WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaCแก้ปัญหาความยากจน

มท.1 ลงพื้นที่มอบนโยบายขับเคลื่อนแก้ปัญหาความยากจนผ่าน ศจพ. 14 จังหวัดภาคใต้ กำชับ ผู้ว่าฯ นายอำเภอ ต้องเป็นแม่ทัพบูรณาการระดมทุกภาคส่วนแก้ปัญหาให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดความยั่งยืน พร้อมย้ำ’กลไกในพื้นที่สำคัญที่สุด’

    ที่โรงแรมบุรีศรีภู คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดและมอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่

      โดยมี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน นายยงยุทธ โกเมศ นายวุฒิเดช ศรีสุทธิสุริยา คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้

QIC 720x100

       พร้อมด้วยประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด พัฒนาการจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด และนายอำเภอ ร่วมรับฟัง และถ่ายทอดสดการประชุมผ่านระบบ DOPA Channel ไปยังทุกจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ โดยมี ปลัดอำเภอ พัฒนาการอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมรับฟัง

       พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับพี่น้องประชาชน เพราะยังมีผู้ที่ทุกข์ยากลำบากอยู่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเดือดร้อนด้านต่างๆ ซึ่งมีเจตนาเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นที่มาของการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) มีเป้าหมายสำคัญ คือ ‘การแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน’ หรือ ‘การตัดเสื้อให้พอดีตัว’

       โดยมีกลไกการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ ระดับจังหวัด ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) ระดับอำเภอ ผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการฯ อำเภอ (ศจพ.อ.) และระดับปฏิบัติการ ผ่านทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่

sme 720x100

       โดยมีการตั้ง’ทีมพี่เลี้ยง’ เข้าไปรับทราบปัญหา ช่วยหาทางแก้ไข โดยจัดทำแผนครัวเรือนร่วมกับทุกครัวเรือนยากจนในทุกหมู่บ้าน/ชุมชน และสนับสนุนให้ครัวเรือนมีการวางแผน/แก้ปัญหาตรงตามสภาพปัญหาที่แต่ละครอบครัวกำลังเผชิญ เมื่อทราบปัญหาของแต่ละครอบครัวแล้ว ทีมพี่เลี้ยงจะได้นำข้อมูลมารายงาน ศจพ. อำเภอ เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ ทั้ง 5 มิติ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 5 เมนูแก้จน

       ได้แก่ 1) สุขภาพ 2) ความเป็นอยู่ 3) การศึกษา 4) ด้านรายได้ และ 5) การเข้าถึงบริการภาครัฐ ด้วยการลงไปพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนยากจนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องในลักษณะ Intensive care

      “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ซึ่งเมื่อย้อนไป จะเห็นว่าปัจจุบันเรามีความเจริญทุกอย่าง ทั้งการติดต่อสื่อสาร การเดินทางสัญจร แต่ถ้าพี่น้องประชาชนขาดรายได้ ก็ไม่สามารถใช้บริการสิ่งเหล่านี้ได้ และจะเกิดความยากลำบาก จึงขอให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปขยายผล ไปช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

      ทั้งนี้ ความสำเร็จหรือล้มเหลวทั้งหมดอยู่ที่กลไกในพื้นที่ทั้งหมด ดังนั้น กลไกพื้นที่จึงมีความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะแม่ทัพของพื้นที่ ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธาน ศจพ.จังหวัด และนายอำเภอ ในฐานะประธาน ศจพ.อำเภอ ทีมตำบล และทีมพี่เลี้ยงในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ทีมพี่เลี้ยง’ ที่ต้องดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข ตามหลัก 4 ท คือ ทัศนคติ ทักษะ ทรัพยากร และทางออก

TU720x100

 

