WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBCTน.พ.ประวทย ลสถาพรวงศา copyกสทช.อาจไม่พิจารณาร่าง TOR ประมูลคลื่น 1800 MHz วันนี้ รอผลคัดเลือกบอร์ดชุดใหม่ 19 เม.ย.

    นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กระจายโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการ กสทช.ซึ่งมีวาระการพิจารณาการจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ (MHz) โดยทางสำนักงาน กสทช.จะเสนอแนะว่าคณะกรรมการกสทช.ยังไม่ควรพิจารณาหลักเกณฑ์คลื่นความถี่ 1800 MHz แต่ควรรอผลการคัดเลือกคณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่ที่สภานิติบัญญติแห่งชาติ(สนช.) จะลงมติในวันที่ 19 เม.ย.นี้

    ทั้งนี้ หากคัดเลือกคณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่ได้ครบก็จะเสนอให้เข้ามาจัดการประมูลคลื่น แต่หาก สนช.ไม่สามารถคัดเลือกคณะกรรมการ กสทช.ได้ครบ หรือยังไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ ทางสำนักงาน กสทช.ก็จะเสนอให้คณะกรรมการชุดปัจจุบันพิจารณาการจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ในการประชุมวันที่ 25 เม.ย.นี้

    นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า คณะกรรมการ กสทช.ฝ่ายกิจการโทรคมนาคมส่วนใหญ่ก็ต้องการให้เดินหน้าการจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ในวันนี้ แต่เนื่องด้วยที่ผ่านมาได้มีการเปิดประชาพิจารณ์ต่อสาธารณะ ทำให้ยังมีประเด็นสำคัญที่ต้องมาพิจารณาเพิ่มเติมค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นราคาประมูลคลื่นที่สูง และการประมูลที่จะแบ่งประมูล 15 MHz ต่อ 1 ใบอนุญาต เป็นต้น จึงควรรอคณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่ที่มีอำนาจเต็มเข้ามาพิจารณาแทน

     สำหรับ การมีมาตรการผ้อนผันให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ คือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ในการชำระค่างวดใบอนุญาตนั้น นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ก็เพื่อให้เอกชนททั้งสองรายมีเครดิตไลน์เพียงพอต่อการเข้าประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ ขณะที่เชื่อว่าทั้ง 2 ค่ายไม่มีความจำเป็นต้องประมูลคลื่นไปทั้ง 15 MHz เพราะมีอยู่แล้ว 15 MHz แต่ถ้าหากจะเข้าประมูลก็อาจจะประมูลเพียง 5 MHz เพราะเมื่อรวมกับคลื่นที่มีอยู่ในมืออยู่แล้วก็จะเพิ่มปริมาณเป็น 20 MHz ซึ่งสามารถบริหารจัดการคลื่นให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

   ขณะเดียวกัน เชื่อว่าทุกค่ายคงต้องการรอประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz มากกว่า เนื่องจากทั่วโลกกำหนดให้เป็นคลื่นที่ใช้ทำ 5G โดยปัจจุบันคลื่นดังกล่าวใช้กับทีวีอนาล็อก ซึ่งทางช่อง 7 ก็ประกาศจะเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัล ในปี 63 ส่วนที่ยังมีปัญหาคือ บมจ.อสมท.(MCOT) ที่ทำสัญญากับช่อง 3 มีระยะยาว หากเจรจาได้ก็จะคืนได้ทันในปี 63 ฉะนั้น จึงมีแนวโน้มว่าจะนำคลื่น 700 MHz มาประมูลหลังปี 63 และเป็นคลื่นที่มีราคาประมูลขั้นต่ำไม่สูง จึงมีโอกาสที่จะได้คลื่นมาในราคาไม่แพง

     ดังนั้น การที่ ADVANC และ TRUE ขอผ่อนผันการชำระเงินค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ในงวดที่ 4 ที่จะจ่ายในปี 63 เพื่อเข้าประมูลคลื่นในอนาคต แต่ไม่ได้ระบุว่าจะเข้าร่วมประมูลคลื่นในปีนี้หรือไม่

    "คลื่น 1800 MHz มีความจำเป็นสำหรับคนที่ยังไม่มี ก็คือ ดีแทค ซึ่งตอนนี้ไม่ได้แปลว่า คสช.ช่วย 2 ค่ายแล้วเขาจะเข้ามาประมูล 1800 MHz แต่ถ้าไม่ช่วยเขาก็ยังมีปัญหาเหมือนเดิม คือจะกระทบกับแผนการลงทุน และการประมูลคลื่น 700 MHz ในอนาคต ซึ่งคาดว่า กสทช. จะนำคลื่นดังกล่าวออกมาประมูลในปี 63-64 ตรงกับที่เขาต้องชำระเงินงวดสุดท้ายที่ค่อนข้างสูงนั้นก็คือปี 63 เช่นกัน"

    นอกจากนี้ หากไม่มีการแข่งขันการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz หรือมีเพียงบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เจ้าเดียว กสทช.ก็จะมีการใช้เกณฑ์การประกวดราคาของภาครัฐทั่วไป เช่นเดียวกับ รถเมล์ NGV ซึ่งต้องมีการขยายระยะเวลาการประมูลออกไป และถ้าไม่มีคู่แข่งก็จะยอมรับว่ามีผู้ประกวดราคาเพียง 1 ราย และจัดให้มีการเคาะราคา

     อย่างไรก็ตาม ราคาประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz จะอ้างอิงกับการประมูลในครั้งที่ผ่านมา ซึ่งผู้เข้าประมูลคลื่นดังกล่าวจะต้องเคาะราคาไม่ให้ต่ำกว่าราคาเดิม หรือยื่นราคาไม่ให้ต่ำกว่าราคาเดิม จากเดิมคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 15 MHz มีมูลค่าอยู่ราว 4 หมื่นล้านบาท และคลื่นความถี่ 900 MHz จำนวน 10 MHz มีราคาอยู่ราว 7 หมื่นล้านบาท

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!