- Details
- Category: คอรัปชั่น
- Published: Tuesday, 31 March 2015 00:12
- Hits: 7148
440 ธุรกิจร่วมต้านคอร์รัปชันระดมสมองหามาตรการขจัดฉะ'โกง'ฉุดศก.ไทยสู่ 3 เสื่อม
ไทยโพสต์ : บัณฑิต นิจถาวรไทยโพสต์ * แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต รวมพลังสมาชิก 440 บริษัท ระดมสมอง หามาตรการสกัดโกง หวังเป็นพลังสำคัญล้างคอร์รัปชันเชิงระบบให้ลดลง ระบุโกงพุ่ง ฉุดเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ 3 เสื่อม
นายบัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการ ทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) เปิดเผยในการสัมมนาระดมความคิดเห็นจากองค์กรเอกชนกว่า 440 บริษัทที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตกับ CAC ว่า บริษัทสมาชิกฯ มีเป้าหมายที่จะขยายแนวปฏิบัติในการต่อต้านทุจริตไปสู่บริษัทธุรกิจที่อยู่ในสายโซ่การผลิตของบริษัทตน ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ซึ่งจะช่วยขยายเครือข่ายธุรกิจสะอาดให้ครอบคลุมอย่างครบวงจรในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น และจะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ช่วยขจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเชิงระบบที่อยู่
นายบัณฑิต กล่าวว่า ผู้บริ หารบริษัทสมาชิก CAC ที่เข้า ร่วมการสัมมนา ได้เสนอแนว ทางมากมายที่จะแก้ไขปัญหาการ ทุจริต โดยแนวทางหนึ่งที่มีการเสนอขึ้นมา คือ การส่งเสริมให้ บริษัทคู่ค้ามีนโยบายและแนวปฏิบัติ ป้องกันการทุจริตที่ชัดเจน โดยอาจใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาทำธุรกิจกับบริษัทคู่ค้า ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจะช่วยขยายเครือข่ายธุรกิจสะอาดที่มีแนวนโยบายชัดเจนในการไม่รับ-ไม่จ่ายสินบนให้ขยายไปสู่กิจการและอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น
นายพนัส สิมะเสถียร ประ ธาน CAC กล่าวในปาฐกถาพิเศษ "ภาคเอกชนคือความหวัง และทางออกจากปัญหาคอร์รัป ชัน" ว่า การแก้ไขปัญหาคอร์รัป ชันคงไม่สามารถทำได้โดยลำพังเพียงบริษัทเดียวหรือสองสามบริษัท แต่ต้องรวมเป็นพลังของ บริษัทที่ได้รับผลเสียจากคอร์รัป ชันเข้าร่วมแก้ไขปัญหา ช่วยทลาย ตั้งแต่กำแพงความคิดที่ว่าคอร์ รัปชันเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ ไปจนถึงการแสดงออกให้ชัดเจนว่าคนไทยทุกคน บริษัทไทยทุกแห่งประกาศต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบเป็นนโยบายที่ชัดเจน
นายพนัส กล่าวว่า วงจรคอร์รัปชันเชิงระบบ ได้ก่อให้เกิดลักษณะที่พาเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ทางแห่งความเสื่อม 3 ประการ หนึ่งคือการสร้างสนามแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม ด้วยการเปิดโอกาสให้มีการผูกขาดหรือมีการทำธุรกิจระหว่างหน่วยงานรัฐกับเอกชนในรูปแบบที่มีการสมยอม หรือ "ฮั้ว" เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์กัน
ประการที่สอง คือ การทำลายบรรยากาศการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพราะผู้ประกอบการ บางรายยินดีที่จะจ่ายเงินผ่านกลไกคอร์รัปชันในระบบราชการ เพื่อความรวดเร็วและความปลอด ภัยในการลงทุนหรือในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ แทนที่จะนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนเพื่อการวิจัย และพัฒนา และประการที่สาม คอร์รัปชันเชิงระบบยังเป็นสา เหตุหลักที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย และทำให้การประกอบธุรกิจในประเทศอยู่บนวิถีที่ไม่ยั่งยืน