขอ ความร่วมมือจากอีก 3 ประเทศให้ใช้ย่านเดียวกัน ส่งผลให้ประ เทศไทยกำลังเกิดปัญหา
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า กสท.ไม่ปฏิเสธการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ตรงกับประเทศอื่น แต่ยืนยันว่าหากต้องการนำคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม จะต้องจัดสรรคลื่นความถี่ของกิจการโทรทัศน์ให้เริ่มต้นตั้งแต่ 470 เมกะเฮิรตซ์ เหมือนประเทศอื่นๆ ด้วย เพราะคลื่นที่ถูกจัดสรรให้ใช้ในกิจการโทรทัศน์ของไทยขณะนี้อยู่ในย่าน 510-790 เมกะเฮิรตซ์ ตามที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือไอทียู กำหนดให้คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับกิจการโทรคมนาคมด้านโมบายบรอดแบนด์ ส่งผลให้อาจเกิดปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อนกันระหว่างคลื่นโทรคมนาคม และคลื่นกระจายเสียงและโทรทัศน์ เนื่องจากแผนแม่บทของ กสทช.ประกาศให้คลื่นความถี่ย่าน 510-790 ดังกล่าว ใช้ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์
สำหรับ คลื่นความถี่ 470-510 เมกะเฮิรตซ์ พบว่าปัจจุบันยังมีบางหน่วยงานใช้งานอยู่นั้น ทาง กสทช.ได้มีมติให้เรียกคืนคลื่น ความถี่เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ เพื่อใช้ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยให้สำนักงาน กสทช.เตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการกำ หนดกรอบระยะเวลาการเรียกคืน คลื่นไปจนถึงการจัดสรรใหม่แล้ว ทั้งนี้ ผู้ที่ครอบครองคลื่นความถี่ย่าน 470-510 เมกะเฮิรตซ์ ในปัจ จุบัน ได้แก่ บมจ.ทีโอที และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.).
ประชาพิจารณ์ ปรับปรุงใช้คลื่นความถี่
พ์แนวหน้า : แหล่งข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช.เตรียมจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) เกี่ยวกับร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ (รี ฟาร์มมิ่ง) ในย่านความถี่ 310 -510 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ในวันที่ 7-8 ตุลาคม 2557 นี้
โดยปัจจุบันย่านความถี่ดังกล่าว ยังไม่ได้มีการใช้งานแต่อย่างใด ซึ่งความคิดเห็นของคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช. ต้องการจะนำคลื่นความถี่ออกมาจัดสรรและใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการร่นเอาคลื่นจากย่านความถี่ 700 MHz ซึ่งในความถี่ย่านดังกล่าวต้องยอมรับว่า ยังเป็นปัญหาระหว่างกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุกระจายเสียงว่าจะใช้สำหรับกิจการใดแน่
ทั้งนี้ ย่านความถี่ 700 MHz ขณะนี้มี 4 ประเทศในอาเซียน คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และ อินโดนีเซีย ได้ตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้น เพื่อร่วมกันกดดันให้ กสทช.ของไทยปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่ย่านนี้ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม จากเดิมที่แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กำหนดให้ใช้ในกิจการโทรทัศน์ และปัจจุบันให้บริการสำหรับดิจิตอลทีวี ซึ่งการประสานงานเรื่องคลื่นความถี่ระหว่างประเทศ ถือเป็นเรื่องจำเป็น โดยมาเลเซียและอินโดนีเซียถือเป็น2 ประเทศหลักที่ประเทศอื่นๆต้องอิงการใช้คลื่นความถี่ตาม