       โดย ‘ครัวเรือนมีส่วนร่วม’ ในการวิเคราะห์ การคิด ตามสภาวะแวดล้อมที่สามารถทำได้ และต้องไม่บังคับให้เขาทำ ซึ่งพัฒนากรต้องสร้างความเข้าใจให้ทีมพี่เลี้ยงไปสำรวจให้รู้ปัญหา รู้แนวทางการทำงาน และวิเคราะห์ปัญหาทั้งหมดให้ออกมา เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับครัวเรือน พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ ดูแลอย่างใกล้ชิด และบันทึกในระบบ Logbook ทุกครั้งที่ได้ให้ความช่วยเหลือ มุ่งแก้ปัญหาแบบ ‘พุ่งเป้า’ คือ ใช้เป้าที่ได้สำรวจแล้วเป็นเป้าหมายขับเคลื่อนแก้ปัญหาไปพร้อมกันให้แล้วเสร็จในระดับอำเภอ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย. 65 โดยนายอำเภอต้องเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการบูรณาการ

        ทั้งนี้ หากปัญหาที่พบนอกเหนือจากเมนู ให้ประสานหน่วยงานในพื้นที่ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หากไม่สามารถแก้ไขในระดับอำเภอได้ให้รายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บูรณาการ ไม่รอตั้งงบประมาณ แต่ต้องหาช่องทางบูรณาการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้ และหากเป็นสภาพปัญหาที่ต้องแก้ไขในระดับนโยบาย ให้รายงานมายังกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี พิจารณาสั่งการต่อไป และในด้านกลไกการติดตามประเมินผล ได้มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงและผู้ตรวจราชการกรม ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามที่กำหนด”พลเอก อนุพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ

       พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า การสร้างการรับรู้เป็นเรื่องที่สำคัญ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ รวมพลังทุกภาคส่วน ใช้ช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบ ทุกขั้นตอนทั้ง Online Onsite Onground สร้างความรับรู้เข้าใจให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ใช้คำ ใช้ภาษา ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อ และสื่อสารในหลายๆ ช่อง หลายๆ เวลา ทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ ต่างๆ บูรณาการกันใช้พลังในการสื่อสาร เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ถ้าทุกคน ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกันจะมีพลัง เพื่อปลายทาง คือ ‘พี่น้องประชาชนมีความสุข’

BANPU 720x100

        สุดท้าย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้เน้นย้ำนโยบายการขับเคลื่อนการทำงานในระดับพื้นที่ ได้แก่ 1) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการทุกภาคส่วนรณรงค์ลดอุบัติเหตุบริเวณทางข้าม ด้วยการรณรงค์สร้างจิตสำนึก ทำให้คนขับรถมีวัฒนธรรม มีความเอื้ออาทรในการใช้รถใช้ถนน รู้กฎหมาย มีความเอื้ออาทรในการใช้รถใช้ถนน ไม่ใช่เพียงแต่ขับรถไปข้างหน้าได้ แต่ต้องขับรถให้เป็น เมื่อถึงทางคับขัน/ทางข้าม ต้องชะลอรถ ‘อย่าให้ความสูญเสียจากอุบัติเหตุเกิดกับครอบครัวใครอีกเลย’ 2) ลด Demand Side และ Supply Side ของยาเสพติดอย่างจริงจัง

     3) บริหารจัดการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้เป็นไปตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข โดยจัดเตรียมศูนย์พักคอย (CI) เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ อย่างเหมาะสม 4) การจัดระเบียบสายสื่อสารบริเวณเสาไฟฟ้า โดยประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ ดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสาร เริ่มจากบริเวณจุดที่มีสภาพปัญหามากที่สุดตามลำดับ 5) การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ในทุกระดับ ทุกกลไกในพื้นที่ ให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส และกำชับผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้

GC 720x100

       นายนิพนธ์ บุญญามณี กล่าวว่า การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องทำให้พี่น้องประชาชนได้เรียนรู้และยืนบนลำแข้งของตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยจังหวัดสามารถพิจารณาบริหารจัดการงบประมาณ ทั้งงบจังหวัด กลุ่มจังหวัด และงบประมาณของส่วนราชการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา

      รวมทั้งขอความร่วมมือ อปท. ร่วมหาวิธีการในการช่วยเหลือแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน โดยกำหนดเป็นวาระสำคัญในการประชุม อปท. ประจำเดือน ปรับเปลี่ยนแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชนควบคู่กับการขับเคลื่อนงานท้องที่ ลงไปคลุกคลีกับประชาชนในชุมชน ถ้าเราแก้ปัญหาความยากจนได้สำเร็จ จะนำมาซึ่งการต่อยอดการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ต่อไป  

        นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า เป็นระยะเวลากว่า 130 ปีกระทรวงมหาดไทย ที่ภารกิจในการ ‘บำบัดทุกข์ บำรุงสุข’ ของชาวมหาดไทยไม่เคยเปลี่ยน ซึ่งการขับเคลื่อน ศจพ. เป็นทั้งงานตามหน้าที่ในฐานะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นายกเหล่ากาชาดจังหวัด และงานส่วนตัวในฐานะคนที่อยากทำสิ่งที่ดีที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ภายใน 30 ก.ย. 65 ‘คนจนจะหมดไป’ เราจะทำให้พี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี

       โดยมี ‘แม่ทัพ’ ในพื้นที่ บูรณาการทุกภาคส่วน ร่วมแก้ปัญหาความยากจนและความเดือดร้อนของผู้คนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งที่เป็นงบราชการและไม่ใช่งบราชการ เพื่อจะได้ร่วมกันเฉลิมฉลอง 130 ปีกระทรวงมหาดไทย ด้วยการทำหน้าที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้สำเร็จ ‘เราต้องทำจริง’ Re X-ray ข้อมูลจาก TPMAP ด้วยระบบ ThaiQM และค้นหาปัญหาความเดือดร้อนทุกเรื่องที่ประชาชนได้ประสบและไม่สามารถแก้ไขได้ มาวิเคราะห์ ค้นหาปัญหา อะไรที่แก้ไขได้ในระดับอำเภอให้ดำเนินการ

      ถ้าแก้ไม่ได้ให้นำเสนอจังหวัด หรือระดับนโยบายหาทางช่วยเหลือแก้ไขต่อไป ประการต่อมา ให้ทุกอำเภอปฏิบัติตามตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้จ่ายเงินของ อปท.ในการช่วยเหลือประชาชนของ อปท. ซึ่งกำหนดให้ทุก อปท. ต้องตั้ง 'ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน' และทุกที่ว่าการอำเภอต้องตั้ง ‘ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือประชาชนของ อปท.’ เพื่อเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาที่มีความยั่งยืน และประการถัดมา ต้องวางระบบการทำงานตามหลักการ R E R คือ R คือ งานประจำ (Routine) E คือ งานเพิ่มเติมนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ (Extra Job) และ R คือ การรายงาน (Report) ทั้งการรายงานผลงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ รายงานสื่อสารให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่และในประเทศได้รับรู้ รายงานผลการดำเนินงานของส่วนราชการในพื้นที่ให้ต้นสังกัดทราบ

      “ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ต้องไปหาปัญหาให้เจอ วินิจฉัยโรค และแก้ไข โดยหากจะทำให้ยั่งยืน ต้องน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มุ่งเน้นทำให้เขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเรามีภารกิจไม่ใช่แค่ทำให้คนอยู่รอด แต่ต้องทุ่มเทพละกำลังทำให้เขาสามารถพัฒนาตัวเอง เพื่อขึ้นมาดูแลตัวเองได้ นั่นคือการ ‘พัฒนาคน’ อันเป็นหน้าที่ของเรา”นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ

      นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ติดตาม ดูแล และให้กำลังใจผู้ได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงและทุนส่วนพระองค์ และช่วยเหลือให้เขาสามารถเล่าเรียนและใช้ชีวิตกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข และร่วมกันเผยแพร่วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทั้ง 10 รัชกาล ไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อเด็กได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านพระราชกรณียกิจทั้ง 10 รัชกาล

      รวมถึงเผยแพร่ขยายผลโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ให้เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนตามพระราชประสงค์ รวมถึงในปีนี้เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 70 พรรษา และสมเด็จพระบรมราชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา จึงขอให้บำรุง รักษา พัฒนาแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นสถานที่ที่เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ตลอดเวลาด้วย และพิจารณานำทุนการศึกษาพระราชทานของมูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ มาใช้ตามวัตถุประสงค์ และเพิ่มพูนให้มากขึ้น

กองสารนิเทศ สป.มท.

 

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

 

ais 720x100

วิริยะ 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!